เปิดวิสัยทัศน์ 4 บริษัทระดับโลกใช้เป็นแนวทางสร้างความยั่งยืน ที่ SME ควรยึดถือและนำไปปรับใช้กับองค์กร

SME Update
28/11/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 1507 คน
เปิดวิสัยทัศน์ 4 บริษัทระดับโลกใช้เป็นแนวทางสร้างความยั่งยืน ที่ SME ควรยึดถือและนำไปปรับใช้กับองค์กร
banner
การขับเคลื่อนธุรกิจทุกประเภท ผู้ประกอบการที่อยู่ในฐานะผู้นำ จำเป็นจะต้องมีแนวคิดและหลักการบริหารงานให้ชัดเจน พร้อมทั้งต้องผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับองค์กรระดับโลกอย่าง Google, Netflix, Facebook และ Alibaba ที่มีวิสัยทัศน์และแนวทางในการบริหารงาน ดังนี้ 



1.Google

Google ถือเป็นอีกหนึ่งองค์กร ที่หลายคนอยากเข้าไปทำงานด้วย เพราะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างความมั่นคงในอาชีพให้กับคนที่ทำงานด้วยได้ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับสวัสดิการและการดูแลพนักงานเป็นอย่างดี ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการที่องค์กรหนึ่งจะเติบโตมาได้อย่างยั่งยืน นอกเหนือจากแผนหรือกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจแล้ว พนักงานยังมีส่วนอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวต่อไปได้

ด้วยแนวคิดที่ว่า “Google บริษัทที่มีความแตกต่าง แต่พนักงานมีความสุขที่สุดในโลก” ซึ่งมาจากการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจ รวมถึงโครงสร้างการทำงานขององค์กรที่มุ่งเน้นในการให้ความสำคัญกับพนักงานผ่านวัฒนธรรมขององค์กร จึงสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นมาได้

โดยส่งเสริมการจัดการความรู้ผ่านวัฒนธรรมองค์กรตามคำนิยามว่า “บุคลากร คือ ผู้ที่ทำให้ Google เป็นบริษัทในแบบที่เป็นอยู่” แสดงให้เห็นว่าองค์กรจะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับพนักงานด้วย

ซึ่งในการพิจารณารับคนเข้าทำงานจะดูจากความฉลาดและความมุ่งมั่นพร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อความสามารถมากกว่าประสบการณ์ ซึ่งคนที่มาสมัครเองต้องมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ตรงกับองค์กรด้วย



ขณะเดียวกัน พนักงานของ Google ยังมาจากกลุ่มคนทุกระดับ มีภาษาที่ใช้แตกต่างกัน ทั้งยังมีความหลากหลายทางเพศ และระยะห่างของช่วงอายุที่ต้องอยู่ร่วมกัน รวมทั้งยังสนับสนุนให้พนักงานสร้างงานอดิเรกตามความสนใจที่แตกต่างกัน เช่น การเล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีม, การเลี้ยงสัตว์, งานฝีมือ, การแสดง, งานศิลปะ และอื่น ๆ

เพราะเล็งเห็นว่าวัฒนธรรมที่เปิดกว้างเป็นที่มาของการเชื่อมโยงความรู้ที่หลากหลาย นำมาสู่การสร้างนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยมให้กับองค์กรและสังคมอย่างต่อเนื่อง
ส่วนวัฒนธรรมในการทำงาน จะส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม

โดยเน้นการแลกเปลี่ยนไอเดียอย่างไม่เป็นทางการ ให้พนักงานเกิดความผ่อนคลายในการแสดงความคิดเห็น เช่น การประชุมรวมประจำสัปดาห์, ประชุมผ่านอีเมล และการพบปะพูดคุยกันในคาเฟ่ รวมทั้งเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเข้าพบผู้บริหารเพื่อแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้กันได้อย่างใกล้ชิด 



2. Netflix

สำหรับเส้นทางการเติบโตของ Netflix ย้อนไปตั้งแต่เริ่มแรกที่ยังเป็นร้านเช่าหนัง DVD ในปี 1997 กว่า จะมาถึงจุดนี้ได้ Reed Hastings ในฐานะผู้ก่อตั้งและ CEO เขาได้พบกับความท้าทายของเทคโนโลยีมาแล้วหลายรอบ

โดยยุคแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสื่อบันทึกไฟล์วิดีโอ Reed Hastings ได้ตัดสินใจเปิดร้านแบบ DVD แทนม้วน VIDEO และเปลี่ยนโมเดลจากการเช่า DVD รายวันมาเป็นรายเดือน โดยให้ลูกค้าสั่งจองทางอินเทอร์เน็ตและจัดส่งทางไปรษณีย์แทนการเดินทางมาที่ร้าน

