NIA นำนวัตกรรม สู่ผ้าทอเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยกัญชง

Innovation Room
24/06/2016
รับชมแล้วทั้งหมด 1477 คน
NIA นำนวัตกรรม สู่ผ้าทอเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยกัญชง
banner
นี่จึงเป็นเป้าที่ภาคเอกชนเบนเข็มทิศมาใส่ใจมากขึ้น โดยได้รับแรงผลักดันจากภาครัฐ ซึ่งก็คือ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA (องค์การมหาชน) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี SME Clinic วันนี้ขอนำทุกท่านมาร่วมกันไข “กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรม สำหรับผู้ประกอบการ SME” โดยมีผู้ร่วมสนทนา 3 ท่าน ได้แก่ คุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช. หรือ NIA) ร่วมด้วยตัวแทนจากภาคเอกชน ได้แก่ คุณบัณฑิต พงศาโรจนวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ จำกัด ผู้ผลิตผ้าทอเส้นใยธรรมชาติ และ คุณอาทิตย์ ฤทธีธาวี ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ดีดีเนเจอร์ คราฟท์ จำกัด ผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากเส้นใยกัญชง คุณมณฑาเริ่มอธิบายถึงคำว่า ‘นวัตกรรม’ ให้ฟังว่า “เป็นสิ่งใหม่ที่ทำแล้วมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น อาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่ อย่างปัจจุบันนี้มีกลุ่มธุรกิจใหม่อย่าง Startup ก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมเหมือนกัน” วัตถุประสงค์ที่ สนช. ได้เข้าไปช่วยเหลือเรื่องนวัตกรรมแก่ภาคเอกชน ก็คือ  สนช. ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมทางด้านนวัตกรรม   สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ถ้าภาคเอกชนมีไอเดีย มีแผนงานที่น่าสนใจ ก็สามารถยื่นเรื่องเสนอมาของบต่าง ๆ ได้ โดยมี 2 กลไกหลัก คือ 1. แปลงหนี้เป็นทุน เช่น บริษัทคุณมีห้องแล็บขนาดเล็ก แต่อยากจะขยายใหญ่ขึ้น คุณก็ต้องทำแผนงานนำมาเสนอ สนช. ก็จะเข้าไปสนับสนุน เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าวิจัย ค่าเครื่องจักร ค่า License โดยมีสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาเป็นผู้ทำหน้าที่ตีมูลค่า ซึ่งงบที่อนุมัติให้ได้สูงสุดคือ 3 ล้านบาท แต่ขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องมีส่วนร่วมออกค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากนี้ด้วย อีกโครงการหนึ่ง เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้แล้ว ภาคเอกชนก็มีความพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป แต่อย่าลืมว่า นวัตกรรมถือว่าเป็นเรื่องที่เสี่ยง คุณก็อาจจะต้องกู้เงินเพิ่ม ซึ่ง ธ.กรุงเทพ เป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่ให้บริการกู้เงินสำหรับเรื่องนี้  โดย ธ.กรุงเทพ อนุมัติเงินต้น ส่วน สนช. จะช่วยชำระดอกเบี้ยให้เป็นเวลา 3 ปี ทางด้านภาคเอกชนที่มีแนวคิดในการนำนวัตกรรมมาใช้พัฒนาธุรกิจนั้น  คุณบัณฑิตแห่งไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ เล่าให้ฟังว่า “จุดแรกเรามองไปที่เรื่องความสามารถในการแข่งขัน จะทำอย่างไรให้เราแข่งขันและอยู่รอดได้ในตลาด เพราะเดิมทีเราประสบปัญหาติดขัด ถ้าตำแหน่งสินค้าของเราอยู่ในระดับสูง ตั้งราคาสูง ก็เจอคู่แข่ง และถ้าวางตำแหน่งสินค้าระดับล่าง หรือตั้งราคาถูกลงมากในระดับล่าง ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะเราอยู่ในระดับกลาง ๆ ดังนั้นจึงต้องหาทางออกด้วยกันหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การนำนวัตกรรมเข้ามาช่วยนั่นเอง” สำหรับคุณอาทิตย์แห่งดีดีเนเจอร์ คราฟท์ เล่าให้ฟังอีกเช่นกันว่า “คุณสมบัติของสินค้าเราถือว่าดีอยู่แล้ว แต่ต้องการหา Value Added เข้าไปอีก เพื่อใช้ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เช่น การนำยางที่มีคุณภาพดีอยู่แล้วมารวมกันกับกัญชง ก็จะช่วยเกิด Value ขึ้นไปอีก สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายเพิ่มขึ้น” กัญชงที่คุณอาทิตย์พูดถึงนั้น