‘แบงก์ชาติมาเลเซีย’ รับมือ ‘ริงกิตอ่อน’

AEC Connect
15/03/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 264 คน
‘แบงก์ชาติมาเลเซีย’ รับมือ ‘ริงกิตอ่อน’
banner

ธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) กระตุ้นให้นักลงทุน รัฐวิสาหกิจ และบริษัทเอกชน ช่วยเพิ่มมูลค่าสกุลเงินริงกิตที่อ่อนค่าลง หลังร่วงลงสู่จุดต่ำสุดในรอบ 26 ปีเมื่อเทียบต่อดอลลาร์สหรัฐ


ข้อมูลจาก Bloomberg ชี้ว่า สกุลเงินริงกิตมาเลเซียปิดท้ายปี 2566 ด้วยการอ่อนค่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย ส่งสัญญาณเตือนเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหลังแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินในเอเชียในช่วงปลายทศวรรษ 1990 โดยราคาซื้อขายอยู่ที่ 4.7965 ริงกิตต่อดอลลาร์สหรัฐ


ธนาคารกลาง BNM กล่าวว่า ได้กระชับความร่วมมือกับบรรดาบริษัทและธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุนที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลมากขึ้น รวมถึงบริษัทเอกชน และนักลงทุน เพื่อส่งเสริมให้มีเงินไหลเข้าตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง


นอกจากนี้ นาย Abdul Rasheed Ghaffour ผู้ว่าการธนาคารกลางยังเสริมว่า เงินริงกิตมีมูลค่าต่ำเกินไป โดยเมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานและแนวโน้มทางเศรษฐกิจเชิงบวกของมาเลเซีย ริงกิตควรถูกซื้อขายในมูลค่าที่สูงขึ้นกว่านี้


ธนาคารกลางและนักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า ความอ่อนแอของเงินริงกิตส่วนใหญ่เกิดจากการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐที่ไปกระตุ้นให้มีการไหลเข้าเงินดอลลาร์สหรัฐ ประกอบกับเศรษฐกิจตกต่ำอย่างกว้างขวางเนื่องจากได้รับผลกระทบมาจากเศรษฐกิจจีน


นอกจากนี้ ริงกิตยังอ่อนแอเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งค่าเงินมาเลเซียปรับตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินบาทของไทย เนื่องจากบาทได้รับผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่ซบเซาลงเหลือ 1.9% ในปี 2566 ที่ผ่านมา


ขณะที่นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซีย ยอมรับว่าสถานการณ์ของริงกิตน่าเป็นกังวล แต่เสริมว่าประเทศมีความพร้อมในการรับมือกับความผันผวนของสกุลเงินได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับวิกฤตในช่วงปลายทศวรรษ 1990

อย่างไรก็ดี รัฐบาลมาเลเซียคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ 4-5% ในปี 2567 นี้ โดยเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ 3.7% นอกจากนี้ โดยปกติเงินริงกิตที่อ่อนค่ามักถูกมองว่าเป็นผลบวกต่อการส่งออกของมาเลเซีย ซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อ GDP ของประเทศที่มีการพึ่งพาการค้าสูง แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นสาเหตุให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจต่างๆ จะผลักต้นทุนนําเข้าวัตถุดิบที่สูงขึ้นไปยังผู้บริโภค


ที่มา: Malaysian central bank calls for higher forex inflows to boost ‘undervalued’ ringgit, Joseph Sipalan, South China Morning Post

เรียบเรียง: ณภัสสร มีไผ่แก้ว


https://www.scmp.com/week-asia/economics/article/3253343/malaysian-central-bank-calls-higher-forex-inflows-boost-undervalued-ringgit



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘มาเลเซีย’ เล็งขยายท่าเรือเทียบชั้นสิงคโปร์

‘มาเลเซีย’ เล็งขยายท่าเรือเทียบชั้นสิงคโปร์

ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของมาเลเซียวางแผนขยายขีดความสามารถในการรองรับสินค้าของท่าเรือเพิ่มเป็น 2 เท่าในทศวรรษข้างหน้าที่จะถึงนี้ โดยตั้งเป้าที่จะไล่ตามศูนย์กลางภูมิภาคอย่างสิงคโปร์…
pin
108 | 26/04/2024
ธุรกิจไหนดึงดูด FDI สู่ ‘เวียดนาม’

ธุรกิจไหนดึงดูด FDI สู่ ‘เวียดนาม’

สำนักงานการค้าต่างประเทศของเวียดนามระบุว่ามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment: FDI) เข้ามาในเวียดนามเพิ่มขึ้นในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์…
pin
309 | 12/04/2024
ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ก้าวทัน ‘ภาษีเวียดนาม’ 2567

ในปี 2567 มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องภาษีหลายประเภทในเวียดนาม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและปรับตัวให้สอดคล้องกับภาษีระหว่างประเทศ โดยภาษีหลัก ๆ ที่มีการปรับเปลี่ยนที่บริษัทต่างชาติควรรู้มีดังนี้…
pin
231 | 29/03/2024
‘แบงก์ชาติมาเลเซีย’ รับมือ ‘ริงกิตอ่อน’