วิธีจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน (Renewable)

SME Update
18/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 4646 คน
วิธีจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน (Renewable)
banner

Renewable เป็นหัวใจสำคัญในการจัดการทรัพยากรต่างๆ ของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรนั้นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำใหม่ได้อย่างมีศักยภาพ เพื่อลดการใช้อย่างสิ้นเปลือง ลดการเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อม และลดจำนวนของเสียที่เหลือค้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่การไม่มีของเสียหลงเหลืออยู่ในขบวนการผลิตหรือวงจรการใช้งานอีกเลย

โดยจัดการกับวัสดุต่างๆ ที่ยังใช้งานได้ในวงจรการผลิตหรือกระบวนการใช้งาน ให้เป็นวัตถุดิบที่ยังมีประโยชน์ต่อการนำไปสู่การผลิตชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์และบริการ ผ่านการรีไซเคิล การปรับปรุงใหม่ การผลิตใหม่ การใช้ซ้ำ การกระจายวัตถุดิบใหม่ การบำรุงรักษา การยืดอายุ และการแบ่งปัน เพื่อให้วัสดุนั้นเกิดการรั่วไหลไปนอกระบบน้อยที่สุดและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด รวมถึงมีการจัดทรัพยากรหมุนเวียนผ่านการใช้ใหม่ตามสภาพ เช่นนำวัสดุนั้นไปทำเป็นปุ๋ยในไร่นา นำไปสกัดสารเคมีชีวภาพ นำไปหมักย่อยแบบไร้อากาศเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) สร้างทรัพยากรทดแทนให้แก่โลก

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การใช้ทรัพยาการหมุนเวียนนั้นจะอยูบนพื้นฐานแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อนำไปสูความยั่งยืน ใน 8 หลักการที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิตไปจนถึงปลายทางการใช้งาน ก่อนหมุนกลับสู่การผลิตอีกครั้ง ได้แก่

1. Durability การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น โดยเพิ่มความคงทน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการลดใช้ทรัพยากร หรือลดของเสียจากซากเหลือทิ้ง

2. Renewability การผลิตหรือการออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ โดยนำวัสดุที่ประกอบด้วยชีวมวลที่มาจากสิ่งมีชีวิต หรือที่สามารถสร้างทดแทนได้อย่างต่อเนื่องมาใช้ในการผลิต

3. Reuse การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้งตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์นั้นๆ

4. Repair การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้สามารถทำการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ เมื่อเกิดความเสียหาย เป็นการยืดอายุการใช้งาน

5. Replacement การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อเปลี่ยนหรือทดแทนการใช้วัสดุแบบเดิม ที่อาจใช้ได้ครั้งเดียวหรือมีสารอันตราย เป็นการใช้วัสดุทางเลือกหรือการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตเข้ามาแทน

6. Upgrade การเพิ่มประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์บางชิ้นของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ใช้งานได้ทันสมัย โดยไม่ต้องผลิตใหม่หรือทิ้งเป็นขยะ

7. Refurbishment การซ่อมแซมหรือปรับปรุงสินค้าที่ได้รับความเสียหาย มีตำหนิ ที่สามารถส่งคืนกลับไปยังผู้ผลิต พร้อมรับการตรวจสอบตามมาตรฐานของโรงงานอีกครั้งหนึ่ง ก่อนนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้ง

8. Reduced Material Use การผลิตหรือออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดปริมาณวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต การจัดจำหน่าย การกระจายสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องบริการ

การจัดการตามแนวทางของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนดังกล่าว จะทำให้ต้นทุนสินค้าต่ำและสร้างมลภาวะสู่โลกน้อยลง อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนสินค้าบางชนิดที่เป็นทรัพยากรและวัสดุหายาก จากการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด

การจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียนที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน

1. การจัดการด้านพลังงาน ทำให้เกิดพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) จากแหล่งที่สามารถกำเนิดพลังงานขึ้นมาเองได้ แล้วสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้อีก แบบไม่ส่งผลหระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตกระแสไฟ้ฟ้าด้วยพลังงานลม น้ำ แสงอาทิตย์ หรือการนำวัสดุที่เหลือจากขบวนการผลิตและใช้งานมาทำให้เกิดพลังงาน เช่น การผลิตก๊าซใช้ในครัวเรือนจากแก๊สที่ได้โดยการหมักมูลสัตว์ ,การนำน้ำมันพืชที่ใช้งานแล้วมาผลิตเป็นไบโอดีเซล หรือนำพลังงานความร้อนจากเคมีไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์

2. การจัดการแบบ Upcycle and Recycle เป็นการจัดการวัสดุเหลือใช้หรือวัสดุใช้แล้วแบบทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยอัพไซเคิล (Upcycle) เป็นกระบวนการแปลงสภาพของวัสดุหรือสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาเปลี่ยนเป็นวัสดุใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับวงจรการใช้งานเดิมของวัสดุนั้น ผ่านการออกแบบเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เช่น การแปรรูปขยะจากพลาสติกถุงปุ๋ย การนำถุงปุ๋ยมาทำเป็นกระเป๋าดีไซน์สวยงาม การนำขวดพลาสติกมาผลิตเป็นโคมไฟประดับแต่งสถานที่ การนำกะลามะพร้าวที่เหลือจากการแปรรูปมะพร้าวมาผลิตจานชามของตกแต่งบ้าน การนำเสื้อยืดเก่ามาปรับเปลี่ยนเป็นถุงผ้า เป็นต้น

สำหรับการรีไซเคิล (Recycle) คือ การนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เป็นการส่งคืนวัสดุกลับสู่กระบวนการผลิต ผ่านวงจรของการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันแทนการทิ้งวัสดุเหล่านั้นไป เช่น การรีไซเคิลกระดาษที่สามารถรีไซเคิลกลับมาเป็นกระดาษเพื่อใช้ในการพิมพ์ หรือเปลี่ยนไปเป็นกระดาษแข็งสำหรับใช้งานบรรจุภัณฑ์ แบบเกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือการนำวัสดุที่แตกหักเสียหายกลับเข้าสู่กระบวนการแปรรูป เช่น การหลอมขวดแก้วใบเก่าให้เป็นขวดแก้วใบใหม่ และการนำวัดุเหลือใช้ทางการเกษตรกรคืนสู่พื้นที่การเกษตรในรูปแบบใหม่ เช่น การนำชิ้นส่วนพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตไปหมักเป็นปุ๋ย แล้วนำกลับไปบำรุงพืช บำรุงดินอีกครั้งหนึ่งเป็นต้น

 

แหล่งอ้างอิง

https://dict.longdo.com/

https://www.scimath.org/

https://www.greennetworkthailand.com/

https://www.expressplaspack.com/

 

 

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อ Bualuang Green<< 


BCG โมเดล สานพลังเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

วงการพลาสติกเจอทางแยก ชีวภาพ- รีไซเคิล แบบไหนคือยั่งยืน?


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1678 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1923 | 25/01/2024
วิธีจัดการทรัพยากรแบบหมุนเวียน (Renewable)