พลังเด็กรุ่นใหม่ ใช้ ‘จุดแข็ง’ ต่อยอดเป็นจุดขาย สานต่อ แบรนด์รุ่นพ่อ-แม่ สู่ ‘ธุรกิจครอบครัว’ โตอย่างยั่งยืน

Family Business
23/09/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 22447 คน
พลังเด็กรุ่นใหม่ ใช้ ‘จุดแข็ง’ ต่อยอดเป็นจุดขาย สานต่อ แบรนด์รุ่นพ่อ-แม่ สู่  ‘ธุรกิจครอบครัว’ โตอย่างยั่งยืน
banner
ภารกิจสำคัญของผู้ที่เป็นทายาทธุรกิจ นั่นคือการเข้ามารับช่วงต่องานบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business)  ซึ่งนับเป็นเรื่องที่มีความท้าทายอย่างยิ่ง เนื่องจากบริบทที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากลูก หลาน ที่มีพ่อแม่ และญาติผู้ใหญ่ เป็นผู้ริเริ่มดำเนินกิจการไว้ กลายเป็นผู้รับหมวกใบใหม่ในฐานะ ‘ผู้สืบทอดกิจการ’ ที่ต้องอาศัยทักษะความรู้รอบด้าน อาทิ การบริหารงาน คน และสร้างกลยุทธ์ให้เกิดการเติบโต ก้าวหน้าให้ธุรกิจอย่างยั่งยืน 

เพราะ ธุรกิจครอบครัว ประกอบด้วยความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ ดังนั้น ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน ทายาทธุรกิจย่อมเจอกับปัญหามากมายที่จะพิสูจน์ตัวเองว่ามีสามารถเพียงพอ และสร้างการยอมรับทั้งจากสมาชิกในครอบครัว รวมถึงพนักงานในบริษัทในความดูแล

โดยการทำธุรกิจในยุคนี้ มีข้อได้เปรียบของคนรุ่นใหม่ คือการนำความคิดสร้างสรรค์มาต่อยอด เครื่องมือการตลาดที่ทันสมัย และช่องทางการตลาดที่มากขึ้นจากเดิม หากนำจุดแข็งเหล่านี้มาผสานการดำเนินธุรกิจให้ก้าวไปพร้อมความเปลี่ยนแปลงได้ จะเป็นการสานต่อแบรนด์รุ่นพ่อ-แม่ สู่  ‘ธุรกิจครอบครัว’ ที่โตอย่างยั่งยืน เช่นเดียวกับตัวอย่างทายาทคนรุ่นใหม่ ที่เรารวบรวมมาฝากในบทความนี้ 

ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีปรีชาโฮลดิ้ง Family business พ่อแม่สร้าง ลูก ‘สานต่อ’ 

ด้วย ‘จุดแข็ง’  ของธุรกิจที่สั่งสมมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ เมื่อมาถึงรุ่นลูก จึงลงทุนพัฒนาโรงงานผลิตให้สามารถผลิตเครื่องจักร และอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้กับเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตร เพื่อพัฒนาการให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่อย่างเหมาะสม และครอบคลุมความต้องการของการใช้งานที่แตกต่างกันได้ ตามสภาพของพื้นที่เพาะปลูก ต่อยอดธุรกิจจากพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า


ความสำเร็จ จากการนำความรู้ด้านวิศวกรรมนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจ

คุณธีรพงศ์ ตันติศรีปรีชา ทายาทธุรกิจรุ่น 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีปรีชาโฮลดิ้ง ผู้แทนจำหน่ายแทรกเตอร์ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อการเกษตร กล่าวว่า ศรีปรีชาโฮลดิ้ง เป็นธุรกิจครอบครัว ทำธุรกิจเป็นผู้แทนจำหน่ายแทรกเตอร์และเครื่องจักรกลเพื่อการเกษตรภายใต้แบรนด์ ‘ยันม่าร์’  (YANMAR) งานชิ้นแรกในฐานะตัวแทนของครอบครัว คือการนำความรู้ด้านวิศวกรรมนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องลงพื้นที่สอบถามถึงความต้องการเพื่อนำ ‘ข้อมูล’ มาพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากขึ้น  


คุณธีรพงศ์ ตันติศรีปรีชา ทายาทธุรกิจรุ่น 2 ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีปรีชาโฮลดิ้ง

