เจาะลึกหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่น กับ ‘บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์’ ผู้นำด้านระบบอัตโนมัติครบวงจร เพื่อ SME สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0

SME in Focus
05/04/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 8910 คน
เจาะลึกหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่น กับ ‘บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์’ ผู้นำด้านระบบอัตโนมัติครบวงจร เพื่อ SME สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0
banner
โลกธุรกิจ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ที่ช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์การทำงานให้ผู้ประกอบการ SME ยุคนี้  ซึ่งความจำเป็นของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปรับใช้ เพื่อไม่ให้ธุรกิจถูกดิสรัปต์ รวมทั้งช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถแข่งขันได้ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 

Bangkok Bank SME ชวนไปทำความรู้จักกับ ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หรือ Automation System Integrator (aSI) แถวหน้าของประเทศไทย กับ ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ กรรมการบริหาร บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด บริษัทด้านเทคโนโลยี ที่ให้บริการออกแบบ พัฒนา บูรณาการ และติดตั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมายาวนานกว่า 20 ปี 



ย้อน Business Milestones ‘เลิศวิลัย’

บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด  ดำเนินธุรกิจมากว่า 70 ปี สินค้าหลัก คือ ‘ลวดเชื่อมไฟฟ้า’ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตและ ผู้ขายรายใหญ่ในประเทศไทย รูปแบบธุรกิจ คือการจัดจำหน่ายและบริการหลังการขายลวดเชื่อมไฟฟ้า Yawata และ Gemini เครื่องเชื่อมไฟฟ้า Yawata OTC และ Miller และสินค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานเชื่อมโลหะ มีโรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า Yawata ร่วมทุนกับ บริษัท Nippon Steel Welding Products and Engineering ประเทศญี่ปุ่นยาวนานกว่า 50 ปี โดยมี บริษัทเลิศวิลัยฯ เป็นหุ้นส่วนใหญ่และบริหารงาน และ โรงงานผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า Gemini และ Nakata เป็นของคนไทย 100% ด้วยการมีสินค้าคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในตลาดและในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้น มีสินค้าที่ได้รับความนิยมจนติดอันดับระดับประเทศ



ต่อยอด - แตกไลน์ สู่บริษัทผู้ผลิต 

หลังจากประกอบธุรกิจการจัดจำหน่าย บริษัท เลิศวิลัยฯ  พัฒนาและต่อยอดสู่การเป็นผู้ผลิต โดยร่วมทุนกับบริษัท Nippon Steel Welding Products and Engineering (ปัจจุบันคือบริษัท Nippon Steel Welding & Engineering) และได้ก่อตั้งโรงงานแห่งแรกคือ บริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นเมื่อปี 2516  และต่อมาในปี 2528 ได้ก่อตั้งบริษัท ลวดเชื่อมไฟฟ้าไทยฮันซ่า จำกัด ผู้ผลิตลวดเชื่อมไฟฟ้า Gemini และ Nakata ที่เป็นของคนไทย 100% 

เมื่อธุรกิจเริ่มขยับขยายและเติบโตต่อเนื่อง จึงเริ่มแตกไลน์ไปทำธุรกิจหุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพื่อรองรับงานเชื่อมโลหะแบบอัตโนมัติสำหรับ Spot MIG และ TIG Welding เนื่องจาก หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เริ่มได้รับความนิยมนำมาใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมรถยนต์ 



ดร.ประพิณ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ซึ่งนำตลาดโดยแบรนด์ชั้นนำอย่าง Isuzu, Toyota, และ Mazda เริ่มนำหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นเข้ามาใช้ในประเทศไทย ประมาณปี 2541-2542 ในไลน์การประกอบรถยนต์ โดยติดตั้ง Spot Gun บน หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพื่อทำการ Spot Welding ตัวถังรถยนต์โดยอัตโนมัติ แทนที่การทำงานของคนโดยสิ้นเชิง ”

