ผู้ประกอบการหลายคนที่เริ่มทำธุรกิจ มักจะต้องมาปวดหัวกับเรื่องภาษีที่มีความซับซ้อนหลายประเภท เราเลยนำภาษีแต่ละประเภทมาแนะนำให้ผู้ประกอบการธุรกิจได้ทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น ก่อนที่จำต้องมาปวดหัวในขั้นตอนการชำระภาษีตอนสิ้นปี โดยประเภทของภาษีแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นภาษีประเภทที่จะเก็บจากผู้ประกอบการธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัทและห้างหุ้นส่วน ในปัจจุบันผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีนิติบุคคลคือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยการเสียรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ ภ.ง.ด. 50 และ ภ.ง.ด. 51
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ก็คือเงินที่เราโดนหักจากรายได้ไปในทันทีเมื่อได้รับ หรือเรียกง่ายๆว่าเราโดนหักภาษีไว้ล่วงหน้าก่อนจะที่ยื่นเสียภาษีด้วยตัวเอง
แต่คนที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือที่เรียกกันว่าผู้จ่ายเงินต้องนำส่งภาษีที่หักไว้ให้กับกรมสรรพากรด้วยแยยนำส่ง ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า VAT คือภาษีประเภทหนึ่งที่จะเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆ เป็นภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ ขั้นตอนการชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจะทำหน้าที่เก็บจากลูกค้า แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล โดนในประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ 7% โดยผู้จ่ายจะต้องชำระเงินภาษีพร้อมยื่น ภ.พ. 30 ในทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งจะจัดเก็บภาษีจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดแยกเป็นพิเศษต่างหากกับภาษีประเภทอื่น โดยกิจการที่จะเสียภาษีเฉพาะกิจ คือ ธนาคาร , ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนและหลักทรัพย์ , ธุรกิจรับจำนำ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้เสียภาษีจะต้องยื่นแบบแสดงการเสียภาษี ภ.ธ. 40 ให้กับกรมสรรพากรที่เป็นหร่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ
5. อากรแสตมป์
คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง มีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ประเภท เช่น เช่าซื้อทรัพย์สิน เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ใบมอบอำนาจ เป็นต้น โดยมีกรมสรรพากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บ
โดยทั้งหมดนี้คือ 5 ประเภทภาษีที่ผู้ประกอบธุรกิจควรทำความเข้าใจเอาไว้ และหากมีข้อสงใสหรือไม่เข้าใจในการเสียภาษีว่าธุรกิจของเราอยู่ไหนประเภทไหน ควรติดต่อสอบถามเพิ่มเคิมกับกรมสรรพากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนงานบัญชีและภาษีของธุรกิจให้ดีขึ้น
Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือสายด่วน 1333