“ลูกค้าที่มี Loyalty กับบริษัท บางรายเป็นลูกค้าเก่าแก่ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ คุณแม่ ซึ่งท่านทั้งสองมองว่าลูกค้า คือ  ‘ครอบครัว’ จึงเน้นการบริการที่ดีที่สุด ทำให้ลูกค้าซึ่งเป็นเกษตรกรในพื้นที่ไว้วางใจ นี่คือจุดแข็งสำคัญของธุรกิจเรา”

นอกจากนั้น การติดตามคู่ค้าไปพบปะกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ยังเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดี รวมทั้งการวางแผนเข้าร่วมเป็นคู่ค้ากับโรงงานผู้ผลิตน้ำตาลในพื้นที่ อย่าง โรงงานน้ำตาลกลุ่มมิตรผล เป็นโอกาสในการนำสินค้าไปแนะนำให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่จะเป็นตลาดใหม่ในอนาคต  

คุณธีรพงศ์ สะท้อนมุมมองว่า การต่อยอดธุรกิจครอบครัวไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย แต่ความคุ้นเคยที่ได้ติดตามคุณพ่อ คุณแม่ ลงพื้นที่ ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรที่เป็นลูกค้าอยู่บ่อย ๆ จึงได้เรียนรู้และเริ่มชอบในที่สุด พอได้ลงมือทำจริง ก็เกิดใจรักในงานด้านนี้

ซึ่งตนเป็นGen 2 ที่สานต่อธุรกิจครอบครัว โชคดีที่ครอบครัวมีแนวคิดทันสมัย จึงไม่เกิดช่องว่างระหว่างเจนเนอเรชัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการต่อยอดธุรกิจครอบครัว แต่อย่างใด


ไขความลับ! ธุรกิจอาหารทะเล ‘วิยะเครป’ ปั้น ‘ปูคอนโด’ เติบโตกว่า 30 ปี มีตลาดส่งออกทั่วโลก


พลังคนรุ่นใหม่ จากธุรกิจขายปลาสู่แบรนด์ปูม้าบรรจุกระป๋องชื่อดัง

คุณมาดิน๊ะ เล่าเจริญ หรือ คุณมาดี้ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทวิยะเครป โปรดักส์ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 2 ลูกสาวของคุณสุวณีย์ ทิพย์หมัด ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Siam Crab (สยามเครป) ย้อนความหลังให้ฟังว่า เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คุณแม่เป็นเพียงแม่ค้าขายปลาและเนื้อวัวในตลาดสด ด้วยเหตุที่ช่วงนั้นปูในทะเลมีเยอะมาก คุณแม่จึงมองเห็นโอกาสหันมาทำธุรกิจขายปู ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก 

หลังจากที่ คุณมาดิน๊ะ เข้ามาช่วยสานต่อธุรกิจครอบครัวอย่างเต็มตัว เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด19 ซึ่งมีหลายธุรกิจไม่ได้ไปต่อ เพราะพิษเศรษฐกิจ แต่ ‘วิยะเครป’ สามารถผ่านวิกฤตนั้นมาได้

“เราเน้นการสื่อสารผ่าน “โซเชียลมีเดีย” เป็นหลัก เพื่อคนไทยรู้จักผลิตภัณฑ์ของบริษัทมากขึ้น
อยากให้คนไทยรู้จักผลิตภัณฑ์ของ ‘วิยะเครป’ มากขึ้น กล่าวคือ เมื่อไหร่ที่อยากรับประทานปู ต้องนึกถึง Siam Crab อยากให้ได้ลองชิมดูสักครั้งหนึ่ง เพราะมั่นใจว่าปูไทยอร่อยไม่แพ้ชาติใดในโลก”


สร้างการเติบโต ต่อยอดช่องทางการขาย ด้วย โซเชียลมีเดีย

คุณมาดิน๊ะ เชื่อว่าการใช้สื่อโซเชียลมีเดียหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Facebook Fanpage และ Twitter ฯลฯ จะช่วย ‘พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้’ โดยการสร้างตัวตนให้แบรนด์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย พร้อมขยายช่องทางการขาย ทำให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าคนไทยได้มากขึ้น


