กรณีศึกษา PT-Shell ดันธุรกิจ Non-oil ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

SME Update
27/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3586 คน
กรณีศึกษา PT-Shell ดันธุรกิจ Non-oil ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
banner

ภาพรวมตลาดค้าปลีกน้ำมันในประเทศในปี 2563 มีแนวโน้มลดลงไม่ต่ำกว่า 5% ปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง ขณะที่ราคาขายปลีกดิ่งลงเป็นประวัติการณ์และค่าการตลาดที่ต่ำกว่าปกติ เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ซ้ำเติมเข้ามาจากเดิมที่ตลาดค้าปลีกน้ำมันมีแรงกดดันจากอัตรากำไรที่ต่ำอยู่แล้วเฉลี่ย 4% รวมถึงการแข่งขันที่ร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหลักอย่างค้าปลีกน้ำมัน (Oil) หรือธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-Oil) ซึ่งพีทีและเชลล์ ต่างมีการปรับยุทธศาสตร์อย่างสนใจในการที่จะรักษาฐานที่มั่นในธุรกิจหลักพร้อมๆกับเร่งกระจายเสี่ยงในธุรกิจทำกำไรสูง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

PT ชูปั๊มใหม่ไซส์ SS-Max Service หวังสร้าง Engagement คนกรุง

ขณะนี้ต้องถือว่าพีทีเป็นแบรนด์ในธุรกิจสถานีบริการน้ำมันที่เดินเกมรุกเต็มพิกัด โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมันด้วยจำนวนสถานีบริการที่มีมากที่สุด คือ 2,055 สาขากระจายทั่วประเทศ ในสัดส่วนภาคอีสาน 32% ภาคเหนือ 21% ภาคใต้ 7-8% กรุงเทพฯ 7% ในปีที่ผ่านมาพีทีเป็นสถานีบริการน้ำมันที่มียอดขายอันดับ 2 ของประเทศ

สำหรับกลยุทธ์บุกเข้ากรุงของพีทีใช้โมเดลใหม่ในแบบไซส์ SS ขนาดเล็ก ขยายตัวเร็ว เน้นเข้าถึงทำเลย่านชุมชน กระจายตัวเช่นเดียวกันร้านสะดวกซื้อ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มที่ต้องการเติมน้ำมันก่อนถึงบ้านหรือเติมตอนเช้าก่อนออกจากบ้าน เน้นจำหน่ายน้ำมันเป็นหลักด้วยหัวจ่ายอย่างต่ำ 4 หัว ขณะที่ส่วนธุรกิจในเครืออย่างร้านกาแฟพันธุ์ไทย จะย่อส่วนจากร้านที่มีที่นั่งเป็นฟู้ดทรักเพื่อตอบสนองต่อการเดินทาง

นอกจากนี้ได้พัฒนาบริการในชื่อ “Max Service” เข้ามาสะท้อนภาพลักษณ์ของการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจผู้บริโภค ด้วยบริการเติมน้ำมันฉุกเฉินแบบเดลิเวอรี่ รองรับปัญหาน้ำมันหมดกะทันหัน สามารถใช้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์ 1614 พนักงานจะขับมอเตอร์ไซค์นำน้ำมันไปเติมให้ถึงที่ ซึ่งจะให้บริการในรัศมี 10 กม.จากสถานีบริการน้ำมันพีที

นอกจากนี้ยังมีบริการอื่นๆ เช่น ยก-ลากรถฉุกเฉิน, ช่วยเหลือฉุกเฉินด้านแบตเตอรี่, ซ่อมรถ (กรณีที่สามารถซ่อมได้ทันที), ช่วยเหลือเกี่ยวกับกุญแจหรือยางรถยนต์ เป็นต้น โดยจะคิดค่าบริการตามจริง

โดยแม็กเซอร์วิสจะให้บริการเฉพาะสมาชิกแม็กการ์ด เนื่องจากมุ่งที่จะสร้างความผูกพัน (Engagement) ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภคให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการให้บริการนี้เป็นแรงดึงดูดสมาชิกแม็กการ์ดใหม่ๆ จากที่จะเห็นได้ว่าค่าบริการต่างๆ ไม่สูง และเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับพนักงานเมื่อมีการเรียกใช้บริการเท่านั้น

