‘Digital Healthcare’ ผู้ช่วยบุคลากรแพทย์ไทย สู้ภัยโควิดระบาด

SME Update
22/07/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 2772 คน
‘Digital Healthcare’ ผู้ช่วยบุคลากรแพทย์ไทย สู้ภัยโควิดระบาด
banner

ยุคปัจจุบัน ดิจิทัล ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราทุกคน ทั้งด้านเศรษฐกิจ คมนาคม การสื่อสาร และอื่นๆ รวมถึงอุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Healthcare) เนื่องจากอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผลักดันให้ผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวและเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ ให้ทันท่วงที

เนื่องจากการแพทย์คือแนวหน้าในการสู้กับโควิด 19 จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย เช่น การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics & Automation) การปฏิบัติงานทางไกล (Telemedicine) รวมถึงการให้คำปรึกษาออนไลน์ (Video Conferencing) เป็นต้น ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ จะส่งผลให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยในต่างประเทศเช่น จีน ได้มีการปรับตัวใช้เทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีการผสมผสานเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น Cloud, Blockchain, AI, Big Data, 5G และ Robot มาสนับสนุนทางการแพทย์ เช่น การใช้หุ่นยนต์เพื่อดูแลรักษาผู้ติดเชื้อที่จำเป็นต้องเว้นระยะห่าง รวมทั้งการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อในโรงพยาบาล อีกทั้งยังช่วยลำเลียงยารักษาโรค ทั้งยังมีการใช้โดรนในการพ่นยาฆ่าเชื้อเพื่อรักษาความสะอาด อีกด้านหนึ่งที่สำคัญอย่างมากคือ การคัดกรองผู้ป่วย มีการใช้กล้องถ่ายภาพตรวจวัดอุณหภูมิ เป็นต้น

ด้านแคนาดาได้คิดค้นระบบติดตามโควิด 19 ออนไลน์แบบเรียลไทม์ ทำให้ประชาชนได้เห็นจำนวนผู้ติดเชื้อโดยจะแบ่งตามภูมิภาค เพื่อให้ผู้คนได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วนำไปสู่การป้องกันตัวเองได้อย่างทันท่วงที ส่วนญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ในเวลาเพียง 5 นาที ขณะที่ไต้หวันได้พัฒนาเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (Virtual Reality) เพื่อสอนนักศึกษาแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 โดยไม่จำเป็นต้องทดลองรักษากับคนไข้จริงเพื่อลดความเสี่ยง

สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรม Healthcare กำลังเผชิญความท้าทายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอ จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี การเกิดโรคใหม่ๆ ซึ่งผลที่ตามมาคือ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนในประเทศที่สูงขึ้น ซึ่งหลังจากการระบาดของโควิด 19 ประเทศไทยต้องปรับตัวเข้ากับสิ่งที่เรียกว่า New normal โดยมีหลักสำคัญ 3 ประการที่ทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องเตรียมพร้อมคือ

1. เน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์เป็นสำคัญ

2. ลดความแออัดของผู้ป่วยในสถานพยาบาล  

3. ต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำในการได้รับการรักษา

โดยตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในไทย ภาครัฐและเอกชนได้มีการคิดค้น พัฒนานวัตกรรมในการรับมือการระบาด เช่น โครงการ Pattani Model ที่จังหวัดปัตตานี ปรับบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ มีการจำลองโรคผู้ป่วยโดยจำแนกเป็นสามกลุ่มตามสัญญาณไฟจราจร ได้แก่ สีเขียว (มีความเสี่ยงน้อย) สีเหลือง (มีความเสี่ยงปานกลาง) และสีแดง (มีความเสี่ยงสูง) ซึ่งพิจารณาจากความจำเป็นในการดูแลทางการแพทย์โดยตรงและความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องไปที่สถานพยาบาล จะใช้แอปพลิเคชันเพื่อปรึกษาทางไกลกับแพทย์ ส่วนยาและอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกส่งไปให้กับประชาชนถึงบ้านโดยมีอาสาสมัครในหมู่บ้านให้ความช่วยเหลือ

นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น กล้องจดจำใบหน้าเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิและแจ้งเตือนผู้ที่ไม่สวมใส่หน้ากาก มีการนำหุ่นยนต์บริการทางการเแพทย์มาใช้ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อคอยช่วยรับส่งอาหารและยา พร้อมส่งอุปกรณ์ตรวจวัดสัญญาณชีพผู้ป่วย หรือที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีหุ่นยนต์ เวสตี้ (Wastie) เก็บขยะติดเชื้อ โดยใช้แขนกลยกถังขยะติดเชื้อไปยังกระบะจัดเก็บ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแก่บุคลากรทางการแพทย์

ในอนาคตหากไทยต้องการเป็น Medical Hub ของอาเซียนรวมถึงเอเชีย ขณะนี้ถือเป็นโอกาสดีที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองและตระหนักถึงความสำคัญของการนำ ‘Digital Healthcare’ มาใช้ให้มากขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยบุคลากรแพทย์ไทยสู้ภัยโควิดระบาดในขณะนี้ โดยสามารถศึกษาจากกรณีตัวอย่างจากประเทศอื่นๆ นำมาต่อยอดการพัฒนาทั้งในด้านของเทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมถึงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตยั่งยืนได้

 

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1585 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
2016 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
2160 | 25/01/2024
‘Digital Healthcare’ ผู้ช่วยบุคลากรแพทย์ไทย สู้ภัยโควิดระบาด