ซึ่งการดำเนินงานในยุคนี้เหมือนเป็นการให้บริการโลจิสติกส์ที่มีหน้าที่เพียงนำส่งคอนเทนต์ให้ความบันเทิงกับลูกค้า ดังนั้นการบริหารจัดการจึงมีความง่ายและไม่ซับซ้อน เพราะมีเพียงพนักงานรับออเดอร์แล้วจัดส่ง DVD ให้ลูกค้า และเก็บค่าบริการเท่านั้น

ยุคต่อมาเมื่อธุรกิจเริ่มถูก Disrupt จากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจึงทำให้เกิดการปรับตัวทางธุรกิจ (Business Transformation) จากธุรกิจให้เช่า DVD ไปสู่ Streaming จึงมีการปรับโครงสร้างทางองค์กรใหม่โดยเหลือไว้เพียงพนักงานที่มีทักษะด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเป็นหลัก ต่อมาเป็นเมื่อเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเร็วขึ้น พร้อมกับยอด Subscription ที่เพิ่มมากขึ้น

แต่ Netflix กลับพบว่า กำไรโดยรวมทั้งหมดไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ของหนังทุกเรื่อง ทำให้ต้องปรับโครงสร้างพนักงานอีกครั้งหนึ่ง



จากสภาวะข้างต้นที่มีการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ Netflix ได้ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่สร้างการปฏิวัติอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างโดดเด่น ด้วยการผสมผสานระหว่างความเป็น Hollywood และ Silicon Valley ทำให้สามารถผลิตคอนเทนต์ที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค และกลายเป็นผู้นำในธุรกิจ Streaming ที่มีสมาชิกสูงสุดในโลกเกินกว่า 200 ล้านรายชื่อ รวมถึงมีมูลค่าทางธุรกิจหลายแสนล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ด้วย Reed Hastings มีประสบการณ์จากการทำงานในองค์กรธรรมดา ที่ต้องปรับตัวสู่องค์กรที่ทันสมัยในยุคอินเทอร์เน็ต สิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง คือ การสร้างทีมงานที่มีความแข็งแกร่งและมีทักษะการทำงานขั้นสูง ตลอดจนหาวิธีดึงดูดให้คนเก่งอยากมาร่วมงานด้วย เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างไม่หยุดยั้ง



3. Facebook

หลายคนคงทราบกันดีว่า Facebook ได้เริ่มต้นจากนักศึกษาอายุ 19 ปี ที่เรียนเขียนโปรแกรม และสุดท้ายได้กลายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่เชื่อมผู้คนทั่วโลกผ่านออนไลน์ให้สามารถเข้าถึงกันได้แค่ปลายนิ้ว ซึ่งกล่าวได้ว่า Mark Zuckerberg นั้นได้ให้ความสำคัญด้านการบริการเป็นกลยุทธ์การทำงานขององค์กร และมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างไม่หยุดยั้ง

ซึ่งย้อนไปในในช่วงที่ Facebook กำลังเริ่มเติบโต Mark Zuckerberg ได้วางแผนการดำเนินงานอย่างรอบด้านและค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การบริการสามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการใหม่ ๆ ของผู้ใช้งานได้จริง ดังนั้น ในช่วงแรก Facebook จึงจำกัดให้ใช้งานได้เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard เท่านั้น

จนกระทั่งต่อมาก็สามารถพัฒนาให้ระบบมีความเสถียรและมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับกับผู้ใช้งานจำนวนที่มากขึ้นได้ นอกจากนี้ Facebook ยังมีความมุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการให้บริการกับผู้ใช้งานอย่างไม่หยุดยั้ง ผ่านฟังก์ชันใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็น VDO Call, Timeline, Facebook Live และอื่น ๆ เป็นต้น



อย่างไรก็ตาม แม้ว่าองค์กรจะต้องระมัดระวังในการรักษามาตรฐานของสินค้าให้อยู่ในระดับสูง แต่นั่นเป็นเพียงหนึ่งในหลายจิ๊กซอว์ เพราะองค์กรยังต้องสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ต้องคอยหาวิธีการที่จะพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ซึ่งสะท้อนออกมาในปรัชญาของ Facebook ที่ว่า “Move fast, and break things” หรือ “เดินหน้าเร็ว และทำสิ่งใหม่” ปรัชญานี้ทำให้ Facebook พัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ภายในมากมายก่อนที่จะนำออกมาใช้กับผู้ใช้งานจริง ไม่ว่าจะเป็น Timeline, Chat และฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมาย

ปัจจัยที่ทำให้ Mark Zuckerberg ไม่ใช่โชคช่วย แต่ด้วยความฝันและความทะเยอทะยาน จึงทำให้การเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อผู้คนในมหาวิทยาลัย ไปสู่การประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่และทำให้การสื่อสารของโลกใบนี้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง



4. Alibaba

Jack Ma ผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้ Alibaba ประสบความสำเร็จ แม้ตอนนี้เขาจะวางมือไปแล้ว และให้ CEO คนใหม่เข้ามาบริหารแทนแต่ก็ไม่ได้ทำให้ความยิ่งใหญ่ของ Alibaba ลดลงน้อยลงแต่อย่างใด

สำหรับ Alibaba นับตั้งแต่มีการเปิดตัวเว็บไซต์ครั้งแรก ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME ของจีนที่ต้องการทำตลาดส่งออก สามารถสร้างรายได้และเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระทั่งในเวลาต่อมา Alibaba ขึ้นแท่นกลายเป็นผู้นำระดับโลกในด้านการซื้อขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมาอย่างต่อเนื่อง

โดย Jack Ma มีแนวคิดว่าอยากให้องค์กรเติบโตก้าวหน้า ต้องส่งเสริมบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้ถือหุ้น หรือคู่ค้า มีวิสัยทัศน์ในการทำงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นคงและแข็งแกร่งให้กับองค์กรได้ดียิ่งขึ้นจนนำไปสู่การประสบความสำเร็จในที่สุด

นอกจากนี้ ยังเล็งเห็นว่าการจะเพิ่มคุณค่าให้องค์กรต้องให้ความสำคัญกับพนักงานและทำให้พนักงานมีความสุข เพราะเมื่อพนักงานมีความสุขก็จะกระตือรือร้นในการทำงานทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดียิ่งขึ้นตามไปด้วย



จากแนวคิดการบริหารธุรกิจทั้งหมดที่กล่าวมา สามารถชี้ให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในแต่ละกลุ่มธุรกิจได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญยังทำให้เห็นว่าการจะนำพาพนักงานและองค์กรไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ได้นั้นต้องวางรากฐานทางความคิดไว้เป็นอย่างดี

หากผู้ประกอบการ หรือ SME นำไปประยุกต์ใช้อาจทำให้ธุรกิจบริหารงานราบรื่นยิ่งขึ้น ที่สำคัญมีการต้องศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในโลก พร้อมหาโอกาสนำมาวิเคราะห์วางแผนอย่างรอบด้าน เพื่อปูทางให้ธุรกิจประสบความสำเร็จและเติบโตได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

อ้างอิงจาก :

Jobthai
http://bit.ly/3EGSfse

Moneybuffalo
https://www.moneybuffalo.in.th/history/mark-zuckerberg-facebook

Blue O'Clock
https://www.blueoclock.com/reed-hastings-and-netflix-story/
https://www.blueoclock.com/5-tips-from-jack-ma-on-how-to-start-a-successful-business/

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชมความล้ำ!! ‘นวัตกรรม Low Carbon’ เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้อย่างไร?

ชมความล้ำ!! ‘นวัตกรรม Low Carbon’ เปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ได้อย่างไร?

ก้าวไปอีกขั้นกับความล้ำนวัตกรรม Low Carbon ในงาน ESG Symposium 2023 เร่ง เปลี่ยนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พบกับแนวคิด แรงบันดาลใจจากคนทำจริงระดับโลก…
pin
776 | 29/11/2023
4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME

4 ขั้นตอนเตรียมความพร้อมสู่การเป็น ‘ธุรกิจคาร์บอนต่ำ’ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ SME

ภาคธุรกิจต่างพยายามหาทางลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งกระแสดังกล่าวได้ขยายวงกว้างไปในหลายภาคส่วนหนึ่งในนั้น คือกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าหลักอย่าง…
pin
697 | 17/11/2023
7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย

7 เช็คลิสต์ ‘สินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า’ (Deforestation-free products) เมื่อ EU ออกกฎแบนการนำเข้า ส่งออกไทย

การดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมีความเข้มงวดขึ้นทั่วโลก สหภาพยุโรป (EU) เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง…
pin
564 | 15/11/2023
เปิดวิสัยทัศน์ 4 บริษัทระดับโลกใช้เป็นแนวทางสร้างความยั่งยืน ที่ SME ควรยึดถือและนำไปปรับใช้กับองค์กร