คือ พืชตระกูลเดียวกับกัญชา เป็นพืชเศรษฐกิจ มีเส้นใยที่เหนียว นิยมปลูกเพื่อนำเส้นใยไปผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่ม  ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นที่แตกต่างกับกัญชา เป็นพืชที่เกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์ที่แยกกันออกมา ทำให้กัญชงไม่มีสารเสพติดใด ๆ จึงสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอได้ดี ซึ่งเส้นใยของกัญชงแข็งแรงกว่าฝ้าย 8 เท่า มีคุณสมบัติป้องกันไรฝุ่น เชื้อรา และ UV ได้ถึง 95% รวมทั้งระบายความชื้นได้ดีด้วย เมื่อนำนวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจ จะช่วยให้ธุรกิจดีขึ้นได้ โดยคุณอาทิตย์ อธิบายว่า “นวัตกรรมแรกที่ NIA ให้ความช่วยเหลือ ก็คือ การพัฒนากี่ทอผ้าขึ้นมาเพื่อใช้กับกัญชงโดยเฉพาะ โดยทาง สนช. ได้สนับสนุนเงินทุน วิธีการก็คือ เมื่อเรานำด้ายเดิม ๆ มาใช้คู่กับกี่ทอผ้าที่ทำมาจากนวัตกรรม จะช่วยให้โครงสร้างด้ายทอผ้ามีความคงทนมากขึ้น ทอผ้าได้หลากหลายมากขึ้น แล้วส่งผลให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษหลากหลายขึ้นด้วย เช่น ความหนาเพิ่มขึ้น แข็งแรงเพิ่มขึ้น ช่วยระบายอากาศดีขึ้น” สำหรับในส่วนที่คุณบัณฑิตแห่งไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์  ได้รับการสนับสนุนจาก สนช. ก็คือ “พัฒนาเส้นใยนุ่น” โดยเราได้พบว่า ขนเป็ดมีคุณสมบัติเก็บความอุ่น  จึงวิจัยเพิ่มเติมเพื่อเอาไปใช้งาน แต่ค่าบำรุงรักษาแพงมาก และในที่สุดเราก็ได้ สนช. มาช่วยเรื่องเงินทุน รวมทั้งช่วยในเรื่องเชื่อมโยงไปสู่ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา นักวิจัย ทำให้เราสามารถพัฒนาสินค้าได้เร็วขึ้น” เราจะเห็นได้ว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผ่านกระบวนการทำนวัตกรรม อาจจะมีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ฉะนั้นเมื่อผลิตออกสู่ตลาดแล้ว ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น ๆ จะมีราคาสูงขึ้นด้วยหรือไม่นั้น  คุณบัณฑิตแห่งไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ ชี้แจงว่า “ในเบื้องต้นมีต้นทุนในการพัฒนาหลาย ๆ ด้าน งบนี้อาจถูกเสริมเข้าไปในราคาสินค้าเบื้องต้น แต่เมื่อได้ลองตลาดแล้ว และมีดีมานด์เข้ามา จะทำให้สินค้าถูกแชร์ออกไป ทำให้ราคาถูกลง” ส่วนคุณอาทิตย์แห่งดีดีเนเจอร์ คราฟท์ ชี้แจงเช่นกันว่า “ผมมองว่า การที่ สนช. เข้ามาช่วยเหลือนี้ ยิ่งจะทำให้ต้นทุนถูกลง แต่ถ้าเราทุ่มงบพัฒนาเอง จะทำให้ต้นทุนไปตกอยู่ที่สินค้า ทำให้เราตอบรับตลาดในราคาเท่าเดิม แต่มีฟังก์ชั่นที่ดีเพิ่มขึ้นมาได้” จากกรณีภาคเอกชนทั้งสองรายข้างต้นนี้ที่ทาง สนช. ได้ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือในเรื่องนวัตกรรม จนค่อนข้างประสบความสำเร็จที่ดี แล้วสิ่งที่ สนช. จะได้รับกลับคืนมานั้นคืออะไร คุ้มค่าเหนื่อยหรือไม่ คุณมณฑาซึ่งเป็นผู้อำนวยการ สนช. ได้อธิบายว่า “เมื่อภาคเอกชนได้ทำนวัตกรรม ก็จะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ เช่น มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีการส่งออกมากขึ้น อนาคตจะไปได้ไกลอีกเยอะ จึงคุ้มค่าที่จะให้การช่วยเหลือภาคเอกชนในเรื่องนี้” สุดท้ายนี้ยังมีประเด็นที่สงสัยว่า ผ้าจากนุ่นจะเหมาะกับเมืองไทยหรือไม่ เพราะเป็นเมืองร้อน คุณบัณฑิตแห่งไทยนำโชคเท็กซ์ไทล์ ไขข้อข้องใจว่า “นุ่นของเราได้ผสมฝ้าย ซึ่งฝ้ายดูดซับความชื้นได้ดี ส่วนนุ่นมีคุณสมบัติผลักน้ำ ไม่ดูดซับน้ำ ทำให้ดูดซับเหงื่อได้เร็ว กระจายออกไป และแห้งเร็ว ประโยชน์ของนุ่นเก็บความอบอุ่น จึงใช้ได้ทั้งในและต่างประเทศ” SME Clinic ในวันนี้ จึงคุ้มค่าแก่การติดตามชม เพราะทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ ข้อคิด และเรื่องราวดี ๆ ที่ภาครัฐอย่าง สนช. และภาคเอกชนทั้งสองได้มาร่วมแชร์ให้เราได้รู้  ซึ่งถ้าใครสนใจรับฟังเรื่องราวดี ๆ สำหรับผู้ประกอบการ SME กันสด ๆ ก็สามารถทำได้ผ่าน เว็บไซต์ www.bangkokbanksme.com

