แนวคิดปรับธุรกิจ สู้เศรษฐกิจช่วง Lockdown

SME Update
25/04/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2694 คน
แนวคิดปรับธุรกิจ สู้เศรษฐกิจช่วง Lockdown
banner

จะทำอย่างไรดียอดขายอาหารลดลงไปมาก ตั้งแต่มีการประกาศปิดเมืองเพราะโรคโควิด-19 ทำรายได้หายไปวันละ 4-5 พันบาท การขายอาหารการกินในช่วงนี้ช่างยากเย็น

นี่คือหนึ่งเสียงของผู้ประกอบการพร่ำบ่นปนกังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่พบเจอบ่อยในช่วงนี้ แม้ว่าจะนำร้านเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์ม Food Delivery ทุกค่ายแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถจะสร้างยอดขายให้ไปต่อได้ เพราะอาหารบางอย่างก็ไม่ได้ทำกำไรมากมาย แถมมี Gross Profit (GP) หรือส่วนแบ่งส่วนรายได้จากยอดขายให้แก่แพลตฟอร์ม และในส่วนที่ไม่มีส่วนแบ่งรายได้ก็ต้องไปแข่งขันกับร้านค้าอื่นๆ ในแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วงนี้หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นในช่วงนี้

แล้วจะทำอย่างไรดีถึงจะดำเนินธุรกิจไปต่อได้โดยไม่พึ่งแพลตฟอร์มดังที่ให้บริการ Food Delivery และไม่สะดุดจนต้องปิดกิจการ ในครั้งนี้เรามีแนวคิดมาช่วยกระตุ้นให้เกิดพลังคิดบวกเพื่อพลิกวิกฤติหาโอกาสให้ชีวิตจากรูปแบบการ Startup ปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจในช่วงโควิด-19 ทำเศรษฐกิจซบ ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


1.ปรับรูปแบบร้านออฟไลน์สู่ออนไลน์พร้อมเปิดบริการจัดส่งในพื้นที่

หนึ่งในคำแนะนำที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรปรับตัว คือการรุกขึ้นมาลองทำตลาดออนไลน์เอง ที่อาจพลิกวิกฤติเป็นโอกาสให้ไปต่อได้ ดังเช่นตัวอย่างของ  คุณน็อต-ชนะชัย พฤกษชัต ผู้ริเริ่มขายข้าวแกงออนไลน์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียอย่างเฟสบุ๊ค โดยเปิดเพจขายอาหารชื่อ เนตร ข้าวแกงไทย เพียงสัปดาห์ละ 3 วัน จันทร์ พุธ ศุกร์ ร่วมกับคนในครอบครัว

โดยชูจุดขายคือความอร่อยผ่านฝีมือแม่ยาย ด้วยรายการอาหารไม่ซ้ำอย่างกว่า 15 ชนิด และแตกไลน์หาคนขับรถวิ่งส่งให้ลูกค้าถึงบ้านในระแวกใกล้เคียงเอง โดยไม่ใช้ Food Delivery เจ้าดัง ด้วยสินค้าที่ขายไม่ได้ทำกำไรมาก จึงเลือกทำเองแล้วจ้างคนวิ่งส่งกลุ่มลูกค้าภายในระแวกใกล้ๆ แทน ปรากฏว่ามีออร์เดอร์เข้ามาไม่ต่ำกว่าวันละ 40 ออร์เดอร์ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเปิดบริการ 2go Food ช่วยผู้ประกอบการให้ได้ใช้พนักงานเดลิเวอรีในราคาถูกขึ้นมาในช่วงเวลานี้ด้วย 

2.ขายออนไลน์ผ่านกลุ่มเครือข่ายต่างๆ  

การเข้ากลุ่มหรือรวมกลุ่มชุมชนแบบเฉพาะกิจไปจนถึงกลุ่มที่ตั้งมาอยู่แล้วในช่วงนี้ เป็นหนทางโปรโมทสินค้าร้านค้าได้อย่างเห็นผลชัดเจน ยิ่งถ้ากลุ่มนั้นมีความสนิทโดยสถาบัน องค์กร หน่วยงานด้วยแล้ว จะกลายเป็นช่องทางขับเคลื่อนธุรกิจให้เกิดขึ้นได้ บนพื้นฐานของความเชื่อมั่น 

ดังเช่นที่มีกลุ่มนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ลุกขึ้นมาเปิดเพจสร้างพื้นที่ส่วนรวมแบบเพื่อนช่วยเพื่อนไว้เป็นช่องทางการทำตลาดผ่านเครือข่ายศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคนทั่วไป จนได้รับความนิยมจากผู้คนมากมาย และซื้อขายได้จริงโดยไม่ต้องหวั่นเรื่องกลโกง

โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดกลุ่มชื่อ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้านขึ้นมาเมื่อวันที่ 7 เมษายน ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มกว่า  68,000  คน, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ เปิดกลุ่มชื่อ จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส ขึ้นมาช่วยเป็นแหล่งกระจายในการซื้อขายสินค้า, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดกลุ่ม  ตลาดนัด มศว, มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดกลุ่ม .เกษตร มาร์เก็ต และล่าสุดมี รามคำแหงฝากร้าน เพจของมหาวิทยาลัยรามคำแหงที่กำกับดูแลโดยผู้บริหารระดับคณะบดี