ซึ่งบริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด มองเห็นถึงโอกาสการเติบโต จึงเข้าไปในสู่ธุรกิจนี้ ด้วยการเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของ Nachi Fujikoshi, Japan และเริ่มขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้กับ บริษัทอีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด โปรเจกต์แรกคือ Project 190 และตามมาอย่างต่อเนื่องอีกหลายโปรเจกต์ นอกจากนี้ ยังมี บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทออโต้อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ฯลฯ ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม Nachi ที่ขายโดยบริษัทเลิศวิลัยฯ เช่นกัน 



ก้าวสู่ธุรกิจ “ผู้บูรณาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติครบวงจร”

จากความรู้ความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมายาวนานในธุรกิจเชื่อมโลหะ ต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมอีกหลากหลายประเภท ตลอดจนองค์ความรู้ที่ได้จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์ Nachi มานานนับสิบปี ทำให้บริษัทเลิศวิลัยฯ ขยายงานสู่การเป็นผู้บูรณาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในปี 2558

ดร.ประพิณ กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราเริ่มธุรกิจหุ่นยนต์โดยการเป็นตัวแทนขาย ติดตั้ง และ โปรแกรมหุ่นยนต์ในงาน Spot Welding สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์  หลังจากนั้น เราได้ขยายไปในงาน Press Tending ซึ่งบริษัทนาชิฯ ได้พัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับการเคลื่อนย้ายชิ้นงานขึ้นรูปโลหะตัวถังรถยนต์ (Press Tending) ตัวอย่างเช่น หนึ่งโรง Press จะใช้ Press Machine 5 ตัว จะใช้หุ่นยนต์ประมาณ 16 ตัว ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนการลงทุนหุ่นยนต์จะอยู่ที่ประมาณ 40 ล้านบาท 

และเราได้ทำการขาย Project ประเภทนี้ไปถึง 6 Projects  จุดสำคัญก็คือ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเริ่มมีการใช้งานแพร่หลายขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย ดังนั้นหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเริ่มกลายเป็นสินค้าคอมมอดิตี้ สินค้าอะไรที่เป็นคอมมอดิตี้ หมายถึงการลดลงของกำไร จากเดิมเมื่อ 26 ปีที่ผ่านมา บริษัทเลิศวิลัยฯ ได้ทำการขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปกว่า 2,000 ตัว จากยอดขายโครงการละประมาณ 50-100 ตัว จึงต้องเริ่มมาคิดแล้วว่าจะทำอย่างไรไม่ให้กำไรลดลง แต่ เพิ่มขึ้น?”

เรามาคิดว่า ธุรกิจคือ ขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรม วางโปรแกรมหุ่นยนต์ ติดตั้งหุ่นยนต์ และบริการหลังการขาย ขั้นต่อไปก็คือการ เป็น Robot & Automation System Integrator หรือ ผู้บูรณาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้าน เราคือผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำทุกอย่างเพื่อให้สร้างบ้านเสร็จครบหมด และถ้าเราจะทำให้ครบวงจร เราคงต้องเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ด้วย จึงเป็นที่มาของเรื่อง นวัตกรรม (Innovation) ของ บริษัทเลิศวิลัยฯ คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ FACoBOT AMR (Autonomous Mobile Robot)



ความเชี่ยวชาญผสานไอเดีย สูตร..สู่ความสำเร็จ 

ความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่ทำ คือความได้เปรียบที่ทำให้ธุรกิจแตกต่างจากคู่แข่ง หากคุณขายหุ่นยนต์ คุณต้องรู้จักวิธีใช้ ไม่ต่างจากสินค้าประเภทอื่น ซึ่ง บริษัทเลิศวิลัยฯ ออกแบบโปรแกรมให้กับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้ เพราะมีองค์ความรู้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน และจากประสบการณ์ในอาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering)  โดย ดร.ประพิณ จบการศึกษา ปริญญาเอก วิศวกรรมอุตสาหการทางด้าน Operations Research focus ในส่วน Mathematical Modelling and Mathematical Programming จาก Northeastern University, Boston, Massachusetts, U.S.A. และการเป็นวิศวกรควบคุมประเภทสามัญอุตสาหการ ทำให้มีความเชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้งานวิศวกร กับการบริหารทรัพยากรต่าง ๆ ด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้การต่อยอดธุรกิจ ประสบความสำเร็จ ด้วยความเชี่ยวชาญ และมีไอเดียในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ นอกจากปัจจัยเหล่านี้ ยังต้อง Duplicate ทำซ้ำ ๆ และ Never Give up คือ อย่ายอมแพ้ ลุยต่อ และสร้างทีม สิ่งสำคัญคือ ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง