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

SME CLINIC: Upcycling รูปแบบการสร้างนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

Upcycle คืออะไร คุณชนากานต์ – “คนจะคุ้นเคยคำว่ารีไซเคิล การนำกลับมาใช้ใหม่ แต่ Upcycle คือการนำกลับมาใช้ใหม่แต่ใส่ความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มคุณค่าให้มากขึ้น…
pin
1246 | 27/07/2016
“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

“เส้นทางไหม” เครื่องประดับนาโน สร้างอัตลักษณ์กันน้ำและเชื้อรา

เส้นทางไหมเป็นนวัตกรรมหนึ่งในเครื่องประดับที่มีคุณสมบัติป้องกันน้ำได้ดี โดยไอเดียนี้เกิดจากคุณกิตติมา เอกมหาชัย ซึ่งเล่าว่า “เดิมเราทำเครื่องประดับทั่วไปที่ทำจากวัสดุธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น…
pin
1419 | 25/07/2016
นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

นศ.ไทย ม.เทคโนโลยีลาดกระบัง ต่อยอดเศษผ้ายีนส์ mc สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่

คุณศาศวัต แสงชัยอรุณ (จูเนียร์) นักศึกษาสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านออกแบบสิ่งทอ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เล่าว่า…
pin
2617 | 11/07/2016
NIA นำนวัตกรรม สู่ผ้าทอเส้นใยธรรมชาติ และเส้นใยกัญชง