SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

Innovation Room
27/07/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 1246 คน
SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์
banner
Upcycle คืออะไร คุณชนากานต์ – “คนจะคุ้นเคยคำว่ารีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ Upcycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ใช้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ ไม่ลงทุนเพิ่ม ซึ่งโครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2551 เราร่วมกับ ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการออกแบบจากเศษวัสดุ เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งเครื่องจักรและแรงงาน พอโรงงานทำไปมาก ๆ ขายของดี ก็จะมีเศษเหลือทิ้งเยอะ แต่ละโรงงานกองไว้เป็นขยะ แต่เรามองว่าตรงนั้นมีคุณค่า เงินมันจมอยู่ที่พื้นตรงนี้เยอะ เลยคิดว่าเราจะช่วยตรงนี้ได้ยังไง ก็เลยเริ่มโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทอง ทำโครงการร่วมมาจนถึงปี 2556 พอจบโครงการเราก็เลยทำโครงการต่อเนื่องคือโครงการนี้ เราอยากจะตอบโจทย์ทั้งด้านสินค้าและสิ่งแวดล้อม โดยจะมีมาตรฐาน G-Upcycling เพื่อรับรองว่าสินค้าที่เป็นเศษและที่ผลิตจากโรงงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” รักชาติพาณิชย์ คือธุรกิจอะไร คุณภูริณัฐ – “ธุรกิจเราทำเกี่ยวกับเสื่อพลาสติก ทำมา 40 ปีแล้ว ผมเป็นรุ่นที่ 3 ก็คิดว่าโรงงานเรามีพลาสติกเหลือเยอะมาก เลยอยากจะนำมาใช้ประโยชน์และเห็นโครงการของ สวทช. จึงสนใจอยากร่วมโครงการ ซึ่ง สวทช. ก็มีทีมงานที่ช่วยเราออกแบบสินค้าใหม่และสร้างแบรนด์ เพิ่มมูลค่า ประชาสัมพันธ์ในการจัดบูธและโชว์สินค้าต่าง ๆ ซึ่งกว่าจะมาทำตรงนี้ได้ก็ยากพอสมควรครับ เพราะต้องคิดผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้นมา ซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน” ทำไม สวทช. ถึงเอาโครงการนี้มาร่วมกับอาจารย์สิงห์ คุณชนากานต์ – “สวทช. เราเน้นช่วยเหลือ SME ไม่ใช่แค่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม แต่ดูถึงตัวเศษวัสดุเองด้วย ซึ่งเราก็เข้าไปปรึกษาอาจารย์สิงห์ว่าเราจะทำอะไรได้บ้าง จึงเกิดขึ้นเป็นโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทอง และโครงการนี้ Upcycling เราแบ่งเป็น 3 เฟส เสร็จสิ้นไปแล้ว 9 บริษัท 400 กว่าโมเดล เราจัดอบรมสัมมนา เสริมความคิดสร้างสรรค์ จัดเวิร์กช็อป นำผู้ประกอบการที่เข้าร่วมในโครงการมาประชุม ระดมสมองกัน พบกันทุก 2 เดือน” Upcycle ถือเป็นหนึ่งในรูปแบบพัฒนานวัตกรรมด้วยหรือไม่ คุณชนากานต์ – “ถือว่าเป็น เพราะ Upcycle คือกระบวนการแบบใหม่เพิ่มมูลค่าให้สิ่งที่ไม่มีคุณค่า ใช้วิธีการไม่ซับซ้อนมาก เราคิดว่านี่จะเป็นตัวแทนให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่กำลังตอบรับกับเรื่องโลกร้อนและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น” รูปแบบการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไร คุณภูริณัฐ – “เป็นการค้าส่งในตอนแรก แต่มันไม่แน่นอน และการแข่งขันสูง เราเลยคิดว่าจะทำยังไงถึงจะทำให้สินค้าเสื่อไม่ได้ขายในตลาดเดิม ซึ่งก็นำไปสู่การต้องออกแบบใหม่ มีแบรนด์ และเหมาะกับวัยรุ่นมากขึ้น และเราเห็นข้อมูลจาก สวทช. และเห็นว่าโครงการ Upcycling มาแรง แต่เราไม่มีประสบการการออกแบบ เลยต้องให้ สวทช. ช่วย” ตลอดระยะเวลา 8 เดือนที่อยู่กับ สวทช. ได้ทำอะไรบ้าง คุณภูริณัฐ – มีการลองผิดลองถูกก่อนว่าจะทำไซส์ไหนดี ทำยังไงให้หน้าตาแตกต่างจากเดิมที่เป็นลายดอกไม้ เราก็เลยคุยกัน สรุปได้มาเป็นลายธรรมชาติ และลายที่เป็นสี ๆ ส่วนการเก็บความเรียบร้อย สายรัดก็ออกแบบกันนานพอสมควร เรานำเสื่อของเราไปใช้ในโรงแรมให้ลูกค้าไปนอนริมชายหาด ก็เลยคิดว่าทำไมไม่ทำอย่างอื่นด้วย จะได้เปลี่ยนคอลเลคชันในโรงแรมให้เป็นเสื่อทั้งหมด จึงได้คุยกับทาง สวทช. ว่าช่วยได้มั้ย  ในที่สุดจึงออกมาเป็นกระเป๋า” ใน 8 เดือนนั้น สวทช. ช่วยเหลืออะไรบ้าง คุณชนากานต์ – “ก่อนจะมาถึงตรงนี้เราแบ่งงานเป็น 3 ส่วน 1. รู้เขา ดูว่าโรงงานมีอะไรบ้าง ของที่กองอยู่มีอะไร สีอะไรเส้นแบบไหน ความยาวเท่าไหร่  2. รู้เรา ทีมเราทำอะไรบ้าง ก็จะมีนักออกแบบ คนที่เก่งด้านคหกรรม งานฝีมือ งานเย็บ การวางลาย และการลองผิดลองถูก แต่จะสำเร็จไม่ได้เลยหากผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งผู้ประกอบการสำคัญมากในการให้ความร่วมมือเต็มที่ มีการเจอกันทุกสองเดือน เวิร์กช็อป เพื่อรับผลตอบรับจากผู้ประกอบการท่านอื่น ๆ ตลอด 8 เดือน และเข้าสู่ส่วนสุดท้ายคือ ลองตลาด” ในระกว่างร่วมโครงการมีปัญหาหรืออุปสรรคอะไรบ้าง คุณภูริณัฐ – “ปัญหาที่เราเจอก็คือ ต้นแบบใช้เวลานาน เพราะโรงงานไม่มีประสบการณ์ทำสินค้าอื่น ๆ นอกจากเสื่อ” สวทช. มีการคัดเลือกคนเข้าโครงการอย่างไร คุณชนากานต์ –  “อย่างแรกเลยคือ เป็น SME และสำคัญที่สุดคือ ไปดูแววตาก่อนว่าเค้ามีความตั้งใจ รักษ์สิ่งแวดล้อมจริงมั้ย ส่วนใหญ่ทุกคนก็จะเน้นในเรื่องของ ไม่อยากทิ้งของเสียไว้ อยากช่วยลดโลกร้อน ซึ่งก็ตรงกับความต้องการของเราพอดี” ประโยชน์ที่คนเข้าร่วมโครงการได้รับ คุณชนากานต์ –  “เคพีไอของเราคือ เค้าต้องได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่จะเกิดขึ้น ต้องทำต่อไปไม่หยุด เราจะแนะนำบริษัทถึงการทำแบรนด์หรือขายของออนไลน์ต่อไปในอนาคต โดยหากมีนิทรรศการสิ่งแวดล้อม  เราก็จะผลักดันให้โครงการเราเป็นที่รู้จัก ตอนแรกเราทำโครงการเปลี่ยนขยะเป็นทอง เจอคำถามว่าจะรู้ได้ไงว่าสินค้าที่เราทำเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเค้ามองดูไม่รู้ว่ามันเป็นเศษ  มันมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์แล้ว เราเลยเพิ่มอีกกิจกรรมเข้ามาคือ ทำมาตรฐาน G-Upcycle สนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าไปใช้งาน เพื่อขอรับการรับรอง ซึ่งบริษัทต่างชาติก็เข้ามารับรองด้วย” ความคาดหวังของ คุณภูริณัฐ คืออะไร คุณภูริณัฐ – “เราอยากนำเสนอผลิตภัณฑ์รักษ์โลกสู่สายตาคนไทย วัยรุ่น และชาวต่างชาติ ตอนนี้ก็อยู่ในระยะเริ่มต้นเพิ่งให้สาธารณะได้เห็น แต่ฟีดแบคตอนนี้ก็ดีมาก” สวทช. มองหากลุ่มผู้ประกอบการแบบไหนเป็นพิเศษบ้าง คุณชนากานต์ –  “ผู้ประกอบการรายใดมีเศษในโรงงาน เหล็ก อะลูมิเนียม หนังแท้ หนังเทียม สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้เลย อาจารสิงห์สามารถหาทีมที่เก่งเฉพาะทางแต่ละวัสดุใช้งานได้ ค่อนข้างเปิดให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ การเข้าร่วมโครงการเหมือนการเปิดโลกทัศน์ให้ตัวเอง สวทช. ยินดีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือภาค SME เราจะจัดสัมมนา ประชาสัมพันธ์” ผู้ประกอบการที่สนใจต้องเตรียมความพร้อมอย่างไร คุณภูริณัฐ – “เปิดใจก่อน เพื่อจะรับกับสิ่งใหม่ และให้บุคลากรเราเปิดใจด้วย นี่เป็นจุดสำคัญ มีการคุยกันกับคนในองค์กรเพื่อให้พร้อมจะเดินต่อไป