การดึงพลังกลุ่มบนโซเชียลมีเดียแพล็ตฟอร์ม Facebook มาใช้ช่วยทำการตลาด ขับเคลื่อนธุรกิจในช่วงนี้เป็นสิ่งที่คาดหวังผลลัพธ์ได้ดี และรวดเร็วกว่าการขับเคลื่อนเพจ ดังนั้นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจที่สามารถเสนอขายได้ในระบบออนไลน์ จงนำสินค้าและบริการที่มีอยู่ไปลงตามกรุ๊ป ตามกลุ่มต่าง ที่ตัวเองเป็นสมาชิก ก็จะช่วยขับเคลื่อนธุรกิจให้รอดผ่านวิกฤตินี้ไปได้

 

3.ปรับรูปแบบภาชนะบรรจุ เพิ่มขนาดเปลี่ยนการขาย

เครื่องดื่มชานมไข่มุกและกาแฟปรับตัวช่วงกักตัว ด้วยการขายยกถังแบบบิ๊กไซส์ ปรับภาชนะบรรจุเป็นแบบหิ้วพกพาได้ในความจุที่มากกว่าเดิม พร้อมยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้น เพื่อเอาใจคอชา-กาแฟตอบโจทย์ช่วงกักตัวอยู่กับครอบครัว ถือว่าเป็นการปรับตัวอันน่าชื่นชมของเหล่าร้านชานมไข่มุก-ร้านกาแฟ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไป ซึ่งพบว่ากระตุ้นยอดขายได้โดยไม่ต้องปิดร้าน ยกตัวอย่างร้าน Bo.Baa.Bar ที่จัดชานมเป็นชุด Party Box มีขนาด 3 และ ลิตร เสิร์ฟพร้อมไข่มุก แก้ว หลอด โดยที่ผู้ซื้อต้องหาน้ำแข็งใส่ทานเอง เป็นต้น

 

4.การปรับตัวของธุรกิจสายนั่งทานยาว

จากมาตรการห้ามนั่งทานที่ร้านและให้ผู้คนกักตัวป้องกันโรคติดต่อ ทำให้ร้านนั่งทานหลายแห่งต้องปิดตัวลงในช่วง Lockdown  และกักตัว อย่างร้านไอศกรีมเจ้าดัง ที่ต้องออกโปรโมชั่นไอศกรีมข้าวเหนียมมะม่วงมาให้คนไทยได้ลิ้มรสตามฤดูกาลก็ต้องปิดตัวลงไปในช่วงนี้ รวมไปถึงร้านนั่งทานแบบบุฟเฟต์ต่างๆ


แต่กระนั้นก็ยังมีธุรกิจนั่งทานยาวพยายามปรับเปลี่ยน ปรับตัวไปต่อเพื่อความอยู่รอด แม้แต่ร้านสุกี้เชนดัง MK ยังมีการปรับตัวปั้นธุรกิจแนวใหม่สู้ศึกโควิด-19 ในครั้งนี้ ด้วยการเปิดธุรกิจให้บริการส่งผักสดตรงถึงบ้านภายใต้ชื่อ "MK FRESH MART" ส่งผักสดจากโครงการหลวง หลากชนิด ผ่านช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ ด้วยราคาเริ่มต้น 35 บาทขึ้นมาอำนวยความสะดวกช่วงกักตัวและทำงานอยู่บ้าน ตลอดเดือนเมษายนนี้


ด้านร้านชาบู Penguin Eat Shabu ที่ตลาดซบเพราะอาหารจานหลักต้องอาศัยการนั่ง ปิ้ง ย่างทานที่ร้าน ได้ออกโปรโมชั่นเด็ดโดนใจคนไทยช่วงกักตัว ซื้อชุดทานชาบูแล้วแถมหม้อต้มแบบทานคนเดียวและแบบทานหลายคน ไปจนถึงแถมแพ็คเกจ Tinder Plus เป็นโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายชนิดที่ยอมเข้าเนื้อ จนกลายเป็นขายดีระบบล่ม สินค้าช่วงโปรโมชั่นหมดไปชั่วพริบตา เพราะออกโปรโมชั่นมาได้ตอบโจทย์คนที่ตกอยู่ในสถานการณ์กักตัวอยู่บ้าน ที่ชอบทานชาบูแต่ไม่มีอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังจับโจทย์เรื่องความเหงาที่ไม่ได้ออกไปพบปะผู้คนในช่วงกักตัวได้ด้วย



แม้ว่าแนวคิดเหล่านี้จะเป็นเหมือนสีสันของร้านค้าที่ปรับตัวสู้ช่วง Lockdown เมืองและผู้คนกักตัว ไม่ออกไปไหนในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก็ตาม แต่ถ้ามองให้ดีจะพบว่าชีวิตของผู้คนทั่วโลกต่อจากนี้จะไม่กลับสู่ปกติสุขเหมือนเดิม เพราะต่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศได้


ตราบใดที่ยังมีการแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลกและเชื้อโรคนี้ยังไม่หายไป การใช้ชีวิตหลังจากปลด Lockdown เมืองของผู้คนก็จะไม่มีวันเหมือนเดิม ดังนั้นการตื่นตัวปรับเปลี่ยนกลยุทธ์สู้ศึกโควิด-19 ในครั้งจึงไม่ใช่แค่เพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่อาจต้องคิดทำกันยาวๆ ว่าจะเดินหน้าธุรกิจกันอย่างไร หากชีวิตปกติจะไม่มีวันกลับมา.

 

แหล่งอ้างอิง :

https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_146102

https://positioningmag.com/1273245

https://www.marketingoops.com/digital-transformation/mk-fresh-mart/  


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1059 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1403 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1678 | 25/01/2024
แนวคิดปรับธุรกิจ สู้เศรษฐกิจช่วง Lockdown