AEC Connect | ถอดบทเรียน ฟาสต์ฟู้ดอเมริกันตีตลาดอินโดฯ แตกได้อย่างไร

Library > AEC/CLMV
14/10/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 1238 คน
AEC Connect | ถอดบทเรียน ฟาสต์ฟู้ดอเมริกันตีตลาดอินโดฯ แตกได้อย่างไร
banner
‘ธุรกิจเครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอเมริกัน’ ได้ขยายออกไปไกลเกินกว่าแค่พรมแดนสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับความนิยมในระดับสากล แต่ธุรกิจเหล่านี้ก็กลายเป็นที่รู้จักมักคุ้นตามท้องถนน ห้างสรรพสินค้า และสถานีขนส่งทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

‘อินโดนีเซีย’ นับเป็นหนึ่งจุดหมายปลายทางของการขยายกิจการ โดยมี McDonald’s และ KFC ที่เป็นธุรกิจเครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก 2 แห่ง กระจายตัวเพิ่มขึ้นทั่วทั้งประเทศ

จากข้อมูล ณ เดือนกันยายน ปี 2563 พบว่า KFC มีสาขาถึง 738 แห่ง ทั่วอินโดนีเซีย โดยมี 443 สาขาในชวา 136 สาขาในสุมาตรา และสาขาอื่นๆ ในประเทศ ซึ่งการเติบโตของธุรกิจดังกล่าวเป็นที่น่าประทับใจ เพราะเมื่อ 5 ปีก่อนหน้า KFC อินโดนีเซียมีเพียง 493 สาขาเท่านั้น ขณะที่ในปี 2563 McDonald’s มีสาขาอยู่ 227 สาขาทั่วประเทศ

นอกจากนี้ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของอินโดนีเซีย โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางและอัตราการเติบโตเมืองที่สูงขึ้นได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคอาหาร เช่น ความต้องการสินค้าจากข้าวสาลีอย่าง ซีเรียล เนื้อแดง และฟาสต์ฟู้ดที่เพิ่มขึ้น และชาวอินโดนีเซียหลายคนก็เลือกทานอาหารและเครื่องดื่มปรุงสำเร็จมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อบริการเดลิเวอรี่ออนไลน์ได้รับความนิยม

ฟาสต์ฟู้ดอเมริกันตีตลาดอินโดฯ อย่างไร?

ต้องกล่าวว่าธุรกิจเครือร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอเมริกันประสบความสำเร็จอย่างมากในการนำเสนอสินค้าให้เหมาะกับผู้บริโภคในแต่ละประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตระหนักถึงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน เมื่อต้องออกไปดำเนินกิจการนอกสหรัฐฯ หรือนอกตลาดอเมริกาเหนือ 

ซึ่งในอินโดนีเซีย ทั้ง KFC และ McDonald's ได้สร้างเมนูที่สะท้อนความสนใจและความชอบของคนในท้องถิ่นที่ต้องการทานฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกัน โดยมีการนำเสนออาหารท้องถิ่นและอาหารดั้งเดิมจำนวนมาก

เมนูแบบผสมผสานหรือเมนูที่ปรับเพื่อคนท้องถิ่นเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุผลประโยชน์ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กัน เช่น McDonald's ในอินโดนีเซีย จะมีเมนูอย่าง 'Bubur Ayam McD' ซึ่งเป็นข้าวต้มไก่ และ 'Nasi Teriyaki McD' ที่เป็นข้าวและไก่ย่างกับเครื่องปรุงรสญี่ปุ่น ขณะที่ KFC จะมีข้าวไก่ทอดกรอบหรือปีกไก่เผ็ดซึ่งปรุงด้วยเครื่องเทศอินโดนีเซีย หรืออย่างในเดือนรอมฎอนที่ชาวมุสลิมจะถือศีลอดตอนกลางวัน KFC ก็นำเสนอ ‘Paket Dug Dug’ ซึ่งพ้องเสียงกับชื่อกลองยักษ์ที่ใช้เรียกคนมาสวดมนต์หรือใช้ตีเพื่อส่งสัญญาณว่าสิ้นสุดการถือศีลอดตอนพระอาทิตย์ตกแล้ว

นอกจากนี้ KFC ยังใช้รูปแบบธุรกิจร้านอาหารเคลื่อนที่ที่จะติดตั้งบนรถบรรทุก ซึ่งจะช่วยให้ผู้ถือแฟรนไชส์สามารถไปให้บริการในพื้นที่ที่อุปสงค์อาจไม่เพียงพอต่อการตั้งร้านค้าถาวรได้ และร้านอาหารเคลื่อนที่แบบนี้จะช่วยให้ KFC สามารถเข้าถึงชุมชนชนบทและทำให้เครือธุรกิจน่าสนใจได้มากขึ้นอีกด้วย

ผู้เรียบเรียง: ณภัสสร มีไผ่แก้ว

ที่มา:
https://www.aseanbriefing.com/news/how-american-fast-food-chains-have-succeeded-in-indonesia/ 

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘มาเลเซีย’ กวักมือเรียกต่างชาติ ลงทุน ‘อุตสาหกรรมชิป’

‘มาเลเซีย’ กวักมือเรียกต่างชาติ ลงทุน ‘อุตสาหกรรมชิป’

มาเลเซียพยายามจะดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศมากขึ้นเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์หรือชิป เพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะชิปที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้ามาเลเซียมีสัดส่วนในตลาดโลกสำหรับการบรรจุ…
pin
901 | 09/02/2024
AEC Connect | วีซ่าบ้านหลังที่ 2 ของอินโดนีเซีย มีเกณฑ์อะไรบ้าง?

AEC Connect | วีซ่าบ้านหลังที่ 2 ของอินโดนีเซีย มีเกณฑ์อะไรบ้าง?

อินโดนีเซียประกาศแผนออกโครงการ “วีซ่าบ้านหลังที่ 2 (Second Home Visa)” นับเป็นครั้งแรกสำหรับวีซ่าประเภทนี้ ซึ่งจะอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถพำนักอยู่ในประเทศได้นานถึง…
pin
1341 | 11/11/2022
AEC Connect | ‘เวียดนาม’ - ‘อินเดีย’ คู่แข่ง หรือ พันธมิตร?

AEC Connect | ‘เวียดนาม’ - ‘อินเดีย’ คู่แข่ง หรือ พันธมิตร?

บรรดาบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ เช่น Apple, Google และ Samsung กำลังขยายการดำเนินงานต่าง ๆ นอกประเทศจีน โดยอินเดียและเวียดนามกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สดใสด้วยการพึ่งพาโรงงานในจีนอย่างมากทำให้…
pin
1337 | 28/10/2022
AEC Connect | ถอดบทเรียน ฟาสต์ฟู้ดอเมริกันตีตลาดอินโดฯ แตกได้อย่างไร