ในยุคที่ธุรกิจออนไลน์การเข้าถึงผู้บริโภคเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงในโลกออนไลน์ เราจะทำยังไงให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าของเรามากกว่าสินค้าของคู่แข่ง การซื้อโฆษณาบน Facebook เป็นอีกวิธีที่จะช่วยประชาสัมพันธ์ธุรกิจและโปรโมทสินค้าบนโลกออนไลน์ เพราะ Facebook เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก การซื้อโฆษณาบน Facebook ก็ไม่ใช่เรื่องยาก สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี เพราะคนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้ Facebook ติดต่อสื่อสาร อัพเดทข่าวสาร ซื้อสินค้าออนไลน์เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณาบน Facebook หลายคนสงสัยว่าเงินที่ซื้อโฆษณาถือว่าเป็นรายจ่าย แล้วสามารถทำไปยื่นภาษีได้หรือไม่ได้
คำตอบคือสามารถนำรายจ่ายไปยื่นภาษีได้ แต่การซื้อโฆษณาบน Facebook ผู้ประกอบการจะต้องหาหลักฐานในการจ่ายเงินค่าโฆษณา Facebook ไปยืนยัน โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบที่มีชื่อบริษัทหรือชื่อธุรกิจที่จดทะเบียน แนบกำกับไปด้วยซึ่งสามารถขอเอกสารใบกำกับภาษีได้จากทาง Facebook โดยค่าโฆษณา Facebook ที่สามารถยื่นภาษีได้จะแบ่งออกเป็นภาษี 2 ประเภท คือ
- ภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา ถ้าผู้ประกอบการต้องการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณายื่นภาษี ต้องดูว่าเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบไหน
1.แบบเหมาค่าใช้จ่ายทุกอย่างรวมกัน โดยค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้จะรวมอยู่ในนั้นหมดแล้ว ดังนั้นจึงไม่สามารถนำรายจ่ายค่าโฆษณามาหักภาษีได้อีก
2.แบบจ่ายตามจริง กรณีนี้เราสามารถนำค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณามาหักเป็นต้นทุนได้ แต่ต้องมีหลักฐานใบกำกับภาษีระบุให้ชัดเจนว่าใช้ค่าใช้จ่ายในการซื้อไปเท่าไหร่เพื่องานอะไร
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล ค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณา Facebook สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีธุรกิจได้ เพราะเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 แต่การซื้อโฆษณาต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจนั้นจริงๆ ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินลงรายละเอียดให้ครบถ้วนในชื่อของบริษัท Facebook
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามกฎหมายมาตรา 77/2 การขายสินค้า หรือใช้บริการและทำกิจการในราชอาณาจักร บังคับให้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย รวมถึงตามมาตรา 83/6 ในกรณีที่เราใช้บริการจากต่างประเทศในราชอาณาจักร ผู้จ่ายเงิน(ตัวเรา) ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย เพราะ Facebook ไม่ได้มีการจัดตั้งสำนักงานในไทยและในค่าโฆษณาไม่ได้รวม VAT ดังนั้นเราจึงต้องเสีย VAT เองโดยคิดจากยอดปกติ 7% ของค่าโฆษณาที่เราได้จ่ายไป ตัวอย่างเช่น ค่าโฆษณา 20,000 บาท เราต้องจ่ายค่า VAT เป็นจำนวนเงิน 1,400 บาท นอกจากนี้ธุรกิจจะต้องนำส่งภาษีฯให้กับกรมสรรพากรด้วย ซึ่งใช้แบบฟอร์ม ภ.พ. 36 ในการยื่นภาษีฯ ภายใน 7 วันนับตั้งแต่สิ้นเดือนที่มีการจ่ายเงินค่าโฆษณา
Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก www.bangkokbanksme.com หรือ โทร call center 1333