วางแผนบริหารภาษีธุรกิจครอบครัวอย่างไร? ให้ธุรกิจไปต่อได้

Family Business
27/05/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4039 คน
วางแผนบริหารภาษีธุรกิจครอบครัวอย่างไร? ให้ธุรกิจไปต่อได้
banner
การประกอบธุรกิจครอบครัว (Family Business) จำนวนมากมีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น บ้างก็ราบรื่นในการส่งต่อ บ้างก็เกิดการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวไม่ลงตัวบ้าง จนขั้นบางครอบครัวเกิดศึกชิงมรดกบ้าง จึงเป็นที่มาของการวางแผนก่อนที่จะทำธุรกิจครอบครัว เพื่อให้เกิดผลกำไรที่เติบโตต่อผู้ถือหุ้นและสมาชิกในครอบครัวอย่างยั่งยืน

ซึ่งสิ่งสำคัญในกลยุทธ์การสืบทอดธุรกิจคือ การพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายและภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากภาษีเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายของบริษัท ซึ่งการจ่ายภาษีมาก ส่งผลให้มีผลตอบแทนที่จะไปสู่ผู้ถือหุ้นและสมาชิกในครอบครัวลดลง การวางแผนโครงสร้างธุรกิจครอบครัวและการบริหารภาษีให้เหมาะสม สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้ 
 
โดยในบทความก่อนหน้านี้ https://www.bangkokbanksme.com/en/sme2-understand-the-law-to-inherit-the-family-business ได้ให้ความรู้ในเรื่องกฎหมาย เพื่อสืบทอดธุรกิจครอบครัว (Family Business) จากรุ่นสู่รุ่นอย่างยั่งยืนไปแล้ว ดังนั้นในบทความนี้จะเป็นการบอกเล่าข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษี เพื่อการบริหารธุรกิจครอบครัวให้ราบรื่นต่อไป

เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการเสียภาษี และเพื่อให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากภาษีอากรแต่ละประเภทมีอัตรา และวิธีปฏิบัติในการเสียภาษีต่างกัน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจึงต้องศึกษารายละเอียดของภาษีอากรแต่ละประเภท เพื่อให้การเสียภาษีของเราได้รับประโยชน์สูงสุด



การวางแผนภาษีสำคัญกับธุรกิจครอบครัว (Family Business) อย่างไร?

ภาษีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นหากผู้ประกอบการรายใดอยากประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ต้องให้ความสำคัญพร้อมศึกษาหาความรู้ด้านภาษีให้ได้มากที่สุด เพราะหมายถึงภาระค่าใช้จ่าย ของธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนั้นการวางแผนทางภาษีอากร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการปฏิบัติในทางภาษีอากรให้เป็นไปโดยถูกต้องและครบถ้วน

โดยหลักในการวางแผนภาษี ควรเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจในรายละเอียดว่าบริษัทที่จัดตั้งควรจะต้องจ่ายภาษีประเภทใดบ้าง รวมไปถึงควรศึกษาช่องทางการยื่นภาษี และสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า เพื่อช่วยให้การเสียภาษีอากรเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

4 ประเภทภาษีสำคัญที่เจ้าของธุรกิจควรรู้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

สำหรับภาษีประเภทนี้ จะเรียกเก็บกับคนทำธุรกิจ ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

ดังนั้นหากธุรกิจครอบครัวมีการจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบดังกล่าวจะต้องเสียภาษีประเภทนี้อย่างแน่นอน โดยภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีบริษัทที่คำนวณจากกำไรสุทธิที่บริษัทนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายหากเข้าเกณฑ์กำหนด ซึ่งมีวิธีการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ

จากนั้นนำกำไรสุทธิที่ได้มาเปรียบเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไปหากเข้าเกณฑ์ SME ที่ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท + รายได้ทั้งปีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้ภาษีอัตราพิเศษดังนี้

กำไร 300,000 บาทแรก                 =          ยกเว้นภาษี
กำไร 300,001 - 3 ล้าน                  =          ภาษี 15%
กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป      =          ภาษี 20%

แต่หากไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว ให้จัดอยู่ในอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลทั่วไป อัตราภาษีจะเท่ากับ 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก นิติบุคคลจะต้องเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ ภาษีครึ่งปีแรกโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี และภาษีเต็มปีโดยใช้แบบภ.ง.ด.50 ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

สำหรับภาษีประเภทนี้ หากเจ้าของธุรกิจมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ถือเป็นภาษีบริษัทที่ผู้ประกอบการผู้จ่ายเงินต้องหักไว้ทันทีที่มีการซื้อ หรือจ่ายค่าบริการตามประเภทและอัตราหักที่สรรพากรกำหนด โดยกฎหมายกำหนดให้คนที่จ่ายเงินให้กับกิจการของเรา หรือคู่ค้าของเราที่ซื้อของจากเรามีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ซึ่งเป็นไปตามประเภทของเงินได้ และตามอัตราภาษีที่กำหนด ซึ่งการเสียภาษีในรูปแบบนี้ จะช่วยลดภาระค่าภาษีของผู้มีรายได้ที่ต้องจ่ายเป็นเงินก้อนใหญ่เมื่อถึงเวลายื่นภาษี
 