‘DEESAWAT’ เรียนรู้แนวคิดคนรุ่นใหม่ กับการสร้างแบรนด์ที่โดดเด่นจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ 

จากโรงงานของครอบครัวที่ทำธุรกิจเน้นผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบรับจ้างผลิต (OEM) มากว่า 30 ปี ปรับตัวสู่แบรนด์ที่มีคอลเลกชั่นเฟอร์นิเจอร์เป็นของตัวเอง 

คุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ ทายาทธุรกิจรุ่นที่ 2 ของบริษัทอุตสาหกรรมดีสวัสดิ์ จำกัด ผู้พร้อมปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันเทรนด์อยู่เสมอ แต่ยังคงเอกลักษณ์ลายเส้น ‘DEESAWAT’ ไว้ได้อย่างครบถ้วนแนวคิดที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ จนถึงทุกวันนี้


ความสำเร็จ แบรนด์ ‘DEESAWAT’ ส่งเฟอร์นิเจอร์ไทย สู่งานดีไซน์ตลาดโลก

คุณจิรชัย ตั้งกิจงามวงศ์ กรรมการผู้จัดการ และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทายาทธุรกิจรุ่น 2 เริ่มต้นจากการผลิตแบบ OEM เป็นหลัก แต่ด้วยความตั้งใจที่จะเป็นโรงงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ครบวงจร บวกกับตลาดเฟอร์นิเจอร์มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง

จึงตัดสินใจสร้าง Brand ภายใต้การทำงานร่วมกันระหว่างดีไซเนอร์ชาวไทย และชาวต่างชาติ มี Inhouse Design และ Brand Positioning ทำให้สามารถสร้างสรรค์งานเฟอร์นิเจอร์ด้วยคอลเลคชั่นที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองผ่านแบรนด์ 'DEESAWAT'

 
‘DEESAWAT’ สามารถคว้ารางวัลด้านนวัตกรรมและการดีไซน์ในเวทีการประกวดระดับโลก

“เราชาเลนจ์ตัวเองในการทำงานตลอดเวลา เช่น ผลิตอย่างไรให้เหลือเศษไม้น้อยที่สุดหรือไม่เหลือทิ้งเลย เพราะไม้สักและไม้ประดู่ที่ ‘DEESAWAT’ ใช้เป็นวัตถุดิบหลักที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นจะทำอย่างไรให้วัตถุดิบที่มีคุณค่านี้ถูกใช้งานอย่างคุ้มค่าที่สุด และลูกค้าได้ใช้เฟอร์นิเจอร์ของเราได้นานและคุ้มค่าที่สุด
เช่นกัน”

กว่า 50 ปีที่ ‘DEESAWAT’ ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ ทำให้ได้เห็นการเปลี่ยนไปของเทรนด์และการตื่นตัวของผู้บริโภค โดยเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในต่างประเทศโดยเฉพาะยุโรปให้ความสำคัญเรื่องนี้มานานแล้ว เราจึงปรับตัวด้านงานออกแบบโดยมุ่งสู่ความยั่งยืน (Sustainability Design) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลกมากขึ้น


ทั้งหมดนี้ คือตัวอย่างของการนำพลังคนรุ่นใหม่ ที่ใช้แนวคิดการทำงานอย่างสร้างสรรค์ มาสานต่อการเป็นผู้บริหารอย่างเต็มตัว สร้างความเชื่อถือให้แบรนด์ ด้วยการต่อยอดสิ่งที่มีอยู่เข้ากับโลกยุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ทั้งยังนำองค์ความรู้ สู่บทพิสูจน์การพัฒนาธุรกิจให้แข็งแกร่งและขยายให้เติบโตต่อไปได้อย่างไม่รู้จบ

ติดตาม ซีรีส์ Family Business ตอนต่อไป ในครั้งหน้า  


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ การส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้แก่ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวรุ่นต่อไป เนื่องจากผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวอาจจะเป็นทายาทธุรกิจที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน…
pin
4001 | 27/04/2024
5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
5300 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
6364 | 30/03/2024
พลังเด็กรุ่นใหม่ ใช้ ‘จุดแข็ง’ ต่อยอดเป็นจุดขาย สานต่อ แบรนด์รุ่นพ่อ-แม่ สู่  ‘ธุรกิจครอบครัว’ โตอย่างยั่งยืน