พลิกวิกฤตคนสูงวัยล้นแดนปลาดิบ ตลาด Active Senior ยุ่นบูมฉุดไม่อยู่

SME Update
26/05/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 1940 คน
พลิกวิกฤตคนสูงวัยล้นแดนปลาดิบ ตลาด Active Senior ยุ่นบูมฉุดไม่อยู่
banner
เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เมื่อญี่ปุ่นเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว แต่แทนที่จะสร้างปัญหา กลับกลายเป็นสร้างโอกาสให้ธุรกิจภาคเอกชนกว่า 600 บริษัท เข้ามาจับธุรกิจเกี่ยวกับผู้สูงอายุในช่วงบั้นปลาย ตลาด Senior Market ในญี่ปุ่นมีประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็น 26% แบ่งเป็นชายอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 23.1% และหญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 28.8%  ส่วนใหญ่เป็น Active Senior ที่มีกำลังซื้อสูง เป็นโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสาขาอุตสาหกรรมการดำรงชีวิต ข้อมูลจากศูนย์ค้นคว้ากิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ ประเทศญี่ปุ่น วิเคราะห์ว่า จำนวนผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาการดูแลและสนับสนุนที่ลงทะเบียนไว้มี 5,380,000 คน คิดเป็น 17.6% ของผู้สูงอายุทั้งหมด (30,590,000 คน) ที่เหลือ 82.4% หรือประมาณ 25 ล้านคนอยู่ในกลุ่มที่เป็น Active Senior ซึ่งสัดส่วนนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงปี ค.ศ.2025 อีกทั้งสินทรัพย์ส่วนบุคคลในญี่ปุ่นมีมูลค่า 1,500 ล้านล้านเยน โดยสัดส่วนที่ผู้สูงอายุครอบครองอยู่คิดเป็นจำนวน 60% หรือ 900 ล้านล้านเยน ความเป็น Active Senior นั้น  จะอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่อายุระหว่าง 55-69 ปี ที่ยังแข็งแรง  ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันได้ ทั้งนี้ การเรียกกลุ่มผู้สูงอายุว่า "Active Senior" ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีที่ได้เป็นกลุ่มพิเศษ   ไม่ใช่คนสูงอายุทั่วไป เพราะผู้สูงอายุมักไม่ชอบถูกเรียกว่าชราภาพ สินค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ Active Senior ในญี่ปุ่น ประกอบด้วย ยาและบริการทางการแพทย์ (Medical Service & Medicine) พยาบาลและการดูแลผู้สูงอายุ (Nursing Care) และสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อผู้สูงอายุ (Consumer Goods) ซึ่งสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อผู้สูงอายุ จะได้รับความสนใจจากกลุ่ม Active Senior มากที่สุด และต้องเป็นสินค้าที่สนับสนุนกระตุ้นด้านความทรงจำ กิจกรรมใช้ชีวิต การเล่นเกม การสื่อสาร ด้านวัฒนธรรมศิลปะ และประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ Active Senior ยังมีความต้องการต่อสินค้าและบริการที่มุ่งเน้นพัฒนาเพื่อคนสูงอายุ เพราะไม่อยากถูกมองว่าเป็นผู้สูงอายุ ถ้าเป็นสินค้าอาหาร ความต้องการของผู้สูงอายุเกี่ยวกับอาหาร คือ เพื่อสุขภาพ คุณภาพดี เน้นเพื่อการ รับประทานอย่างเดียว กุญแจสำคัญในการสร้างตลาดสินค้าผู้สูงอายุในญี่ปุ่นนั้นอยู่ที่ “เปลี่ยนจากความคิดที่จะเข้าใจผู้สูงอายุ  มาเป็นความคิดในการดูและพ่อแม่ตนเองแทน” อาทิ ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาในเรื่องต่าง  ๆ สร้างคุณค่าให้กับความตื่นเต้นใหม่ ๆ  สำหรับผู้สูงอายุ จากความไม่ต้องการถูกมองว่าเป็นคนแก่ เพื่อได้รับความรู้สึกใหม่จากความตื่นเต้น อาทิ เครื่องประเทืองผิว ชุดชั้นในและเครื่องสำอางสำหรับผู้สูงอายุ นอกจากนี้ สำนักพัฒนาการค้าและธุรกิจไลฟ์สไตล์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ยังเปิดเผยว่า ภาครัฐควรดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องอีก 3-5 ปี โดยจัดให้มีกิจกรรมต่าง  ๆ อย่างสม่ำเสมอ และสร้างกระแสของสินค้าไทยในตลาดญี่ปุ่น เพื่อให้สินค้าแบรนด์ไทยไปจำหน่ายได้ในห้างสรรพสินค้าของประเทศญี่ปุ่นได้ เพื่อยกระดับภาพลักษณ์สินค้าจากประเทศไทย และสร้างความยั่งยืนต่อไป ในอนาคตจึงควรนำผู้เชี่ยวชาญสำหรับกลุ่มสินค้าอื่น  ๆ มาให้คำแนะนำอีกด้วย โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์และของใช้ภายในบ้าน ของเล่น วัสดุก่อสร้าง สุขภาพและอุปกรณ์การแพทย์ และธุรกิจบริการเพื่อผู้สูงอายุ รวมถึงช่วยแนะนำให้เกิดการจับคู่ธุรกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขึ้น  เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการตลาด (SME ญี่ปุ่นร่วมมือกับ SME ไทย) และเพื่อลดต้นทุนการพัฒนาสินค้าและการตลาด นอกจากนี้  สำหรับบริษัทไทยขนาดเดียวกับ SME ควรจับมือกันเป็น Suppy Chain เชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาสินค้าร่วมกัน และส่งเสริมการหาแหล่งเงินทุนด้านการวิจัยและพัฒนาสินค้า  จากหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตรของโครงการ อีกทั้งการจัดโครงการ Pop up Store (หรือ Prototype Sell Promotion) ร่วมกับห้างต่าง  ๆ ในญี่ปุ่น จะเป็นช่องทางการกระจายสินค้าที่ดีให้แก่สินค้าจากโครงการได้ นอกจากนี้ยังควรอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อ ทั้งนี้เนื่องจากระบบการนำเข้าของญี่ปุ่น  จะต้องมีผู้นำเข้าที่มีใบอนุญาตนำเข้าสินค้าเท่านั้น (สินค้าอาหาร เครื่องสำอางและสปา) ดังนั้นจึงควรจัดหาผู้นำเข้าที่มีใบอนุญาต  มาจัดการด้านการนำเข้าให้แก่ผู้ซื้อจากห้าง จะทำให้สินค้าไทยเข้าสู่ตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น การขายสินค้าผ่านช่องทาง E-Commerce  จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้บริโภคในตลาดญี่ปุ่นนิยม ดังนั้นการขยายช่องทางการสั่งซื้อสินค้าด้วยวิธีออนไลน์  จะช่วยส่งเสริมการขายสินค้าจากประเทศไทยได้อีกวิธีหนึ่งด้วย นอกจากนี้  การเพิ่มช่องทางการสื่อสารเป็นภาษาญี่ปุ่น  ทั้งในเว็บไซด์โครงการ แผ่นพับ และสื่อโฆษณาต่าง  ๆ ควรมีภาษาญี่ปุ่นด้วย เพื่อให้ผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นสามารถสื่อสารได้ง่ายยิ่งขึ้น

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1676 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1922 | 25/01/2024
พลิกวิกฤตคนสูงวัยล้นแดนปลาดิบ ตลาด Active Senior ยุ่นบูมฉุดไม่อยู่