ทีมวิศวะ ม.กรุงเทพ รุกหนัก พัฒนาสื่อการเรียนการสอนดิจิทัล

Innovation Room
28/04/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 1328 คน
ทีมวิศวะ ม.กรุงเทพ รุกหนัก พัฒนาสื่อการเรียนการสอนดิจิทัล
banner
รศ.ดร.ภูมิพัฒ แสงอุดมเลิศ และ ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เร่งพัฒนานวัตกรรมชุดทดลองการสื่อสารแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการศึกษาให้ก้าวไกล โดย ดร.ปกรณ์ จะเล่าถึงไอเดียนวัตกรรมชิ้นนี้ว่า “ชุดทดลองนี้ได้รับแรงจูงใจมาจากปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ระบบสื่อสารแบบดิจิทัลในการศึกษา อีกทั้งยังไม่มีคนผลิตได้ดีพอในประเทศ แต่ถ้าซื้ออุปกรณ์เหล่านี้มาจากต่างประเทศนั้นราคาค่อนข้างแพง เลยทำให้นักเรียนนักศึกษาหลายคนต้องหาความรู้จากตำรา และโปรแกรมจำลองผลการทดลอง แต่ไม่มีโอกาสได้ทดลองในระบบจริง ๆ ส่งผลให้ขาดความมั่นใจในการเรียนรู้ไป” “ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดประดิษฐ์ชุดทดลองส่งบิตข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้กำหนดบิตข้อมูลที่ถูกส่งผ่านสื่อกลางจากตัวส่งไปยังตัวรับ และสังเกตผลกระทบของบิตข้อมูลต่อรูปสัญญาณได้อย่างทันที ซึ่งการพัฒนาชุดทดลองดังกล่าวใช้ระบบที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ จึงทำให้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกันทำหน้าที่ที่แตกต่างกันในแต่ละการทดลองได้ โดยผู้ใช้สามารถต่อชุดทดลองเข้ากับคอมพิวเตอร์ด้วยสาย USB และใช้โปรแกรมกำหนดหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก่อนเริ่มทำการทดลอง” ดร.ปกรณ์ เล่าต่อว่า “ทุนวิจัยและพัฒนาชุดทดลองดังกล่าว เพื่อสื่อการเรียนการสอนพื้นฐานแบบดิจิทัล ได้รับจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประมาณ 1.2 ล้านบาท สำหรับการนำนวัตกรรมมาสร้างประโยชน์ต่อสังคมไทยนั้นมีแน่นอน โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา ซึ่งตอนนี้หลายสถาบันการศึกษาได้สั่งซื้อไปใช้งานแล้ว” “อีกทั้งนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัลได้ลองนำไปใช้จริงเมื่อปี 2557-2558 ในวิทยาลัยอาชีวศึกษา 3 แห่งในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมทั้งได้นำไปใช้ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่นักศึกษา อาจารย์  และผู้ที่สนใจทั่วไป ซึ่งจากความคิดเห็นของทุกคนที่ได้นำไปใช้จริงพบว่า ชุดทดลองสามารถเพิ่มความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ขั้นตอนต่าง ๆ ของการสื่อสารแบบดิจิทัลได้เป็นอย่างดี” นอกจากนี้ รศ.ดร.ภูมิพัฒ ได้เล่าเสริมถึงจุดเด่นของนวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัลว่า 1. ใช้งานง่าย เห็นภาพการทดลองได้ชัดเจนทุกขั้นตอนของระบบสื่อสาร เหมาะกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสื่อดิจิทัล 2. ระบบสร้างสัญญาณจริง รับ-ส่งสัญญาณผ่านช่องสัญญาณจริง ไม่ได้เป็นการจำลองสัญญาณ 3. การใช้งานมีความสามารถเทียบเท่ากับระบบที่นำเข้าจากต่างประเทศ แต่มีราคาถูกกว่า “ผลการตอบรับของนวัตกรรมนี้ค่อนข้างดีขึ้นเรื่อย ๆ โดย สวก. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์ ชุดทดลองส่งบิตข้อมูลเชิงปฏิสัมพันธ์ เพื่อการสื่อสารแบบดิจิทัล เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 แล้ว” รศ.ดร.ภูมิพัฒ กล่าวทิ้งท้ายว่า “ทาง กสทช. ได้จัดโปรเจ็คสร้างนิทรรศการด้านดิจิทัล โดยเราจะเป็นผู้สาธิตนวัตกรรมที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นภายในงานด้วย สถานที่จัดงานอยู่ที่ จตุรัสวิทยาศาสตร์ จามจุรีสแควร์ ปลายเดือนกันยายน 2559 นี้ ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่โทร. 02-902-0299 ต่อ 2620 E-mail :poompat.s@bu.ac.th และ sittisak.wo@bu.ac.th BBL_SME-In-Focus2_เมษายน-2559_V2 (1)

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

Upcycle คืออะไร คุณชนากานต์ – “คนจะคุ้นเคยคำว่ารีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ Upcycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้น…
pin
1246 | 27/07/2016
“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

เส้นทางไหมเป็นนวัตกรรมหนึ่งในเครื่องประดับที่มีคุณสมบัติป้องกันน้ำได้ดี โดยไอเดียนี้เกิดจากคุณกิตติมา เอกมหาชัย ซึ่งเล่าว่า “เดิมเราทำเครื่องประดับทั่วไปที่ทำจากวัสดุธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น…
pin
1423 | 25/07/2016
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

คุณศาศวัต แสงชัยอรุณ (จูเนียร์) นักศึกษาสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านออกแบบสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า…
pin
2618 | 11/07/2016
ทีมวิศวะ ม.กรุงเทพ รุกหนัก พัฒนาสื่อการเรียนการสอนดิจิทัล