EEC มีอะไรเข้าใจง่ายๆภายใน 5 นาที

SME in Focus
05/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 15114 คน
EEC มีอะไรเข้าใจง่ายๆภายใน 5 นาที
banner

ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจมีความเข้าใจแง่มุมของโครงการ EEC (Eastern Economic Corridor) หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในแง่มุมที่แตกต่างกัน ในที่นี้เราเลยนำมาเรียบเรียบแบบเข้าใจง่าย ในเนื้อหาที่กระชับ ได้ใจความ ใช้เวลาอ่านประมาณ 5 นาที แล้วคุณจะรู้มีแง่มุมที่น่าสนใจมากกว่าที่คิด

เริ่มต้นที่พื้นที่ EEC ตามประกาศของรัฐบาลประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง รวมนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมด 31 แห่ง (113,000 ไร่) ในพื้นที่ EEC มีพื้นที่ประกาศ เขตส่งเสริม 86,775 ไร่  เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย

มองโดยรวมๆ ก็คือ โครงการ EEC รัฐจัดสรรพื้นที่พิเศษใน 3 จังหวัดภาคตะวันออกให้ธุรกิจขนาดใหญ่และต่างชาติเข้ามาเช่าพื้นที่เพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตในอุตสาหกรรมที่รัฐบาลตั้งเป้าหมาย โดยรัฐได้มีมาตรการในการกระตุ้นการลงทุนต่างชาติโดยให้สิทธิพิเศษและมาตรการส่งเสริมต่างๆ อาทิ ภาษี ระเวลาสัญญาเช่าพื้นที่ เกิดการลงทุนขนาดใหญ่ เกิดการจ้างงาน รัฐเก็บภาษีได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของประเทศ (อาจจะ)ดีขึ้น

ถ้าคุณเข้าใจแบบนี้ ...ถือว่าเข้าใจถูกต้องแล้ว แต่ไม่ทั้งหมดเพราะภายใต้โครงการเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกยังมีหลายอย่างที่เราอยากให้คุณรู้ !

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme 


โดยช่วงระยะเวลากว่า 10 ปี ( พ.ศ.2548-2557) ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวของการลงทุนอยู่ในระดับต่ำที่ ร้อยละ 2 ทำให้อัตราการขยายตัวของประเทศอยู่ในระดับต่ำที่ ร้อยละ 2-3 ต่ำกว่าศักยภาพของประเทศ ที่ควรจะขยายตัวที่ร้อยละ 4-5

เอาตรงๆ คือ รัฐมองว่าไทยไม่มีขีดความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว หากเป็นแบบนี้ไม่เรื่อยๆ เศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมมีแต่ ทรงกับทรุด

ที่ผ่านมาภายใต้การส่งเสริมอุตสาหกรรมและภาคการลงทุนภายในประเทศ ทำให้ที่ผ่านมาการเติบโตของประเทศไทยมีการขยายตัวที่ต่ำทั้งจากปัจจัยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันทางการค้า และฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนตัวเลขทางเศรษฐกิจกระจุกอยู่ที่ภาคการส่งออกกว่าร้อยละ 70 แถมการส่งออกส่วนใหญ่ยังคงเป็นสินค้าประเภทวัตถุดิบ ที่มีมูลค่าต่ำแต่ต้องเผชิญการแข่งขันสูง

ผลคือประเทศไทยติดกับดักที่เรียกว่า Middle Income Trap หมายถึง การที่ไทยหยุดชะงักอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ประชาชาติต่อจำนวนประชากรอยู่ในระดับปานกลางมาตั้งแต่ปี 2519 โดยค่าเฉลี่ยรายได้ต่อหัวของไทยอยู่ที่ 5900 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีรายได้ต่อหัว/ปีที่มากกว่า13,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสะท้อนว่าพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทยยังมีข้อจำกัด

เราคงบอกไม่ได้ว่าภายใต้การดำเนินการไปสู่เป้าหมายของโครงการ EEC จะนำไปสู่อะไร แต่ภายใต้บริบทแห่งความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว (Disruptive Technology) และความผันผวนของเศรษฐกิจโลกทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาด้านเทคโนโลยีและการลงทุนเพื่อให้สามารถต้านทานกระแสอันเชี่ยวกรากของเศรษฐกิจโลกให้ได้ และ EEC อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญ  หรือที่รัฐคาดหวัวว่านี่จะเป็น New Engine of Growth ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย


