'กรีนโลจิสติกส์' ช่วยก้าวข้ามการกีดกันทางการค้าได้อย่างไร? ทำไมผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้าม

SME Update
16/06/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4373 คน
'กรีนโลจิสติกส์' ช่วยก้าวข้ามการกีดกันทางการค้าได้อย่างไร? ทำไมผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้าม
banner
ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผ่านมาสรุปไว้ล่าสุดเมื่อปี 2559 พบว่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการใช้พลังงานในภาคธุรกิจสูงสุดมีทั้งหมด 4 สาขา ประกอบด้วย..


จะเห็นได้ว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกิจกรรมทางธุรกิจดังกล่าว ล้วนก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างเลี่ยงไม่ได้ แม้หลายคนอาจมองว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจะมาจากภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้วทุกคนย่อมมีส่วนในการสร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เพราะเมื่อจำนวนประชากรโลกมีเพิ่มขึ้น ก็ย่อมทำให้ความต้องการในการใช้ทรัพยากรเพิ่มตามไปด้วยเช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกัน ทุกธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้นั้นจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งย่อมมีการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง, การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งแนวคิดกรีนโลจิสติกส์ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ดีขึ้น ทั้งยังเป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเรามักพบว่าการบริหารด้านโลจิสติกส์ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงแล้วการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์นั้นสามารถนำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งปัจจุบัน ‘กรีนโลจิสติกส์ (Green Logistic)’ เป็นแนวคิดที่อารยประเทศได้ให้ความสนใจ



กรีนโลจิสติกส์ คืออะไร?

แน่นอนว่า ในงานโลจิสติกส์ จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง โดยยานยนต์ขนส่งและการใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นแนวคิด กรีนโลจิสติกส์ จึงเป็นความพยายามในการเคลื่อนย้าย จัดเก็บหรือขนส่งวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือจากผลิตภัณฑ์โดยมีต้นทุนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด

ขณะเดียวกัน ยังต้องลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ และการปล่อยมลพิษน้อยที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้ได้เริ่มมีบทบาทต่อกระบวนการผลิต การค้าขาย การขนส่ง และการส่งมอบสินค้า โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องมีกลยุทธ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์เละบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมต่อการเคลื่อนย้าย การขนส่ง และการจัดเก็บ รวมทั้งต้องเลือกรูปแบบการเคลื่อนย้ายหรือขนส่งที่เหมาะสม ลดการบรรทุกที่ไม่เต็มพาหนะและการวิ่งเที่ยวเปล่า ตลอดจนจัดสินค้าขึ้นรถและใช้เส้นทางในการขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยลดต้นทุนรวมของการขนส่ง

อย่างไรก็ตาม แม้แนวคิดนี้จะเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่ในประเทศไทยเองยังให้ความสำคัญน้อยมากหากเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งแนวทางสำคัญในการนำแนวคิดกรีนโลจิสติกส์มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ คือต้องผนึกกำลังกันทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาครัฐอาจต้องมีบทบาทสำคัญในการออกมาตรการรองรับพร้อมสนับสนุนความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ภาคเอกชนเองก็ต้องสร้างจิตสำนึก เพื่อให้เกิดการดำเนินงานภายใต้แนวคิดกรีนโลจิสติกส์ที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง



จากเทรนด์ CSR มาสู่แนวคิดกรีนโลจิสติกส์

ด้วยภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ภาคธุรกิจจึงได้ตระหนักถึงการดูแลและรักษาสภาพแวดล้อม พร้อมกับหาวิธีบรรเทาสิ่งที่เป็นปัญหาวิกฤตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งแนวทำให้คิดนี้ปรากฏออกมาในรูปของการรณรงค์เพื่อสร้างสรรค์สังคมในลักษณะต่างๆ เช่น การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และนำมาสู่แนวคิดการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน(Sustainability)

ทั้งนี้ จากอานิสงส์การแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ จึงได้หันมาให้ความสำคัญเรื่องกรีนโลจิสติกส์ด้วย ผ่านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในมิติที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมการดำเนินงาน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำซึ่งผู้เชี่ยวชาญในวงการโลจิสติกส์ต่างให้ความเห็นว่า ในอนาคตกระแสในเรื่องนี้จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบกับทุกภาคส่วนในระบบห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง



ปัจจัยที่ภาคธุรกิจให้ความสำคัญกับกรีนโลจิสติกส์

1. รัฐบาลได้มีการทำข้อตกลงทางการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศในหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งผลของการลงนามนั้นได้ก่อให้เกิดการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น และทำให้บริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับกติกาการค้าใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ISO 26000 ซึ่งเป็นมาตรฐานว่าด้วยการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งได้มีการเริ่มต้นใช้ในปี 2553 เป็นต้นมา

2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ในเรื่องของข้อจำกัดขอ งน้ำหนักสินค้าที่สามารถบรรทุกหรือบรรจุในตู้คอนเทนเนอร์ รวมทั้งให้ความสำคัญต่ออุบัติภัยที่เกิดขึ้นที่มีผลกระทบต่อสังคมและการทำงานของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบโลจิสติกส์

3. จากผลการประชุมสุดยอดระดับโลกด้านสิ่งแวดล้อม ที่เรียกร้องให้ธุรกิจทั่วโลกแสดงความเป็นพลเมืองที่ดีในการดำเนินธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน ปฏิกิริยาภาวะเรือนกระจก รวมทั้งมลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

4. องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนาของกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งยอมรับเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันและพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับบริษัทข้ามชาติ โดยเสนอให้กลุ่มประเทศสมาชิกต้องมีการทำ CSR และติดต่อค้าขายเฉพาะกับผู้ที่ทำ CSR เท่านั้น



ผู้บริโภคมีส่วนสำคัญและร่วมผลักดันแนวคิดนี้

เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเองที่มีจิตสำนึกในการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงถือว่ามีส่วนในการสร้างแรงผลักดันให้กับภาคธุรกิจ ส่งผลให้แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นแรงผลักดันให้กับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งแนวคิดเรื่องความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม ได้ถูกกล่าวถึงและนำมาใช้มากขึ้นในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโลจิสติกส์

โดยปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้มีข้อจำกัดทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับกรีนโลจิสติกส์ ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกพยายามที่จะปรับตัว เพื่อลดผลกระทบต้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินงาน เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดทางการค้าที่ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม แต่สามารถตอบสนองเทรนด์การใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เกิดความตระหนักและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน



กรณีศึกษาเกี่ยวกับกรีนโลจิสติกส์

ในประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกรีนโลจิสติกส์อย่างจริงจังเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคครัวเรือน และภาคขนส่ง มีส่วนร่วมในการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเฉพาะการดำเนินการในภาคขนส่งที่มีองค์กรด้านโลจิสติกส์ของภาครัฐ และบริษัทภาคเอกชนหลายพันรายผนึกกำลังร่วมกันพัฒนา

เช่น หลายบริษัทได้นำหลักเกณฑ์การขับรถอย่างถูกต้องปลอดภัย และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมมาใช้ฝึกอบรมคนขับรถขนส่งให้ปฏิบัติตาม พบว่าบริษัทสามารถประหยัดน้ำมันได้ 16% ขณะที่การขับรถตามวิธีที่ถูกต้องช่วยลดอุบัติเหตุได้ 27% ช่วยลดต้นทุนภาพรวมในการทำ Ecodriving ได้ 10-20% และสามารถเจรจากับบริษัทประกันภัยขอลดอัตราการจ่ายเบี้ยประกันได้ในราคาถูกลง เป็นต้น

การมุ่งสู่แนวทางกรีนโลจิสติกส์ นับเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องยกระดับเพื่อพัฒนาความสามารถในการบริหารกิจกรรมหรือการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่จะมีความเข้มข้นขึ้นด้วยมาตรการการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ ซึ่งผู้ประกอบการควรบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สอดคล้องกับกติกาใหม่ที่ล้อไปกับกระแสสิ่งแวดล้อมของโลก ทั้งยัง สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย

แหล่งอ้างอิง :
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น : โดย อ.พิชัย เหลี่ยวเรืองรัตน์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
https://www.thaiscience.info/Journals/Article/KMIT/10970423.pdf
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกำแพงเพชร
https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/28932018-05-15.pdf
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย
http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=7&ID=210

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1297 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1662 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1919 | 25/01/2024
'กรีนโลจิสติกส์' ช่วยก้าวข้ามการกีดกันทางการค้าได้อย่างไร? ทำไมผู้ประกอบการจึงไม่ควรมองข้าม