จุดแข็ง-จุดอ่อนธุรกิจครอบครัว VS ธุรกิจทั่วไป ใครได้เปรียบ เสียเปรียบ!

Family Business
20/02/2024
รับชมแล้วทั้งหมด 6662 คน
จุดแข็ง-จุดอ่อนธุรกิจครอบครัว VS ธุรกิจทั่วไป ใครได้เปรียบ เสียเปรียบ!
banner
ความหมายของคำว่า ธุรกิจครอบครัว (Family Business) และ ธุรกิจทั่วไป (Business) อาจจะมีเส้นบางๆ ที่กั้นระหว่าง 2 คำนี้ เชื่อว่าหลายคนยังมีข้อสงสัยว่า อะไรคือความแตกต่าง และรูปแบบธุรกิจมีวิธีการดำเนินงานเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ติดตามคำตอบได้ในบทความนี้

ธุรกิจครอบครัว VS ธุรกิจทั่วไป

ธุรกิจครอบครัว (Family Business) และ ธุรกิจทั่วไป (Business) แยกได้โดยปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดของธุรกิจ ประเภทธุรกิจ การวางกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ไปจนถึงวัฒนธรรมองค์กรที่วางรากฐานให้พนักงานยึดถือปฏิบัติร่วมกัน เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจครอบครัว อาจจะได้เปรียบด้านความมุ่งมั่น ความไว้วางใจ และวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง ขณะที่ธุรกิจทั่วไป จะมีความได้เปรียบเรื่องความคล่องตัว ความยืดหยุ่น และความสามารถในการแข่งขัน 

ธุรกิจครอบครัว คืออะไร?

ธุรกิจครอบครัวตามกฎหมาย อาจแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด, บริษัทจำกัด, บริษัทมหาชน หรือบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

หัวใจสำคัญของธุรกิจครอบครัวคือต้องการให้ความเป็นเจ้าของอยู่ในหมู่เครือญาติพี่น้อง มีสัดส่วนการถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 51 หรือ 100 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด หรือธุรกิจที่มีการสืบทอดมาสู่ลูกหลานอีกรุ่นหนึ่ง



รูปแบบของธุรกิจครอบครัว แบ่งเป็น 

- ธุรกิจที่อยู่ภายใต้ครอบครัวเดียวกัน
- ธุรกิจครอบครัวที่มีการจ้างผู้บริหารมืออาชีพเข้ามา แต่ครอบครัวยังถือหุ้น 
- ธุรกิจครอบครัวที่มีการแบ่งหุ้นให้กับมืออาชีพที่เข้ามาบริหารือหุ้นร่วมกัน 

ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการสืบทอดธุรกิจร่วมกันคือการรักษา และถ่ายทอดความมั่งคั่ง และชื่อเสียงที่สั่งสมจากบรรพบุรุษ สำหรับรูปแบบธุรกิจครอบครัวมีโมเดล การดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย แต่จะมีโครงสร้างคล้ายๆ กันอยู่ 4 รูปแบบที่ถือว่าใช้ได้ผลดีที่สุดสำหรับธุรกิจครอบครัวในประเทศไทย โดยรูปแบบสำหรับการดำเนินธุรกิจครอบครัวในประเทศไทยที่พบและมีโครงสร้างคล้ายคลึงกัน ประกอบด้วย

• Dominant Firm  

โมเดลธุรกิจนี้เราเห็นได้ทั่วไป โครงสร้างทางการเงินทั้งยอดขาย รายได้ กำไร สินค้า/บริการ ฯลฯ มักจะอยู่กับบริษัทหลัก ส่วนที่เหลือมักจะอยู่กับบริษัทย่อย ถ้าไม่มีบริษัทหลักเช่นนี้ บริษัทย่อย ๆ ก็จะอยู่ด้วยยาก หรือถ้าบริษัทย่อยอยู่ได้ก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้



• Group of Silos

โมเดลธุรกิจครอบครัวของคนตระกูลเดียวถือหุ้นร่วมกัน แต่บริหารบริษัทแบบแยกกันเป็นเอกเทศ แม้ในช่วงเริ่มต้นยังไม่เป็นเอกเทศอย่างชัดเจนก็ตาม ทว่า เมื่อบริหารกันไปสักระยะหนึ่งก็จะเกิดเป็น “พื้นที่เฉพาะ” ที่ห้ามก้าวก่ายกัน แล้วเมื่อนานวันเข้ามีทายาทธุรกิจครอบครัวเข้ามาบริหารในภายหลังก็จะกลายเป็น “พื้นที่เฉพาะ” อย่างแท้จริงที่แตะต้องไม่ได้ 