และตอนนี้เป้าหมายของเราก็คือ ทำผลิตภัณฑ์รักษ์โลกออกมาให้โดนใจวัยรุ่น ลูกค้าต่างชาติ และคนในต่างประเทศ และอยากให้มีตลาดที่ชัดเจน” แหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม คุณชนากานต์ –  “เราเกี่ยวกับวัสดุ การออกแบบ อาจต้องไปที่ TCDC ศูนย์การออกแบบ ผู้ประกอบการสามารถไปดูได้ว่า ชิ้นส่วนวัสดุไหนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดูเทรนของโลกจากการไปดูงานต่าง ๆ ที่ต่างประเทศ” คุณภูริณัฐ – “ความรู้ต่าง ๆ จากพวกเว็บดีไซน์ และตลาดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการออกแบบ ดูว่าเราสามารถทำกับสินค้าแบบไหนได้อีก ก็มีไอเดียดี ๆ มาเยอะมาก และก็มีการปรึกษากับ สวทช. ว่าจะออกมายังไงไม่ให้ซ้ำกับที่เคยมีในตลาด” ตลาดประเทศเราเอื้อประโยชน์มากน้อยแค่ไหนกับ Upcycling คุณภูริณัฐ – “เราโชคดีเราอยู่ในตลาดที่ครบถ้วน  ผู้นำก็มีใจเปิดกว้าง งานที่เกี่ยวกับการช่วยภาคเอกชนและวิชาการก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดี สิ่งแวดล้อมเราดีมาก ผู้ประกอบการด้วยกันเองก็เปิดใจ ให้กำลังใจกัน เปิดกว้าง รวมถึงกระทรวงต่าง ๆ ก็ให้การสนับสนุนอย่างดี เพราะทุกคนต้องการรักษ์โลกเหมือนกัน จึงคุยกันได้ง่าย” เศรษฐกิจประเทศไทยไม่เอื้อต่อการลงทุนแบบนี้ เราจะทำอย่างไร คุณชนากานต์ –  “รักชาติเป็นตัวอย่างที่ดี สวทช. สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้ครึ่งหนึ่ง ค่าทดสอบ ทดลองทั้งหมดเราช่วยครึ่งหนึ่ง เหมือนเราเข้าไปร่วมเสี่ยงด้วย เพราะไม่รู้ว่าทำเสร็จแล้วจะใช้ได้หรือเปล่า ซึ่งส่วนใหญ่ก็ประสบความสำเร็จ  ปัจจัยความสำเร็จก็คือ  ผู้ประกอบการต้องเปิดใจ มีความคิดทางบวก และยอมรับ เพราะถึงแม้ผู้เชี่ยวชาญจะเก่งแค่ไหน  แต่ถ้าแนะนำอะไรไปผู้ประกอบการไม่เอาเลย  มันก็ไม่เกิดและผู้ประกอบการต้องลองผิดลองถูกไปด้วยกัน สวทช. เองก็มีความยินดีให้การสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการที่สนใจ” คำแนะนำสำหรับคนที่สนใจทั้ง สวทช. และตัวสินค้าเสื่อ คุณชนากานต์ –  “เริ่มจากคิดว่าเราทำได้ก่อน ตั้งต้นจากตรงนี้ ถ้าคิดว่าทำได้จริง ติดต่อเราได้เลย เพราะอย่างที่บอกเจ้าหน้าที่เราตอนนี้พร้อมที่จะให้การสนับสนุนกับ SME ทุกภาคส่วน ติดต่อโดยตรงมาได้เลยที่ 02-564-7000 ต่อ 1301” คุณภูริณัฐ – “ส่วนที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด รักชาติพาณิชย์  ก็สามารถติดต่อมาได้เลยที่ 081-205-0550”

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

Upcycle คืออะไร คุณชนากานต์ – “คนจะคุ้นเคยคำว่ารีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ Upcycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้น…
pin
1247 | 27/07/2016
“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

เส้นทางไหมเป็นนวัตกรรมหนึ่งในเครื่องประดับที่มีคุณสมบัติป้องกันน้ำได้ดี โดยไอเดียนี้เกิดจากคุณกิตติมา เอกมหาชัย ซึ่งเล่าว่า “เดิมเราทำเครื่องประดับทั่วไปที่ทำจากวัสดุธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น…
pin
1423 | 25/07/2016
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

คุณศาศวัต แสงชัยอรุณ (จูเนียร์) นักศึกษาสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านออกแบบสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า…
pin
2618 | 11/07/2016
SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์