นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

Innovation Room
11/07/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 2600 คน
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่
banner
คุณศาศวัต แสงชัยอรุณ (จูเนียร์) นักศึกษาสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านออกแบบสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า “นวัตกรรมเศษเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตกางเกงยีนส์แบรนด์ mc เป็นวิทยานิพนธ์จบ โดยแรก ๆ เราพยายามหาบริษัทที่มีเศษเหลือทิ้งประกอบกับเทคนิคที่สามารถผลิตได้ ทีนี้อาจารย์เลยแนะนำพี่ที่เป็นหัวหน้าดีไซเนอร์โรงงานผลิตยีนส์ mc จากนั้นเลยติดต่อผ่านอาจารย์และเข้าไปติดต่อโดยตรงอีกทาง” “ไอเดียการนำเศษผ้ายีนส์เหลือใช้มาผลิตนี้  เกิดจากตอนที่เคยไปฝึกงานในต่างจังหวัด   แล้วมีเศษผ้าเหลือใช้ จากนั้นเลยลองเอามาเย็บเป็นชิ้น ๆ ซึ่งเทคนิคนี้เรียกว่า แพทเวิร์ค คือการเย็บต่อผ้าหลาย ๆ ชิ้น พอนำส่งอาจารย์เขาก็รู้สึกสนใจ ดังนั้น ไอเดียนี้จึงถูกหยิบมาใช้กับเศษผ้ายีนส์ mc ด้วย ฉะนั้น รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้ายีนส์ ได้แก่ พรมปูพื้น หมอนอิง และกระเป๋าแฟชั่น เป็นต้น” กระบวนการทำและระยะเวลาการผลิต จูเนียร์ เล่าว่า “ระยะเวลาการทำ อันนี้เป็นโปรเจคทั้งเทอม  ใช้ระยะเวลาทดลอง 5 เดือน และใช้เวลาการทำเป็นผลิตภัณฑ์ 3 เดือน ส่วนกระบวนการทำ เริ่มจากเราไปเลือกวัสดุเองที่โรงงาน ดูขนาดของผ้าว่าใช้ได้หรือไม่ได้ และคัดเศษผ้า คัดสีจากโรงงาน ต่อมาจึงนำมาเย็บประกอบกันเป็นผืนผ้า และขึ้นเป็นโปรดักส์แบบต่าง ๆ” “เศษเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตกางเกงยีนส์แบรนด์ mc เป็นนวัตกรรมประเภท Reuse ด้วยการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เข้ากับเทรนด์ขณะนี้เป็นอย่างดี เนื่องจากหลายหน่วยงานนิยมนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาเพิ่ม ดังนั้น ทำให้วิทยานิพนธ์ของผมได้ร่วมกับโครงการออกแบบเคหะสิ่งทอจากริมผ้ายีนส์เหลือใช้ บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำหรับแบรนด์ MC Textile Decoration from remnant of jean, MC GROUP PublicCompany Limited for MC jeans group เพราะว่าในแต่ละวันเขาผลิตกางเกงยีนส์เยอะมาก เลยทำให้เหลือเศษผ้ายีนส์ 6,500 หลาต่อวัน นับเป็นหลายตันมาก” จากวิทยานิพนธ์สู่ธุรกิจ จูเนียร์ เล่าว่า “ผลิตภัณฑ์จากเศษผ้ายีนส์ยังไม่เคยนำออกจำหน่าย แต่เคยเข้าร่วมโครงการอย่างที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งหากผลิตจริงไม่ค่อยคุ้มทุน ส่วนรางวัลไม่เคยส่งเข้าประกวด แต่ทาง TCDC ติดต่อเข้ามาให้นำวัสดุไปคัดเลือกว่าเป็นวัสดุนวัตกรรมใหม่เหมือนกัน แต่ทั้งนี้จะต้องมีเบอร์ติดต่อในเชิงธุรกิจ เลยไม่มีเวลาที่จะทำเท่าไหร่ แต่ได้ลงนิตยสารวอลเปเปอร์ ด้านนวัตกรรมใหม่ของนักศึกษาไทยที่เขาคัดเลือกจากหลาย ๆ แห่งเพื่อลงนิตยสาร” “ส่วนต้นทุนการผลิตต่อชิ้น อย่างเช่น การทำหมอนอิงในการขึ้นแบบทำตัวอย่างขนาด 18x18 นิ้ว ใช้เงินประมาณ 550 บาท ส่วนสังคมจะได้ประโยชน์จากตรงนี้อย่างไรนั้น สามารถตอบได้เลยว่า ทางชุมชนสามารถนำต้นแบบของเราไปผลิตเพื่อสร้างรายได้ต่อได้” คิดจะทำเป็นธุรกิจหรือไม่ จูเนียร์ เล่าว่า “เคยคิดนะ แต่ตอนนี้กำลังศึกษาหาแนวทางของตนเองก่อนว่าชอบอะไร แต่ก็เริ่มมาทำงานสายแฟชั่นแล้ว ดังนั้น ถ้ามีคนสนใจให้ขึ้นต้นแบบผลิตภัณฑ์ ต้องขอจำนวนไม่มาก ซึ่งสามารถติดต่อมาได้ที่เบอร์ 087-714-4292 หรืออีเมล์ jr.sasawat@gmail.com”   นำเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

Upcycle คืออะไร คุณชนากานต์ – “คนจะคุ้นเคยคำว่ารีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ Upcycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้น…
pin
1232 | 27/07/2016
“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

เส้นทางไหมเป็นนวัตกรรมหนึ่งในเครื่องประดับที่มีคุณสมบัติป้องกันน้ำได้ดี โดยไอเดียนี้เกิดจากคุณกิตติมา เอกมหาชัย ซึ่งเล่าว่า “เดิมเราทำเครื่องประดับทั่วไปที่ทำจากวัสดุธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น…
pin
1404 | 25/07/2016
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

คุณศาศวัต แสงชัยอรุณ (จูเนียร์) นักศึกษาสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านออกแบบสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า…
pin
2601 | 11/07/2016
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่