ข้อเสียคือ กรณีความขัดแย้งนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากธุรกิจครอบครัวบางสายตระกูลจะได้ดูแลในธุรกิจที่กำลังเติบโต ขณะที่อีกสายตระกูลได้ดูแลในธุรกิจที่กำลังอิ่มตัวหรือถดถอย ทั้งที่ในเบื้องต้นของการแบ่งธุรกิจให้ดูแลนั้น ทายาททุกคนมีความเป็นเจ้าของกับทุกบริษัท แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ใช่ เนื่องจากมีการพื้นที่การบริหารกันเป็นเอกเทศ จนก้าวก่ายกันไม่ได้ ซึ่งอาจบานปลายจนเกิดเป็นความบาดหมางได้

• Family Corporation

โมเดลการจัดกลุ่มบริษัทเป็นกลุ่มธุรกิจ และสร้างบริษัทโฮลดิ้งคัมพานี (Holding Company) ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เสมือนเป็น “ยานแม่” เสมือนเป็น “กงสี” ในระบบดั้งเดิม  ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของคนในครอบครัว เก็บทรัพย์สิน อำนาจ และเงิน  โดยมีสมาชิกในครอบครัวเป็นเจ้าของ มีสัญญา กฎระเบียบ ข้อตกลงทางธุรกิจ อีกทั้งมีข้อกำหนดในกรณีละเมิดเหมือนบริษัททั่วไปด้วย 

แต่เมื่อทายาทต้องการขยายตัวสู่ธุรกิจใหม่ๆ แล้วเมื่อพิจารณาเห็นว่ามีโอกาสเป็นไปได้ในทางธุรกิจ บริษัท   โฮลดิ้งก็จะเข้าถือหุ้น เพียงแต่จะถือหุ้นสัดส่วนเท่าไรก็ขึ้นกับข้อตกลงภายในครอบครัว

• Nested Business

โมเดลธุรกิจที่มีบริษัทหลัก ขณะเดียวกัน สมาชิกครอบครัวต่างฝ่ายต่างมีธุรกิจของตนเอง  หรือบางส่วนก็มีธุรกิจร่วมกัน ทั้งที่ไม่ได้มีความบาดหมางกัน แต่เป็นเพราะภายในธุรกิจครอบครัวไม่มีข้อตกลงร่วมกันในเบื้องต้นว่า ธุรกิจประเภทใดทำได้ หรือห้ามทำ จึงทำให้เกิดโมเดลนี้จึงเป็นผลประโยชน์หลักที่รวมกันเป็นบริษัทของครอบครัว มีความยืดหยุ่น แต่เมื่อเวลาผ่านไปครอบครัวก็อาจจะห่างเหินกันมากขึ้น

ธุรกิจทั่วไป ประกอบด้วยรูปแบบใดบ้าง?

รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการสามารถเลือกประกอบการได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของเงินทุนในการประกอบการ  ความพร้อมของทรัพยากร  ขนาดและประเภทธุรกิจของธุรกิจที่มีความประสงค์จะดำเนินการ

โดยทั่วไปแล้วการดำเนินธุรกิจสามารถจัดตั้งได้ 3 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบเจ้าของคนเดียว
2. รูปแบบห้างหุ้นส่วน
3. รูปแบบบริษัทจำกัด



ซึ่งรูปแบบทั้ง  3  นี้  มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป  ในการตัดสินใจนั้น  ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ  ความพร้อมและความเหมาะสมของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมเป็นหลัก



รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และผู้ก่อตั้ง Famz Co., Ltd. ให้มุมมองว่า ข้อดีที่แตกต่าง ของธุรกิจครอบครัว และสิ่งที่ทำให้ธุรกิจครอบครัวโดดเด่นกว่าบริษัททั่วไปอย่างชัดเจน ก็คือ “ปัจจัยครอบครัว” ซึ่งสามารถนำไปใช้สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจได้หากสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ถูกต้อง 

แต่ธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่มักถูกมองว่าเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งที่ความจริงแล้วธุรกิจครอบครัวสามารถเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้ เช่น JCB, Wal-Mart, BMW, ALDI เป็นต้น และมีธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จเป็นตำนานน่าประทับใจมากมาย



อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญมากกว่านั้นคือ ธุรกิจครอบครัวได้รับการยอมรับในเรื่องของการมีค่านิยมเชิงบวกที่สามารถนำประโยชน์มาสู่ภาคเศรษฐกิจและชุมชนที่กิจการตั้งอยู่ด้วย อีกทั้งแทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่หัวข้อเรียกความสนใจเกี่ยวกับความไม่ลงรอยกันของพี่น้อง การเลือกที่รักมักที่ชังหรือปัญหาระหว่างรุ่น ในอีกด้านหนึ่งยังมีคุณลักษณะเชิงบวกที่แท้จริงอยู่ในธุรกิจครอบครัวและเห็นได้จากธุรกิจครอบครัวทั่วโลกที่แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจครอบครัวเป็นพลังที่แท้จริงในการสร้างสิ่งที่ดีเช่นกัน