ดร.ประพิณ อภินรเศรษฐ์ กรรมการบริหาร บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด

ดร.ประพิณ ให้แนวคิดว่า หากคุณทำเรื่องเทคโนโลยี สิ่งที่ต้องมีเป็นของตัวเองคือนวัตกรรม  ก่อนโควิด 19 ตนเริ่มพัฒนา Autonomous Mobile Robots หรือ AMRs เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้เอง พัฒนาฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ทั้งหมดขึ้นเองโดยคนไทย ซึ่งในช่วงโควิด 19 ได้เริ่มทำหุ่นยนต์ AMR นี้ออกมาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยติดเชื้อ Covid 19 โดยช่วยการเคลื่อนย้ายยาและอาหาร รวมถึงฆ่าเชื้อโรค แทนที่คนทำงาน เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่ที่ใช้ในโรงพยาบาล  จึงเป็นที่มาของ นวัตกรรม FACoBOT หุ่นยนต์เคลื่อนที่ย้ายสินค้าอัตโนมัติใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดย บริษัทเลิศวิลัยฯ
 
หลังจากนั้น เราเริ่มขอ BOI (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) เมื่อได้รับการตอบรับ จึงเริ่มสร้างโรงงานแห่งใหม่ ในพื้นที่ 5 ไร่ คือศูนย์บูรณาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robot & Automation System Integration Center) ตอนนี้เราเป็น aSI เต็มตัว มีโรงงานสำหรับออกแบบ ประกอบ และ ทดสอบงานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อย่างครบวงจร 





เปลี่ยนแปลงเพื่อหาโฟกัส ต้องพร้อม Transforms ตลอดเวลา

ดร.ประพิณ เผยว่า ในปัจจุบัน Industry 4.0 เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอย่างมาก basic idea ก็คือ ในโรงงาน เรามี (ก) เครื่องจักรต่างๆ ระบบอัตโนมัติ Sensors หุ่นยนต์ ฯลฯ ทั้งหมดนี้เราต้องใช้ Technology ที่เรียกว่า Operational Technology (OT) และ (ข) Back Office เราต้องใช้ Technology ที่เรียกว่า Information Technology (IT) ดังนั้นความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง OT และ IT ต่อเนื่องไปจนถึง Cloud (หรือการเชื่อมข้อมูลในแนวตั้ง) ก็คือ การทำ Industry 4.0 หรือ Everything Connected ทั้งหมดนี้ก็นำไปสู่เรื่องของ Material Requirements Planning (MRP) ซึ่งเป็นระบบการวางแผนการผลิตและควบคุมวัสดุที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการ Implement Industry 4.0 ซึ่งรวมอยู่ในระบบซอฟต์แวร์ในการทำธุรกิจ คือ ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งถ้าไม่มีระบบซอฟต์แวร์ ERP  คงจะเป็นการยากมากที่คุณจะ Implement Industry 4.0 ให้เป็นที่สำเร็จได้



บริษัทเลิศวิลัยฯ บูรณาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในส่วนของ Operational Technology (OT) ที่เชื่อมโยงหุ่นยนต์ ระบบออโตเมชั่น เครื่องจักร เซนเซอร์ ฯลฯ (ในแนวนอน) เราออกแบบทุกอย่าง จากนั้นจึงสั่งของเข้ามาเพื่อประกอบ อีกส่วนทีมีความสำคัญ คือ ซอฟต์แวร์ในส่วนของ OT เมื่อลูกค้ามีความต้องการเรื่องอะไร ต้องการหุ่นยนต์ยกของ เรามีการใส่ระบบที่เป็น Know How ของเราเอง เราผลิตทุกอย่างได้เพราะเรามีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ 

เรื่องระบบต่าง ๆ ในส่วนของ Information Technology (IT) นั้น บริษัทเลิศวิลัยฯ เลือกใช้ Platform ของ บริษัทควอดราเทคโนโลยี จำกัด ในการ Implement Industry 4.0 ให้แก่ลูกค้า



