เทคนิคเลือก “พนักงานที่ใช่” โดนใจผู้บริหารและผู้ร่วมงานในองค์กร

SME Update
10/09/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 2885 คน
เทคนิคเลือก “พนักงานที่ใช่” โดนใจผู้บริหารและผู้ร่วมงานในองค์กร
banner
ผู้บริหารที่ก้าวเข้ามาสู่โลกของการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ ล้วนมีองค์ประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ นั่นคือ “พนักงานในองค์กร” ที่เป็นเหมือนฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และเป็นไปตามเป้าหมายที่คุณวางไว้

อย่างไรก็ตาม กระบวนการสรรหาพนักงานให้มาทำหน้าที่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ถูกที่ ถูกเวลา และอยู่ร่วมงานกันได้นาน ๆ  คือโจทย์ยากที่ท้าทายบรรดาผู้ประกอบการอย่างยิ่ง เพราะลำพังแค่การอ่านจากใบสมัคร หรือถามคำถามเบื้องต้นที่เตรียมไว้ ไม่ได้การันตีว่าผู้สมัครงานคนนั้น มีความสามารถเพียงพอและตอบโจทย์องค์กรคุณได้หรือไม่ ทำให้ไม่รู้ว่าควรตัดสินใจเลือกใครดี  เพราะหากเลือกคนผิด อาจจะมีผลให้องค์กรเสียทรัพยากร และเสียเวลา และเสี่ยงกับปัญหาพนักงานลาออกให้ต้องปวดหัวไม่รู้จบ 



แต่ในทางกลับกัน หากคุณได้คัดเลือกคนที่ใช่ มาร่วมงานในองค์กรของคุณ ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่ พวกเขาจะยิ่งเรียนรู้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์จนเชี่ยวชาญในงานที่ทำ โดยเฉพาะหากธุรกิจคุณขายสินค้าและบริการ พนักงานที่รู้จักสินค้าของคุณเป็นอย่างดี ยิ่งทำให้พวกเขาส่งต่อข้อมูลไปยังลูกค้าได้แบบมืออาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สินค้าของคุณได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากลูกค้าได้ดีกว่า การสอนงานพนักงานใหม่ๆ ที่เปลี่ยนหน้าเข้ามาตลอดเวลา

ดังนั้น Bangkok Bank SME จึงเตรียม 4 คำถามสัมภาษณ์งาน เพื่อให้องค์กรของคุณ ได้พนักงานที่ตรงใจ มีคุณสมบัติที่ใช่ และอยู่ร่วมงานกันได้แบบยาว ๆ มาฝากกัน 



1. คำถามสัมภาษณ์งานเชิงจิตวิทยา

ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เป็นด่านแรกของการทำความรู้จักผู้สมัครงาน ลองเตรียมคำถามเชิงจิตวิทยาเพื่อเป็นสิ่งช่วยชี้วัดแนวความคิด และทัศนคติ ของผู้สมัครว่าเหมาะสมกับตำแหน่งที่คุณต้องการหรือไม่ เช่น คุณอาจจะถามผู้สมัครงานเกี่ยวกับกรณีการเกิดปัญหาในการทำงานที่ผ่านมา และการแก้ปัญหาครั้งนั้น ใช้วิธีแบบใด เพื่อให้ได้ทราบถึงไหวพริบในการตอบสนอง และแนวคิดในการรับมือเมื่อต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เป็นต้น 
 
2. ถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากคำตอบของผู้สมัคร

เนื่องจากผู้สมัครงาน มีเป้าหมายในการได้งานทำ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้มีการตอบคำถามที่เกินจากความเป็นจริง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับผลงานที่ผ่านมา หรือประสบการณ์ที่ได้รับ ซึ่งวิธีการที่จะทำให้คุณได้รู้ว่าเรื่องนั้นเป็นจริงหรือไม่ อาจจะเป็นการเพิ่ม Detail ในรายละเอียดของเรื่องนั้น ๆ โดยถามคำถามที่ลึกลงไปเช่นผู้ดูแลโครงการ ตำแหน่งผู้บริหารที่มอบหมายงาน ลักษณะงานที่ทำ ช่วงเวลาที่จัดทำ หรือตัวเลขยอดขายจากปีที่ผ่านมา ซึ่งคุณอาจจะหาตัวเลขหรือวันที่ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

