โฟกัส Halal Food แนวทางรุกตลาดสำหรับ SME

SME in Focus
01/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 3079 คน
โฟกัส Halal Food แนวทางรุกตลาดสำหรับ SME
banner

ตลาดอาหารฮาลาล (Halal Food) หรือตลาดอาหารสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) ทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งสามารถขยับจากการเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ไปเป็นตลาดหลัก (Mass Market) หรือตลาดที่มีผู้บริโภคเป้าหมายจำนวนมาก และหลากหลายกลุ่มได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมุสลิมโลก และกระแสบริโภคอาหารปลอดภัย ซึ่งเป็นกระแสที่มาแรงในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19

ในอนาคตคาดว่าตลาดอาหารฮาลาลโลกจะเติบโตยิ่งขึ้นตามความต้องการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และตรวจสอบแหล่งที่มาได้จากผู้บริโภคทั้งที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม และในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอาหารชั้นนำของโลก ทั้งยังมีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีการผลิตอาหารที่ทันสมัย ผู้ประกอบการสินค้าอาหารในไทยจึงไม่ควรพลาดโอกาสที่จะขยายการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ยังรุกตลาดอาหารฮาลาลไม่มากนัก เนื่องจากเผชิญข้อจำกัดด้านเงินทุนและความรู้เกี่ยวกับการผลิตสินค้าอาหารฮาลาล ประกอบกับการที่ไทยไม่ใช่ประเทศมุสลิม ยิ่งทำให้อาหารฮาลาลของไทยมักไม่ได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะในตลาดที่เคร่งครัดกับแนวคิดและความเชื่อทางศาสนา

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

แนวทางการรุกตลาดฮาลาลสำหรับ SME

ผู้ประกอบการไทยอาจใช้กลยุทธ์ค่อยๆ แทรกตัวเข้าสู่ตลาดแทนการประกาศตัวอย่างชัดเจน โดยกลยุทธ์รุกตลาดอาหารฮาลาล แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านผู้ซื้อ (People) และด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการ (Promotion) หรืออาจเรียกว่ากลยุทธ์ 3P ดังนี้

1. กลุ่มอาหารฮาลาลโดยธรรมชาติ (Natural Halal) อาทิ ผัก ผลไม้ อาหารทะเล และน้ำตาลทราย ผู้ประกอบการที่เริ่มบุกเบิกตลาดอาหารฮาลาล หรือมีงบประมาณจำกัด ควรเริ่มต้นทำตลาดด้วยสินค้ากลุ่มนี้ เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคมีความเชื่อว่าเป็นฮาลาลอยู่แล้ว อาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาตรารับรองมาตรฐานฮาลาลบนบรรจุภัณฑ์ซ้ำอีก ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการขอรับการรับรองฮาลาล

2. กลุ่มอาหารฮาลาลโดยการรับรอง (Halal Certification) อาทิ เค้ก โดนัท อาหารสำเร็จรูป เหมาะกับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผ่านการรับรองมาตรฐานฮาลาล รวมถึงมีความเข้าใจในความต้องการและรสนิยมการบริโภคอาหารฮาลาลของผู้บริโภค

3. อาหารฮาลาลที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่นอาหารฮาลาลเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) อาทิ อาหารฮาลาลเพื่อสุขภาพ เนื่องจากแนวโน้มของกระแสรักสุขภาพที่ขยายวงกว้างขึ้น จนอาจก้าวขึ้นเป็นสินค้าที่นิยมกันโดยทั่วไปได้ในอนาคต ตัวอย่างสินค้าในกลุ่มนี้ อาทิ ธัญพืชเสริมวิตามิน เครื่องดื่มเสริมกรดอะมิโน และสแน็กบาร์เสริมโปรตีน

ผู้ประกอบการอาจใช้ช่องทาง e-Commerce และ Social Media เป็นช่องทางประชาสัมพันธ์สินค้าหรือทำการตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในตลาดเป้าหมาย เนื่องจากเป็นช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ในวงกว้าง หรืออาจใช้ Influencer ที่มีชื่อเสียงในประเทศนั้นๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของตนรวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคที่เป็นวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงและนิยมติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านทาง Social Media ทั้งยังมีแนวโน้มจะเปิดรับอาหารฮาลาลสไตล์ต่างชาติมากกว่าผู้บริโภคช่วงวัยอื่น

มีการประเมินว่าจากนี้เป็นต้นไป ตลาดอาหารฮาลาลโลกมีแนวโน้มจะเข้ามามีบทบาทและทวีความสำคัญต่อผู้ประกอบการอาหารทั่วโลกมากขึ้นเรื่อยๆ จากหลายๆ ปัจจัย โดยแม้ผู้ประกอบการสินค้าอาหารจะไม่ใช่ผู้ประกอบการมุสลิม หรือประเทศผู้ผลิตสินค้าอาหารจะไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่เป็นเทรนด์การบริโภคอาหารที่เน้นคุณค่าและสุขภาพมากขึ้นในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม (Non-OIC) อีกหลายประเทศ ที่อาจเป็นตลาดส่งออกอาหารฮาลาลที่น่าสนใจ เนื่องจากมีจำนวนประชากรมุสลิมอยู่มาก หรือเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายท่องเที่ยวของชาวมุสลิม ซึ่งปัจจุบันบางประเทศในกลุ่มนี้เป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารของไทยอยู่แล้ว

ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในประเทศดังกล่าวแม้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม ก็มีแนวโน้มจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เป็นฮาลาลมากขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อมั่นว่าอาหารฮาลาลสะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ และกล่าวได้ว่านี่จึงเป็นอีกเทรนด์ที่ผู้ผลิตอาหารต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

 

แหล่งอ้างอิง :

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK)

 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

“เทวาศรม เขาหลัก” มอบสุนทรียะแห่งการพักผ่อน  ด้วยกลยุทธ์ Experience-Driven Hospitality ที่สร้างเอกลักษณ์เหนือระดับ

“เทวาศรม เขาหลัก” มอบสุนทรียะแห่งการพักผ่อน ด้วยกลยุทธ์ Experience-Driven Hospitality ที่สร้างเอกลักษณ์เหนือระดับ

เป็นที่รู้กันว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมในประเทศไทยมีการแข่งขันสูงเพียงใด ทว่า “เทวาศรม เขาหลัก” ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในรีสอร์ตหรูที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล…
pin
3 | 09/05/2025
“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)”  เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

“บริษัท อาร์ แอนด์ บี ฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน)” เปลี่ยนอนาคตอุตสาหกรรมอาหารด้วยกลยุทธ์ ESG

ในโลกของอุตสาหกรรมอาหาร การจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ต้องอาศัยวัตถุดิบคุณภาพสูงเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งบริษัทที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็วและพร้อมที่จะปรับตัวสู่แนวทางที่ยั่งยืน…
pin
8 | 29/04/2025
การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่”  ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

การเดินทางของ “น่านดูโอ คอฟฟี่” ผู้บุกเบิกกาแฟโรบัสต้าจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ พร้อมเคล็ดลับการหาช่องว่างในตลาดกาแฟ

ถ้าพูดถึงเครื่องดื่มคู่ใจสำหรับวัยทำงานคงหนีไม่พ้น “กาแฟ” ด้วยกลิ่นหอมละมุน รูปแบบการคั่วเมล็ดหลากหลายตามความชอบ เกิดเป็นรสชาติที่ทำให้หลายคนติดใจ…
pin
14 | 18/04/2025
โฟกัส Halal Food แนวทางรุกตลาดสำหรับ SME