จีน - สิงคโปร์ ขับเคลื่อนการค้าเสรี CSFTA หนีเทรดวอร์

SME Update
09/12/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 3623 คน
จีน - สิงคโปร์ ขับเคลื่อนการค้าเสรี CSFTA หนีเทรดวอร์
banner

หลังจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และจีน ฟาดหางไปกระทบการค้าโลกในปี 2562 ทำให้ซวนเซไปตามตามกัน หลายประเทศที่ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐ และจีน ประสบปัญหาออร์เดอร์หดตัว ส่งผลกระทบกระเทือนถึงเศรษฐกิจภายใน โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอยู่ในห่วงโซ่ซัพพลายเชนของตลาดหลักนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


"สิงคโปร์" หนึ่งในประเทศหลักในอาเซียนที่ได้รับผลพวงจากสงครามการค้า ได้ปรับนโยบายเศรษฐกิจ ลดบทบาทความสำคัญการค้ากับสหรัฐฯลง และหันเหมาโฟกัสการสานต่อความตกลงกับจีน ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคี ชื่อ China - Singapore Free Trade Agreement : CSFTA ซึ่งเป็นความตกลงฉบับเก่าที่ได้ลงนามกันไปเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 หรือเมื่อ 12 ปีก่อน

ความตกลง CSFTA ทำให้มูลค่าการค้าระหว่างจีนและสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.6% และทำให้การลงทุนขยายตัวเพิ่มขึ้น 11.9% นับตั้งแต่ปี 2556 จีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ ขณะเดียวกันสิงคโปร์ก็เป็นนักลงทุนต่างชาติที่ใหญ่ที่สุดที่เข้าไปลงทุนในจีน

ในปีที่ผ่านมา สองประเทศมีการค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น 135,000 ล้านเหรียญสิงคโปร์ และมูลค่าการลงทุนสะสมของสิงค์โปร์ในจีนจนถึงปี 2560 มีมากถึง 140,000 ล้านเหรียญสิงคโปร์

รัฐบาลจีนและสิงคโปร์ตัดสินใจ "ทบทวน" ความตกลง CSFTA โดยได้จัดให้มีการลงนามความตกลงระหว่างกันไปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 โดย Mr.Heng Swee Keat รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสิงคโปร์ พร้อมด้วย Mr.Han Zheng รองนายกรัฐมนตรีจีน ได้ลงนามความตกลง CSFTA ฉบับปรับปรุง ในโอกาสที่เข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทวิภาคีครั้งที่ 15 (JCBC) กันไป

สาระสำคัญของความตกลงฉบับปรับปรุงนี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงด้านการค้าสินค้า และการค้าบริการใหม่ กล่าวคือ ในด้านการค้าจะทำให้


1) การเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎระเบียบว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า ส่งผลให้สินค้าจากสิงคโปร์ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนจะได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2563 ซึ่งจะส่งผลดีต่อสินค้าของสิงคโปร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้ากลุ่ม "ปิโตรเคมี" ซึ่ง ส่งออกไปยังตลาดจีน คิดเป็นสัดส่วน 28% ของการส่งออกทั้งหมดของสิงคโปร์ไปยังจีน

2) การจัดตั้งระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Origin Data Exchange System (EODES) ระหว่างสิงคโปร์และจีน ซึ่งระบบนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ช่วยจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกสิงคโปร์ไม่ต้องยื่นสำเนาหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าที่ออกโดยกรมศุลกากรสิงคโปร์

3) ความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ช โดยสองฝ่ายมุ่งจะอำนวยความสะดวกและปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคด้วย

ขณะที่ด้านการค้าบริการ กำหนดให้บริษัทกฎหมายของสิงคโปร์ที่ตั้งอยู่ในเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ จะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมการค้าร่วมกับบริษัททนายของจีน และสามารถให้บริการทางกฎหมายกับบริษัทจีน และบริษัทต่างชาติที่ตั้งอยู่ในจีนด้วย หรือบริการด้านการเดินเรือ อนุญาตให้สิงคโปร์จัดตั้งบริษัทที่มีต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่าจีน หรืออาจจะให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด ในท่าเรือสำคัญของจีนบนพื้นที่เขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง เทียนจิน และฝูเจี้ยน

ด้านการก่อสร้าง กำหนดให้บริษัทสิงคโปร์ ที่ตั้งอยู่ในเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ พื้นที่อุตสาหกรรมซูโจว - สิงคโปร์ พื้นที่ SSTEC หรือ Sino-Singapore Tianjin Eco-City โครงการสาธิตจีนที่ฉงชิ่ง -  สิงคโปร์ ด้านการเชื่อมต่อกลยุทธ์ จะสามารถดำเนินการโครงการก่อสร้างร่วมกันในเซี่ยงไฮ้ ซูโจว เทียนจิน และฉงชิ่ง โดยได้รับการยกเว้นข้อกำหนดการลงทุนของบริษัทต่างชาติของจีน

นอกจากนี้หน่วยงานของจีน-สิงคโปร์ ยังได้มีการลงนามในความตกลง 9 ฉบับ เพื่อสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า การย้ำหมุดความสัมพันธ์จีน-สิงคโปร์ ในครั้งนี้ จะสร้างแรงกระเพื่อมในอาเซียนได้มากน้อยเพียงใด


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1228 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1588 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1875 | 25/01/2024
จีน - สิงคโปร์ ขับเคลื่อนการค้าเสรี CSFTA หนีเทรดวอร์