สำหรับเจ้าของธุรกิจในฐานะผู้จ่ายเงิน หรือบริษัทที่จดทะเบียนบริษัท เป็นนิติบุคคล ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเอาไว้ส่วนหนึ่ง ให้แก่ผู้รับซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แตกต่างกันตามประเภทเงินที่จ่าย ดังนี้


 

บุคคล

นิติบุคคล

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8)

อัตราก้าวหน้า

-

ค่าจ้างทำของที่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา  40 (7) และ (8)

3%

3%

เงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม มาตรา 40 (6)

3%

3%

ค่าเช่าทรัพย์สินตามมาตรา 40 (5) (ก)

5%

5%

ดอกเบี้ยจ่าย

15%

1%

นายหน้า

อัตราก้าวหน้า

3%


3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับภาษีประเภทนี้ เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า ซึ่งปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% ซึ่งเป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจ หรือให้บริการประเภทต่างๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ซึ่งต้องมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม ที่สำคัญภาษีบริษัทรูปแบบนี้ ต้องมีการทำรายงานรายการภาษีซื้อ ภาษีขาย สินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ พร้อมส่งแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ - ภาษีขาย ภ.พ.30 ยื่นรายงานแก่สรรพากรอีกด้วย

ที่สำคัญภาษีบริษัทรูปแบบนี้ ต้องมีการทำรายงานรายการภาษีซื้อ ภาษีขาย สินค้าคงเหลือ และวัตถุดิบ พร้อมส่งแบบ ภ.พ.30 ยื่นรายงานแก่สรรพากร ภายวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าเดือนนั้นๆ จะไม่มีการซื้อขายก็ตาม

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

สำหรับภาษีประเภทนี้ เป็นภาษีบริษัทประเภทที่จัดเก็บเฉพาะบางธุรกิจที่กฎหมายกำหนดไว้พิเศษ เช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์
ทั้งนี้ ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีบริษัทที่ผู้ทำธุรกิจในกลุ่มที่กฎหมายกำหนด ไม่ว่าจะเป็นกิจการที่เสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือรูปแบบนิติบุคคล ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทั้งสิ้น
 


กลยุทธ์ง่ายๆ เตรียมความพร้อม วางแผนภาษีสำหรับธุรกิจครอบครัว (Family Business)

ควรมีระบบบัญชีที่ดี

เริ่มจากการบันทึกรายรับ - รายจ่ายและการจัดเก็บเอกสารค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องตามมาตรฐานกฎหมายภาษี โดยอาจไม่จำเป็นต้องมีระบบโปรแกรมสำเร็จรูปของบัญชีที่แพงๆ ก็ได้ แต่ต้องมีการปิดงบกำไรขาดทุนได้ทุกเดือนเพื่อทราบผลการดำเนินงานจริงที่เกิดขึ้นและกำไรที่ได้รับในแต่ละเดือน เพื่อนำมาคาดการณ์ว่าทั้งปีจะได้กำไรเท่าไหร่และจะได้จัดหาค่าใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิประโยชน์มาหักยอดขายให้มีกำไรเพื่อช่วยเสียภาษีให้น้อยที่สุด

จ้างผู้ดูแลเรื่องภาษีโดยเฉพาะ

ควรจ้างผู้ดูแลหรือที่ปรึกษามืออาชีพในเรื่องภาษีสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ โดยอาจจะเลือกให้นักบัญชี นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากรเป็นผู้ดูแลบัญชีรายเดือนและนำส่งภาษีแทน เพื่อให้มั่นใจว่าภาษีต่างๆของกิจการได้นำส่งสรรพากรอย่างถูกต้องครบถ้วนทันเวลา

หักลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับธุรกิจ

ศึกษาช่องทางการลดหย่อนภาษีที่เหมาะสมกับธุรกิจ เนื่องจากนโยบายรัฐที่เอื้อต่อประโยชน์สำหรับธุรกิจ โดยให้สิทธิในการหักลดหย่อน คอมพิวเตอร์สำนักงาน ยานพาหนะ ค่าวิจัยและพัฒนา ค่าฝึกอบรมพนักงาน ค่าประกันภัยและค่าประกันชีวิตพนักงาน ซึ่งสามารถนำหลักฐานมาแสดงในการลดหย่อนภาษีได้



การประกอบธุรกิจครอบครัว (Family Business) นอกจากจะพิจารณาถึงกลยุทธ์ในการทำธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ การเติบโต ให้แข่งขันได้อย่างยั่งยืนแล้ว ภาษีถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่เพียงแค่ธุรกิจครอบครัว ผู้ประกอบการและ SME ก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะนอกจากจะช่วยบริหารภาษีให้มีประสิทธิภาพ ยังช่วยให้ธุรกิจมีแบบแผนที่ดี มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม และหากเป็นธุรกิจครอบครัว (Family Business) ก็จะช่วยลดปัญหากาส่งต่อให้ทายาทธุรกิจอย่างราบรื่น 


แหล่งอ้างอิง : หนังสือวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน เขียนโดย คุณกิติพงศ์  อุรพีพัฒนพงศ์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กรมสรรพากร


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ การส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้แก่ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวรุ่นต่อไป เนื่องจากผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวอาจจะเป็นทายาทธุรกิจที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน…
pin
21 | 27/04/2024
5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
4970 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4513 | 30/03/2024
วางแผนบริหารภาษีธุรกิจครอบครัวอย่างไร? ให้ธุรกิจไปต่อได้