ประโยชน์ของธุรกิจครอบครัวโดยทั่วไปแล้วธุรกิจครอบครัวมักถูกมองว่าเป็นนายจ้างที่ดี เป็นธุรกิจที่เชื่อถือได้และเป็นที่เคารพนับถือ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อธุรกิจครอบครัวมีชื่อเสียงและสามารถดำเนินกิจการสืบต่อกันมาได้หลายชั่วอายุคนแล้ว ข้อดีของการเป็นธุรกิจครอบครัวก็จะมีมากเช่นกัน ซึ่งข้อดีเหล่านี้สามารถทำให้ธุรกิจครอบครัวมีความได้เปรียบในการแข่งขันได้ 



จุดเด่นของธุรกิจครอบครัว

• ความมุ่งมั่น กล่าวคือ สมาชิกในครอบครัวมักจะมีความมุ่งมั่นที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจครอบครัวมากกว่าพนักงานในธุรกิจทั่วไป เนื่องจากกิจการนั้น เป็นมากกว่าแค่การทำธุรกิจเพื่อแสวงหากำไร แต่เป็นมรดกต้องรักษาไว้เพื่อสืบทอดให้ลูกหลาน
• ความไว้วางใจ ธุรกิจครอบครัวมักจะมีวัฒนธรรมระหว่างสมาชิกที่เป็นคนในครอบครัว เครือญาติซึ่งช่วยให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
• วัฒนธรรมองค์กร : ธุรกิจครอบครัว มีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง ทำให้พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและมีส่วนสำคัญในการทำงานร่วมกัน



จุดเด่นของธุรกิจทั่วไป

• ความคล่องตัว เนื่องจากไม่มีข้อจำกัด ด้านความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
• ความยืดหยุ่น เพราะไม่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของสมาชิกในครอบครัว
• ความได้เปรียบในการแข่งขัน ธุรกิจทั่วไปมักจะมีความสามารถในการแข่งขันมากกว่าธุรกิจครอบครัว เนื่องจากมีความเป็นมืออาชีพและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

อย่างไรก็ดี ทั้งธุรกิจครอบครัวและธุรกิจทั่วไป ต่างก็มีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จได้รับประโยชน์จากข้อดี และมีโครงสร้างที่มีการสื่อสารชัดเจนและมีประสิทธิภาพช่วยลดความเสี่ยงจากความไม่ลงรอยกัน หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งช่วยให้สามารถมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจโดยมีเป้าหมายร่วมกันและความมุ่งมั่นที่จะได้รับผลลัพธ์ที่ถูกต้องและปราศจากข้อกังขา 



ขณะเดียวกัน การทำธุรกิจทั่วไปให้ประสบความสำเร็จ ต้องมีวิสัยทัศน์ และการบริหารงานด้วยความเข้าใจ มองเป้าหมายให้เป็นจุดเดียวกัน และไปให้ถึงเป้าหมาย เพราะธุรกิจจะขับเคลื่อนไปได้ต้องมาจากความร่วมมือร่วมใจกันของคนในองค์กร 

ติดตาม สาระดี ๆ จาก Serie ‘Family Business’ ได้ในบทความตอนหน้า

ขอบคุณข้อมูลโดย GURU รับเชิญ :  รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดี คณะวิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ ผู้ก่อตั้งบริษัท แฟมส์ จำกัด (FAMZ)

ข้อมูลเพิ่มเติม : www.famz.co.th
ธุรกิจครอบครัวคืออะไร | 5 Minute Biz Knowledge 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

เคล็ดลับเสริมแกร่งให้ธุรกิจครอบครัว ก้าวผ่านการทำงานแบบพี่น้อง ที่มีข้อจำกัดมากกว่าการบริหารธุรกิจธรรมดา

ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจครอบครัว (Family Business) คือ การส่งต่อธุรกิจครอบครัวให้แก่ผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวรุ่นต่อไป เนื่องจากผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวอาจจะเป็นทายาทธุรกิจที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกัน…
pin
107 | 27/04/2024
5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

5 อุปสรรคใหญ่ กับความท้าทายที่ธุรกิจครอบครัวต้องเรียนรู้ เพื่อ Transition สู่ยุค AI Disruption

นับตั้งแต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจครอบครัว (Family Business) จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจครอบครัวที่มีรูปแบบการดำเนินงานแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป…
pin
4995 | 09/04/2024
อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

อะไรคือกุญแจสำคัญ? ของการบริหารธุรกิจครอบครัว ให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ธุรกิจครอบครัวยุคดิจิทัล ต้องเผชิญความท้าทายจาก Disruption อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เทรนด์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคจากสถานการณ์รอบตัว…
pin
4567 | 30/03/2024
จุดแข็ง-จุดอ่อนธุรกิจครอบครัว VS ธุรกิจทั่วไป ใครได้เปรียบ เสียเปรียบ!