มุมมองในด้านการลงทุนที่ควรรู้

ประเทศไทยต้องผลักดันให้อัตราการขยายตัวของการลงทุนเพิ่มเป็นร้อยละ 10 เพื่อให้อัตราการขยายตัวของประเทศหรือ ต้องการ GDP ของประเทศโตโดยเฉลี่ยร้อยละ 4-5 ตามศักยภาพของประเทศ ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจึงจะเพิ่มขึ้นเพียงพอที่จะก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง สู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ในปี พ.ศ. 2575 ตามเป้าหมาย

โดยยกระดับ 5 อุตสาหกรรมเดิม  คือ 1.ยานยนต์สมัยใหม่ 2.อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3.การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ 4.การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 5.การแปรรูปอาหาร

ต่อยอด 7 อุตสาหกรรมใหม่ ที่ประกอบด้วย 1.หุ่นยนต์ 2.การแพทย์และสุขภาพครบวงจร 3.ดิจิทัล 4.การบินและโลจิสติกส์ 5.เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ 6.การป้องกันประเทศ และ 7.การพัฒนาบุคลากร และการศึกษา

อย่างที่กล่าวในข้างต้น ตัวเลขการลงทุนโครงการ EEC โดยประมาณคือ 1.7 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี (หรือ ประมาณ 300,000 ล้านบาท ต่อปี)  สามารถเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกปีละ 1 แสนล้านบาท สามารถรองรับตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นกว่า 475,674 อัตรา  

โดยมี 4 กลไกในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย ประกอบด้วย

1. มีพื้นที่ชัดเจน กำหนดพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) เป็นพื้นที่แรก เนื่องจาก เป็นที่รู้จักของนักลงทุนทั่วโลก เป็นฐานการลงทุนด้านอุตสาหกรรมและ นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนา

2. มีแผนการดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน รัฐกำหนดนโยบายและกรอบการพัฒนาที่เหมาะสม เอกชนเป็นผู้ลงทุน

3. มีสิทธิประโยชน์ที่ชัดเจน มาตรการส่งเสริมการลงทุน การสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศด้านการลงทุน (Investment Eco System) และกำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้ทำงานได้ผลอย่างรวดเร็ว

4. มีกฎหมายและองค์กรการกับที่ชัดเจน มี พ.ร.บ. และมีสำนักงานเพื่อรองรับความต่อเนื่องของการพัฒนาพื้นที่

กล่าวได้ว่าโครงการEEC คือรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นครั้งแรกของประเทศไทย





 

สร้างเมืองแห่งนวัตกรรมที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค

ทั้งนี้ภายในพื้นที่ EEC  ยังมีโครงการที่เรียกว่าเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EECi เป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศนวัตกรรมที่เหมาะสมตั้งอยู่ที่วังจันทร์วัลเลย์ บนที่ดินของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บนทางหลวงหมายเลข 344 อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง มีพื้นที่รวมกันกว่า 3,000 ไร่ รองรับการพัฒนาเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอัจฉริยะ (ARIPOLIS) และเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาศาสตร์ (BIOPOLIS)

Digital Park Thailand: EECd

นอกจากนี้ยังมีโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand หรือ EECd) ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค เน้นให้เกิดการลงทุนธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ตลอดจนยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีเดิมไปสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ (New S-Curve Digital Industry) อีกทั้งยังเป็นศูนย์สร้างธุรกิจดิจิทัลใหม่ ๆ ที่ ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

รวมทั้งโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เมืองที่ได้รับการพัฒนาพื้นที่ขึ้นใหม่ให้เป็นเมืองทันสมัย มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้ตามบริบทความต้องการของเมือง โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมือง สาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย พื้นที่พักผ่อน แหล่งงาน พาณิชยกรรม รวมถึงการจัดพื้นที่ของเมืองอย่างเหมาะสม


ทั้งหมดนี้อาจดูน่าทึ่งแต่เราเชื่อว่า หลายคนมีคำถามว่า โครงการทั้งหมดนี้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อไหร่ ซึ่งหากกล่าวตามไทม์ไลน์โครงการก็ประมาณแล้วเสร็จระยะแรกในปี 2566 เป็นต้นไป แต่เชื่อว่าภายใต้ความอลังการของโครงการ EEC หากแล้วเสร็จจะเปลี่ยนประเทศไทยให้แตกต่างไปจากเดิม โลกเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยน นี่คือ วิถีแห่งวิวัฒนาการ

เอาเข้าจริงรายละเอียดของอภิมหาโปรเจ็กต์อย่าง EEC มีเรื่องราวที่น่าสนใจเยอะมาก ไว้คราวหน้าเรามาเจาะลึกเป็นเฉพาะเรื่องๆ ไป โปรดติดตาม  


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
145 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
722 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
547 | 10/04/2024
EEC มีอะไรเข้าใจง่ายๆภายใน 5 นาที