จากนั้น ให้คุณโน้ตรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ เมื่อมีโอกาสในการสัมภาษณ์พวกเขาในรอบที่ 2  ให้ลองเช็คข้อมูลที่ผู้สมัครให้ไว้ก่อนหน้านี้ หากเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ผู้สมัครจะสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ตรงกับครั้งแรกที่คุณได้ถามไว้ 



3. ถามถึงแผนการตั้งเป้าหมายในระยะยาว 
หากคุณอยากรู้ว่า พนักงานที่จะมาร่วมงานมีความคิดในการมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันกับคุณในระยะยาวหรือไม่ ให้ลองถามคำถามที่เป็นเรื่องของการมองอนาคต เช่น แผนที่พวกเขาวางไว้ในอีก 10 ปีข้างหน้า อยากทำอะไร เพื่อให้ทราบว่าจริง ๆ แล้ว พวกเขามีบางอย่างที่อยากจะทำเพิ่มเติม ในระหว่างทางที่เขากลายเป็นหนึ่งในทีมงานของคุณแล้ว อีกหรือไม่

ซึ่งหากเขาตอบว่ามีแผนอยากเรียนต่อ หรือมีสิ่งที่อยากทำในอีก 1 หรือ 2 ปีข้างหน้า คุณอาจจะต้องตัดสินใจเลือกคนที่พร้อมกว่า สำหรับเคียงข้างไปกับองค์กรคุณแบบระยะยาวได้มากกว่า เป็นต้น

4. พูดคุยเรื่องเงินเดือนที่ต้องการ

ผู้บริหารหลายท่าน อาจจะคิดว่าเงินเดือนที่ตกลงกันตอนสัมภาษณ์งาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพูดคุย แต่การถามถึงประเด็นสำคัญในช่วงของการสัมภาษณ์งาน จะทำให้คุณแน่ใจได้ว่า คุณและผู้สมัครงาน มีสิ่งที่คาดหวังเกี่ยวกับเงินเดือนในตำแหน่งงานที่เหมาะสมในทิศทางเดียวกันหรือไม่
เช่นลองถามพวกเขาว่า “คาดหวังเงินเดือนที่เท่าไหร่” หากผู้สมัครมีความคาดหวังมากกว่าสิ่งที่คุณเสนอให้ เกินจากโควตาที่บริษัทกำหนดไว้จนเกินไป คุณอาจจะมองหาตัวเลือกใหม่ที่ลงตัวกว่า ในผู้สมัครที่มีศักยภาพใกล้เคียงกัน ขณะเดียวกันผู้สมัครงานเอง อาจจะได้มองหาโอกาสจากบริษัทอื่น

การถามคำถามเบื้องต้นเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ประกอบการ, เจ้าของบริษัท หรือผู้บริหาร เข้าใจถึงสิ่งที่ผู้สมัครคาดหวังเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่สมัครในเบื้องต้น ซึ่งในความเป็นจริง การเลือกพนักงานที่ใช่ อาจจะต้องใช้เวลาเรียนรู้นิสัยใจคอ และวัดพฤติกรรมกันจริง ๆ เมื่อพวกเขาก้าวเข้ามาร่วมงานกับคุณเรียบร้อยแล้ว เพราะการอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันเป็นทีม ต้องมีหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องมากมาย 



แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากคนที่คุณเลือกรับเข้างาน สามารถตอบโจทย์ความต้องการ และมี Passion ในการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้อย่างแท้จริง สิ่งที่คุณต้องไม่ลืมโดยเด็ดขาด คือรักษาพนักงานที่ดีเหล่านี้เอาไว้ ในฐานะนายจ้างที่ “โดนใจ” ลูกน้องเช่นเดียวกัน เพื่อให้ธุรกิจของคุณราบรื่น และพร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1284 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1655 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1915 | 25/01/2024
เทคนิคเลือก “พนักงานที่ใช่” โดนใจผู้บริหารและผู้ร่วมงานในองค์กร