จับชีพจรธุรกิจท่องเที่ยว ผลกระทบจาก COVID-19

SME in Focus
21/03/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2956 คน
จับชีพจรธุรกิจท่องเที่ยว ผลกระทบจาก COVID-19
banner

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่มีการติดเชื้อไปทั่วโลกรวมกว่า 116 ประเทศ สร้างความเสียหายแก่เศรษฐกิจในวงกว้างไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างแรงอยู่ในอาการ "โคมา" ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมเกือบทุกแห่งต้องตัดลดค่าใช้จ่ายลง ทั้งให้ลาพักร้อนโดยไม่รับเงินเดือน ลดวัน เวลา ทำงาน ลดอาหาร ไปจนถึงเลิกจ้างปิดกิจการ

เมื่อสถานการณ์คลอนแคลนเช่นนี้ หากปล่อยไว้ไม่เพียงที่จะทำให้ผู้ประกอบการต้องล้ม หาย ตาย จากไปเท่านั้น แต่จะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรงจนอาจจะกู่ไม่กลับ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ร้อนถึงกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะที่กำกับดูแลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จึงเสนอมาตรการเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศ 3 เดือน (เมษายน ถึง มิถุนายน 2563) เพื่อพยุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยการขอความร่วมมือให้ทุกส่วนราชการ เร่งการใช้จ่ายงบประมาณปี 2563 เพื่อจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศ และส่งปฏิทินการจัดประชุมและสัมมนาดังกล่าว ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อนำไปขยายผลร่วมกับภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่อไป

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวทันที มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯเสนอ ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2563 โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประเมินว่า หากมีการดำเนินมาตรการเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศในช่วง 3 เดือนนี้ จะช่วยพยุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชะลอการเลิกจ้างงาน

รวมทั้งจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อจิตวิทยาในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้งประชาชนคนไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก และเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของประเทศไทยไปในทิศทางที่ดีขึ้น

โดยนายคณนาถ หมื่นหนู โฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คาดว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะสูญเสียรายได้กว่า 9,156 ล้านบาท โดยภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุด คือ

1. จำหน่ายสินค้า/ของที่ระลึก  

2. โรงแรม

3. ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม

ด้านนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินว่า กรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจอยู่ที่ประมาณ 3 เดือน หรือลากยาวถึงเดือนเมษายน 2563 ซึ่งอาจจะสูญเสียนักท่องเที่ยวจีนประมาณ 70-80% คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 90,000 ล้านบาท จากเดิมที่ตั้งเป้าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งหมดเข้ามากว่า 40.8 ล้านคน จะมีรายได้ 2.02 ล้านล้านบาท

ขณะที่ข้อมูลของสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และ Economic Intelligence Centre (EIC) ประเมินสถานการณ์ไว้ 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 ระยะเวลา 3 เดือน : นักท่องเที่ยวปี 2563 เหลือ 38 ล้านคน หดตัว -4.6% (เทียบกับปีก่อนหน้า) แต่ถ้านักท่องเที่ยวจีนลดลง 50% จะสูญเสียรายได้ราว 7.43 พันล้านบาท, นักท่องเที่ยวจีนลดลง 70% จะสูญเสียรายได้ราว 1.04 หมื่นล้านบาท และหากนักท่องเที่ยวจีนลดลง 90% จะสูญเสียรายได้ 1.34 หมื่นล้านบาท

กรณีที่  2 ระยะเวลา 4 เดือน : จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2563 จะเหลือ 38.8 ล้านคน คิดเป็นการหดตัว -2.5% (เทียบกับปีก่อนหน้า) โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาเท่าปี 2562 ก็ประมาณช่วงเดือนมิถุนายน 2563

กรณีที่  3 ระยะเวลา 6 เดือน : จำนวนนักท่องเที่ยวปี 2563 จะเหลือเพียง 36.6 ล้านคน คิดเป็นการหดตัวมากถึง -8.1% (เทียบกับปีก่อนหน้า)

และเมื่อเกิดสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสระบาดหนัก เป็นโจทย์ใหญ่ที่ ททท. ต้องคิดและงัดกลยุทธ์ทุกท่วงท่า เพื่อประคับประคองอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กลับมาพื้นตัว แต่นั่นย่อมต้องภายหลังจากที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสทั่วโลกยุติลงหรือควบคุมได้อย่างแท้จริง


อย่างไรก็ตาม แม้ปีนี้อาจเป็นฝันร้ายของธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม ไม่เฉพาะไทยแต่เป็นทั่วโลก แต่ก็เป็นโอกาสที่ธุรกิจมีเวลาในการปรับปรุงสถานที่ พัฒนาบุคลากร รวมทั้งการบริการต่างๆ เพื่อรอเวลาที่ทุกอย่างคลี่คลาย นักท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้ง คุณจะพร้อมก่อนใคร 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


มาตรการรับมือ COVID-19 สำหรับสถานประกอบการ

โรงแรม – ท่องเที่ยว รับมือนักท่องเที่ยวที่หายไปอย่างไร

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
159 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
754 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
555 | 10/04/2024
จับชีพจรธุรกิจท่องเที่ยว ผลกระทบจาก COVID-19