นอกจากนี้ การโปรแกรมเรื่องแมชชีนเลิร์นนิ่ง จะมี Open source ซึ่งเรานำมาพัฒนาต่อ แล้วจึงใช้ซอฟต์แวร์ที่เป็นของเราเอง คอยเก็บข้อมูลและทำให้เกิดการเรียนรู้อยู่เสมอ ด้วยความรู้ที่เรียนจบมาเฉพาะด้าน ดร.ประพิณ จึงสะท้อนมุมมองว่า ไม่ใช่ทุกคนเห็นโปรแกรมต่าง ๆ แล้วจะเรียกว่าเอไอได้ ที่ถูกต้องคือ หากจะเรียกว่าระบบเอไอ เทคโนโลยีนั้น ต้องเป็นระบบที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ถ้าเรียนรู้ และปรับตัวให้ดีขึ้นได้เอง จึงเรียกว่า ‘เอไอ’ อย่างที่ยุคนี้รู้จักกันดี เช่น ChatGPT อันนั้น คือเอไอ หรือ เทคโนโลยีประเภท Deep Learning ที่มีการเรียนรู้และปรับตัวได้ตลอดเวลา 

โดยสรุปคือ เมื่อมี Open source library เราจะนำมาพัฒนาต่อ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ด้านซอฟต์แวร์ควบคู่ไปด้วย โดยที่ไม่ต้องเอาของที่อื่นมา แต่เราพัฒนาต่อให้เป็นของเราเอง การ Optimize ได้เอง จะช่วยให้เราแก้ไขหรือพัฒนาเองได้ ฉะนั้น คุณต้องมี Know How มีซอฟต์แวร์ และมีแพลตฟอร์มที่จะทำและแก้ไขได้  ที่สำคัญคือ มี Library ต้อง Optimize ให้การใช้งานรวดเร็ว ไม่มีข้อผิดพลาด



SME จะเข้าถึงเรื่องหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นอย่างไร?

ดร.ประพิณ กล่าวว่า หากผู้ประกอบการ SME ต้องการเลือกบริษัทที่ให้บริการเรื่องเทคโนโลยี ต้องรู้ว่าบริษัทนั้น มีความเชี่ยวชาญหรือไม่ มีผลงานอะไร ซอฟต์แวร์ที่ใช้ มีการใช้งานมานานแค่ไหน มีบัคหรือไม่  ซึ่งสำหรับบริษัทเลิศวิลัยฯ เราอยู่ในธุรกิจนี้กว่า 20 ปี มีแพลตฟอร์มมากมาย หากจะเลือกใช้ คุณต้องรู้ว่าบริษัทนั้นมี Performance เป็นอย่างไร มีทีมงานเป็นอย่างไร 

“...สำหรับ SME ที่ต้องการ Transforms โดยเฉพาะตอนนี้มีปัญหาเรื่องค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ผมถามว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ SME ที่เป็นโรงงานขนาดเล็ก ในแง่การผลิตสินค้าต้องใช้แรงงานในการยกและวางสินค้าสำเร็จรูป อย่างแรกคือ ใช้แรงงานคน  ถ้าหากเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก สามารถเลือกหุ่นยนต์ที่ยกของน้ำหนักไม่เกิน 6 กิโลกรัม จะมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาท ยกตัวอย่างว่าเรามี ไลน์การผลิตที่ต้องใช้คน 2 คนยกสินค้าสำเร็จรูปมาจัดวางบน Pallet  ค่าแรงคนอยู่ประมาณ 12,000 บาท/คน (รวมค่าโบนัส และ สวัสดิการต่าง ๆ) หรือ 144,000 บาท/คน/ปี หรือ 288,000 บาท/2 คน/ปี ดังนั้น Payback Period ก็ไม่เกิน 2 ปี สำหรับกรณีที่ใช้ คน 2 คน/1 ไลน์การผลิต หรือ ไม่เกิน 4 ปี สำหรับกรณีที่ใช้คน 1 คน/1 ไลน์การผลิต 

หรือถ้าเป็นสินค้าหนักขึ้น ต้องการยกของที่มีขนาด 20 กิโลกรัม จะมีต้นทุนประมาณ  1.2-1.4 ล้านบาท อาจจะลงทุนกับระบบออโตเมชั่น ซึ่ง SME จะใช้วิธีขอ BOI แล้วนำยอดเงินลงทุนไปยกเว้นภาษีนิติบุคคล 100% (ในกรณีที่ใช้ aSI ไทย) ภายใน 3 ปี เพื่อเป็นการช่วยลงทุนหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นก็เป็นสิ่งที่ควรทำ...”