ในส่วนของบัตรพีที แม็กการ์ด มีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นมากกว่าบัตรสมาชิกเพื่อสะสมแต้ม จึงทำการเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆ เข้าไปจำนวนมาก โดยเฉพาะการร่วมมือกับธุรกิจอื่นเพื่อนำคะแนนไปแลกเปลี่ยนเป็นการ Eco System ของบัตรให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้อย่างหลากหลาย ขณะนี้มีผู้ถือบัตรประมาณ 14 ล้านราย

 

เมื่อน้ำมันไม่ตอบโจทย์การทำกำไร

เป้าหมายใหญ่ของพีทีในอีก 3-4 ปีข้างหน้า อยู่ที่การผลักดันสัดส่วนรายได้จากธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil) เพิ่มจาก 10% เป็น 60% นั่นหมายถึงสัดส่วนรายได้จากธุรกิจน้ำมันจะลดลงเหลือ 40% จากขณะนี้อยู่ที่ 90% ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ทำให้การผลักดันธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันถูกวางยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบใน 5 กลุ่ม คือ ก๊าซ LPG, ร้านกาแฟ, ให้บริการซ่อมบำรุงรถยนต์, ปาล์มคอมเพล็กซ์ และค้าปลีก โดยทั้งหมดมีแผนนำเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เริ่มจากปาล์มคอมเพล็กซ์ในปี 2565 จากนั้นจะเป็นคิวของธุรกิจร้านกาแฟปี 2567

สำหรับร้านกาแฟซึ่งสามารถทำกำไรขั้นต้นสูงถึง 60-70% จึงจะมีบทบาทในการรักษาเสถียรภาพให้กับผลกำไรโดยรวมของธุรกิจ ซึ่งพีทีมีร้านกาแฟในมือ 2 แบรนด์ คือพันธุ์ไทยและคอฟฟี่เวิล์ดภายใต้การบริหารของบริษัท จี เอฟ เอ คอร์ปอเรชั่น (ไทยแลนด์) เป็นบริษัทย่อยของบริษัท กาแฟพันธุ์ไทย จำกัด จับกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียมด้วยราคากาแฟต่อแก้วกว่า 100 บาท เน้นสนองไลฟ์สไตล์กลุ่มคนเมือง โดยวางตำแหน่งให้แข่งขันในตลาดร้านกาแฟนอกสถานีบริการน้ำมัน

ส่วนค้าปลีกร้านสะดวกซื้อพีทีเลือกที่จะสร้างแบรนด์ขึ้นเองในชื่อ “แมกซ์มาร์ท” ซึ่งวิธีนี้ส่วนใหญ่ในตลาดสถานีบริการน้ำมันจะไม่สบความสำเร็จ กรณีที่ชัดเจนคือ ปตท. ที่แม้ว่าจะได้ครอบครองแบรดน์จิฟฟี่ แต่สุดท้ายต้องเลือกแบรนด์เซเว่นอีเลฟเว่นเข้ามาให้บริการส่วนจิฟฟี่เหลือสาขาไม่มากนัก หรือการกรณีบางจากที่ซื้อสิทธิมาสเตอร์ไลเซนส์แบรนด์ สพาร์ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ล่าสุดได้ยุติบทบาทลงและเปิดให้แฟมิลี่มาร์ทและท็อปส์เดลี่เข้ามาทดแทน

อย่างไรก็ตามแมกซ์มาร์ทพยายามสร้างความแตกต่าง โดยการจำหน่ายสินค้าจากแบรนด์เอสเอ็มอีที่เป็นรู้จัก เช่น ชายสี่บะหมี่เกี๊ยวในรูปแบบของบะหมี่แช่แข็ง 2 สูตร คือบะหมี่ผัดกะเพาไก่และบะหมี่ผัดขี้เมาไก่ รวมถึงการพัฒนาเฮาส์แบรนด์ขึ้นมา เพื่อเป็นทางเลือกในการซื้อสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น

