‘ดีป้า’ เผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2563 โควิดหนุนตลาด

SME Update
03/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2864 คน
‘ดีป้า’ เผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2563 โควิดหนุนตลาด
banner

หนึ่งในปัจจัยบวกของอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย คือในปีหน้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดโควิด 19 รวมถึงโครงข่ายการสื่อสาร 4G, 5G และอุปกรณ์ดิจิทัลที่มีความสามารถมากขึ้น เอื้อหนุนให้เกิดการเร่งนำใช้ดิจิทัลมาใช้ในทุกภาคส่วนรับวิถีชีวิต New Normal 

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมกับ สถาบันไอเอ็มซี เผยผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 ภาพรวมยังเติบโตในอัตราคงที่ พร้อมคาดการณ์มูลค่าตลาดดิจิทัลไทยอีก 3 ปีข้างหน้า ชี้ปี 2563 อุตสาหกรรมบริการดิจิทัลมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด ปัจจัยหนุนหลักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่ทำให้คนไทยยอมรับปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วขึ้น เร่งให้ไทยก้าวสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme  


ดร.กษิติธร ภูภราดัย รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เผยผลสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 และประมาณการมูลค่าตลาดดิจิทัลไทยปี 2563-2565 ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย

- อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ (Software)

- อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ (Hardware & Smart Devices)

- อุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล (Digital Services)

- อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)

- อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า (Big Data)

โดยมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ปี 2561 มีมูลค่ารวม 637,676 ล้านบาท ส่วนปี 2562 มีมูลค่ารวม 647,952 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ย 1.61% โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 2561-2562 มาจากปริมาณความต้องการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่สังคมดิจิทัล ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ เล็งเห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) อีกทั้งผู้คนเริ่มคุ้นเคยและใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น

ในทางกลับกันปัจจัยที่เป็นตัวฉุดรั้งการเติบโตของมูลค่าตลาด มาจากขาดผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ที่มากระตุ้นตลาด ทำให้ปริมาณความต้องการอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทชะลอตัวลง และหันไปใช้ในรูปแบบบริการมากขึ้น (เช่น บริการ cloud) การขาดแคลนกำลังคนดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ขณะที่การใช้บริการต่างๆ ที่ซื้อตรงจากต่างประเทศมีมากขึ้น ทำให้ไม่มีข้อมูลแสดงรายได้ในประเทศ

 

ประมาณการมูลค่าตลาดดิจิทัลไทย ปี 2563-2565

- อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ปี 2563 จะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 133,199 ล้านบาท หดตัวเฉลี่ย 1.2% โดยมีสาเหตุมาจากวิกฤตโควิด19 แม้จะมีการนำซอฟต์แวร์บางด้านมาประยุกต์ใช้ เนื่องจากการทำงานแบบรีโมท อาทิ การประชุมผ่านระบบออนไลน์ CRM และ Document แต่ซอฟต์แวร์ดังกล่าวส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศ จึงไม่มีข้อมูลแสดงรายได้ในประเทศ

- อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ คาดว่าจะมีมูลค่า 268,989 ล้านบาท เติบโตลดลง 10.1% โดยได้รับผลกระทบจากโควิด 19 เช่นกัน ส่งผลให้มีการนำเข้าฮาร์ดแวร์ลดลงอย่างมาก แต่คาดว่าทั้งสองอุตสาหกรรมจะกลับมาขยายตัวตามปกติ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม IoT ที่จะขยายตัวเด่นกว่ากลุ่มอื่นในปี 2564-2565 ปัจจัยบวกที่จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และสมาร์ทดีไวซ์ไทย คือการเข้ามาของ AI ทำให้เกิดระบบอัตโนมัติมากขึ้น ยังมีการลงทุน 4G ต่อเนื่องก่อนการประมูล 5G ซึ่งรองรับความต้องการใช้งานของผู้บริโภค และภาครัฐที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ขณะที่ปัจจัยลบคือการขาดผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นความต้องการซื้อ การผันผวนของค่าเงิน ปัญหาเศรษฐกิจ และสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ

- อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล ปี 2563 จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 20.5% ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทำการสำรวจ โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 204,240 ล้านบาท คาดว่าได้รับแรงหนุนจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ทำให้สังคมปรับตัวสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วขึ้น และมีการใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น โดยประเมินว่ามูลค่าตลาดดังกล่าวจะขยายตัวสูงกว่า 258,470 ล้านบาทในปี 2565

- อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 10.1% ในปี 2563 คิดเป็นมูลค่ารวม 34,229 ล้านบาท เนื่องจากตลาดเกมและบิ๊กดาต้ามีอัตราการขยายตัวสอดคล้องกับตลาดโลก ขณะที่ตลาดแอนิเมชันเติบโตลดลง จากโควิด 19 ทำให้ออเดอร์จ้างผลิตลดลง และมูลค่าคาแรคเตอร์ลดลง ผลจากสติกเกอร์ไลน์ที่เริ่มถึงจุดอิ่มตัว

- อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า ปี 2563 คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงรองลงมาจากอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล โดยเติบโต 13.2% และมูลค่าตลาดจะขยับสู่ 16,871 ล้านบาทในปี 2564 จากแรงหนุนที่ทุกภาคส่วนเล็งเห็นประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบกับการมีทางเลือกให้ใช้บริการแบบเช่าใช้ ซึ่งง่ายต่อการตัดสินใจลงทุน มูลค่ารวมอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นเป็น 18,558 ล้านบาทในปี 2565 เนื่องจากสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจและการระบาดของโรคโควิด 19 จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ด้านบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2562  มีจำนวนรวม 381,620 คน  โดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะมากที่สุดที่ 196,852 คน ทั้งนี้เพราะมีพนักงานในอุตสาหกรรมการผลิตและขายปลีกอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้จำนวนบุคลากรได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2560 ที่มี 283,636 คน เป็น 299,728 คนในปี 2561 ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมดิจิทัลได้สร้างงานในหลายอาชีพทั้งแรงงานด้านไอทีและพนักงานทั่วไป โดยเฉพาะงานทางด้านอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลที่เริ่มมีจำนวนพนักงานที่เพิ่มชึ้นอย่างมาก โดยพบว่าปี 62 จำนวนบุคลากรบริการดิจิทัลเพิ่มขึ้น 455% เป็น 71,054 ราย อันมีผลจากการเติบโตของบริการด้านธุรกรรม (e-Transaction) ที่อาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นพนักงานประจำเข้าสู่ระบบมากขึ้น จากเดิมที่เป็นการ Outsource

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการ สถาบันไอเอ็มซี กล่าวว่า ปี 2563 ผลกระทบจากวิกฤตโควิด 19 ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้สังคมปรับตัวสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเร็วขึ้นมีการใช้บริการดิจิทัลมากขึ้น จึงทำให้ภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยเติบโตอย่างมาก สำหรับปี 2564 แม้มีแนวโน้มว่าจีดีพีของประเทศจะปรับตัวดีขึ้น แต่อัตราการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในปี 2563 จะทำให้ตัวเลขการเติบโของปี 2564 จะไม่สูงเท่ากับปีก่อนหน้า ขณะที่ปี 2565 แนวโน้มการเจริญเติบโตด้านบริการดิจิทัลจะอยู่ในอัตราที่ดี แต่อาจไม่สูงเท่ากับที่เคยทำได้มาก่อน เพราะเป็นอัตราการเจริญเติบโตที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว

การสำรวจข้อมูลและประเมินสถานภาพอุตสาหกรรมดิจิทัลเป็นผลงานที่ดีป้าจัดทำต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 3 เพื่อเป็นข้อมูลบ่งชี้สถานภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรมและข้อมูลคาดการณ์ ที่บ่งชี้แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทยในแต่ละปี โดยดีป้าจะขยายขอบเขตการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครอบคลุมมิติอื่น เพื่อให้ผู้สนใจได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น


ปัจจุบันดีป้ากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา Digital Pulse ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทั้งดัชนีชี้วัดระดับสากล และฐานข้อมูลที่ดีป้าสำรวจเอง ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการที่จะเป็นฐานข้อมูลและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัล และความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำรวจและนำเสนอผลรายไตรมาส ตลอดจนการสำรวจฝั่งผู้ใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยในระยะแรกโฟกัสที่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการผลิตเป็นอันดับแรก และจะขยายผลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ และบริการต่อไปในอนาคตอันใกล้

ภาพ : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Edtech เทรนด์ที่น่าจับตาสำหรับสตาร์ทอัพในยุคนี้

Urbanization โควิด 19 กระตุ้นสังคมเมืองขยายตัว



Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1379 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1780 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1983 | 25/01/2024
‘ดีป้า’ เผยผลสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2563 โควิดหนุนตลาด