ดร.ประพิณ เผยข้อมูลที่น่าสนใจว่า ขณะนี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ข้อมูลระดับโลกจากปี 2564 พบว่ามีการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 31% จากปี 2559 โดยจำนวนหุ่นยนต์ที่มีใช้ทั้งโลกขณะนี้ นับเฉพาะหุ่นยนต์อุตสาหกรรม คือ 13-14 ล้านตัว สิ่งที่เป็นสถิติที่น่าสนใจ 3 อันดับแรก คือหุ่นยนต์ที่ใช้ในกลุ่ม Electronics – Electrical,  รถยนต์ และอุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งใน 3 อันดับ ประเภทที่ถูกนำมาใช้สูงสุดคือ Handling การเชื่อม และการประกอบ ในปี 2564 ประเทศไทย อยู่ที่อันดับที่ 12 โดยมีการซื้อหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ประมาณ 3,900 ตัว ประเทศไทยเราถือเป็นศูนย์กลางของออโตเมทีฟฮับในอาเซียน ดังนั้นเราจึงมีการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมติดอันดับของโลกด้วย 

สำหรับผู้ประกอบการ SME ตอนนี้ บีโอไอ (BOI) มีมาตรการส่งเสริมการลงทุน ให้ผู้ประกอบการเพิ่มการใช้เทคโนโลยีในมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารจัดการองค์กรครอบคลุมทั้งการผลิตและการจัดการ รวมถึงกรมสรรพากร ก็มีโครงการที่ช่วย SME ในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมออกมามากมาย มีการร่วมมือกันจากหน่วยงานส่งเสริม SME เช่น สสว. (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) กระทรวงอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นแนวโน้ม Transformation มาแน่นอน 



เลิศวิลัยฯ บนอีคอมเมิร์ซ

ในยุคดิจิทัล ทุกธุรกิจต้อง Transforms นี่คือสิ่งที่ SME ต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ หรือ Keep Changing ต้องดูว่าอะไรที่ทำกำไรได้มากขึ้นก็ไปทางนั้น นอกจากออฟไลน์ เรายังขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Lazada Shopee และ efacobot.com ซึ่งเริ่มเข้าไปตั้งแต่ปี 2560 บน Lazada เราจะใช้ API  (Application Programming Interface) ที่วิ่งไปหาระบบของ Lazada แล้วดึงข้อมูลสั่งสินค้า และ ข้อมูลการจ่ายเงินจากลูกค้า เข้าระบบ ERP ของบริษัทฯ อย่างอัตโนมัติ  ทุกอย่างขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอีกมากต่อจากนี้ 



แม้จะประสบความสำเร็จอย่างยาวนาน แต่ บริษัทเลิศวิลัยฯ ไม่เคยหยุดการพัฒนา และพร้อมจะขยาย ต่อยอดและแตกแขนงในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกัน โดยขณะนี้ ดร.ประพิณ มองว่าอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มเปลี่ยนช่วงจากเคลื่องยนต์ไปเป็น EV เราจะโฟกัสที่อุตสาหกรรมอื่นควบคู่ไป เพราะในประเทศไทย มีอีกหลายกลุ่มที่ต้องใช้เรื่องเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการจัดการอีกมากมาย เพื่อก้าวสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ 

รู้จัก บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จำกัด เพิ่มเติมได้ที่ 
www.lertvilai.com
https://www.facebook.com/lertvilai/

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
435 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
409 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
743 | 25/04/2024
เจาะลึกหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่น กับ ‘บริษัทเลิศวิลัยแอนด์ซันส์’ ผู้นำด้านระบบอัตโนมัติครบวงจร เพื่อ SME สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0