Shell ตั้งเป้าปักหมุด 660 สถานีทั่วไทย

ในสถานการณ์ที่ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดสถานีบริการต่างมีเป้าหมายเร่งขยายเครือข่าย เพื่อเพิ่มปริมาณการขายและรักษาฐานรายได้ รวมถึงเชลล์ ซึ่งขณะนี้ประกาศความพร้อมในการขยายสถานีบริการให้ได้ปีละ 30 แห่ง โดยจะเน้นเจาะพื้นที่ใจกลางเมืองมากขึ้น จากที่มีอยู่ 639 แห่งคาดว่าภายในสิ้นปี 2563 คาดว่าจะมีจำนวนทั้งหมด 660 สถานีบริการ ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคอีสาน

ขณะเดียวกันเชลล์เลือกใช้กลยุทธ์เซกเม้นต์เข้ามาสร้างความแตกต่างในตลาด โดยแบ่งเป็นสถานีบริการน้ำมันระดับทั่วไปกับระดับพรีเมี่ยมในชื่อ “สถานีบริการ เชลล์ วีเพาเวอร์” ด้วยการเน้นด้านบริการให้มากขึ้น ด้วยความรวดเร็ว สะดวก สร้างรอยยิ้ม โดยรถ 1 คันจะให้บริการโดยพนักงาน 2 คนและรับชำระค่าบริการแบบไร้สัมผัส นอกจากนี้ผู้ใช้บริการสามารถสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มของร้านกาแฟเดลี่ คาเฟ่ จากที่รถผ่านแท็บเล็ตได้ในสถานีบริการ เชลล์ วีเพาเวอร์ 2 สาขาเมื่อช่วงต้นปี 2562 ปัจจุบันมีสถานีบริการเชลล์ วีเพาเวอร์จำนวน 4 สถานี

 

ดันธุรกิจ Non-oil ให้ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์  

สำหรับเชลล์วางเป้าหมายที่จะขยายฐานรายได้ธุรกิจ Non-oil เป็น 50% จากรายได้ทั้งหมดภายในปี 2568 ล่าสุดได้นำสัญลักษณ์ “เชลล์ชวนชิม” ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับมอบให้ร้านอาหารรสชาติดีกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง จากปัจจุบันมีร้านอาหารที่ได้รางวัลมากถึง 120 ร้านและจะดึงร้านเหล่านี้เข้ามาเปิดบริการในสถานีบริการของเชลล์ โดยเริ่มจาก 2 สถานีสาขาท่าพระและชัยพฤกษ์ และจากนี้ร่วมกับ ม.ล. ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ขยายการมอบตรา “เชลล์ชวนชิม” ให้กับร้านอาหารใหม่ๆ เพื่อดึงทราฟฟิกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนและผู้ที่มีที่พักอาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการ

นอกจากจะเปิดแนวรุกในธุรกิจอาหารแล้ว เชลล์ได้พัฒนาแบรนด์ของตัวเองขึ้นมา เพื่อวางฐานธุรกิจ Non-oil โดยธุรกิจร้านกาแฟเป็น “เดลี่ คาเฟ่” ขณะนี้147 แห่ง และร้านสะดวกซื้อภายใต้แบรนด์ซีเล็ค โดยมีจำนวน 124 แห่ง ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์จะขนานไปกับการเปิดสถานีบริการน้ำมันใหม่ของเชลล์ ขณะที่บางทำเลเชลล์ได้ร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้มีความแตกต่าง เช่น ล่าสุดร่วมกับสตาร์บัคส์ เปิดให้สาขาไดร์ฟธูรในสถานีบริการน้ำมันเป็นแห่งแรกบนถนนกาญจนาภิเษก

ที่น่าสนใจคือเชลล์ได้เพิ่มโอกาสในการนำแบรนด์ในกลุ่ม Non-oil ให้เข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บริการได้มากขึ้น ด้วยการเปิดบริการส่งถึงที่ (Delivery) โดยร้านกาแฟเดลี่ คาเฟ่และร้านสะดวกซื้อเชลล์ ซีเล็ค สามารถสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นและจัดส่งผ่านแกร็บฟู้ดได้ ขณะที่การใช้บริการสถานีเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสามารถสั่งซื้อแพ็กเกจได้ผ่านช้อปปี้ได้ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


วิถีใหม่สินค้า Luxury หลังโควิด สู่ร้านช้อปปี้งออนไลน์ 

เทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้โดนใจผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1384 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1787 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1986 | 25/01/2024
กรณีศึกษา PT-Shell ดันธุรกิจ Non-oil ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์