How To Trip Camping สุดฟินที่เขาใหญ่

Edutainment
04/12/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3313 คน
How To Trip Camping สุดฟินที่เขาใหญ่
banner

ลมหนาวมาแล้ว สถานที่ป่าเขา อุทยาน เริ่มมีความคึกคัก ต้อนรับนักท่องเที่ยวสายธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ เขาใหญ่ พร้อมกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง กับจำนวนนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเปลี่ยนกันเข้าไปตั้งแค้มป์ กางเต็นท์ นอนพักแรม รับลมหนาวอิงแอบธรรมชาติในช่วงวันหยุดยาวและวันหยุดสุดสัปดาห์ นับตั้งแต่เขาใหญ่กลับมาเปิดให้บริการวันแรกเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา จากการปิดยาวช่วงโควิด 19 แพร่ระบาด ซึ่งปีนี้การท่องเที่ยวเขาใหญ่จะเปลี่ยนไป จากระบบการจัดการนักท่องเที่ยวที่ทางอุทยานเขาใหญ่กำหนด ซึ่งมีการเตรียมเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่คอยดูแลนักท่องเที่ยวตามเส้นทางต่างๆ อย่างใกล้ชิด ภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไข การพักแรมท่องเที่ยวภายในพื้นที่อุทยานอย่างเคร่งครัด ดังนี้

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

1. จองคิวการท่องเที่ยวผ่านแอพลิเคชั่น QueQ ก่อนเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว ในส่วนของการจองคิวอุทยานแห่งชาติ 155 แห่ง โดยระบุชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงจำนวนผู้ที่จะเดินทางก่อนเข้ามาท่องเที่ยวให้ครบถ้วน เพื่อป้องกันการหลุดคิวหรือไม่ได้เข้าเที่ยวชม เนื่องจากอุทยานจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวไว้ไม่เกินวันละ 5,000 คน

2. ลดความเร็วขณะขับรถในพื้นที่อุทยานฯ 30-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เนื่องจากช่วงปิดอุทยานที่ผ่านมา เกิดความเงียบสงบจนมีสัตว์ป่าออกมาเดินเล่น หากิน โซนถนน หรือโซนที่ไว้รองรับนักท่องเที่ยว และยังไม่ชินกับการมีคนเข้ามา ดังนั้นเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตสัตว์ป่าและนักท่องเที่ยว ควรขับรถด้วยความระมัดระวังและลดความเร็วลงตามที่อุทยานกำหนด

3. ต้องเช็คอิน-เช็คเอ้าท์ในระบบ “ไทยชนะ” หรือลงทะเบียนรายชื่อนักท่องเที่ยวเป็นรายบุคคลทุกครั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อเจ้าหน้าที่ในการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่ พร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจวัดอุณหภูมิ

4. สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา ในขณะที่ท่องเที่ยวในอุทยานฯ  หากไม่สวมใส่ทางอุทยานฯ จะไม่ให้เข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด

5. จำกัดพื้นที่กางเต็นท์ตามพื้นที่ทางอุทยานกำหนด สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการนอนพักค้างแรม กางเต็นท์ตั้งแคมป์ในอุทยาน ควรกางเต็นท์และอยู่ในพื้นที่ที่ทางอุทยานกำหนด ให้ในตารางเชือกขึงขนาด 4x4 เมตร เพื่อจำกัดระยะห่างของเต็นท์พักแรม พร้อมกับคุมเข้มมาตรการด้านสาธารณสุข และควรพักอาศัยด้วยความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อย ในส่วนของสถานที่ท่องเที่ยวและลานกางเต็นท์ เช่น ลำตะคอง ผากล้วยไม้ ที่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเหลือเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น โดยลานกางเต็นท์ลำตะคอง รองรับได้ 800 คน ส่วนบริเวณผากล้วยไม้รองรับได้ 700 คน

6. นักท่องเที่ยวที่มาไหว้สักการะศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ ให้จอดรถบริเวณด้านหน้าอุทยานแล้ว เดินเท้าเข้าไปยังจุดคัดกรอง ก่อนเข้าไปไหว้ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ โดยนักท่องเที่ยวในส่วนนี้ทางอุทยานจะไม่นับจำนวนรวมกับนักท่องเที่ยวที่จะขึ้นไปพักค้างแรมบนอุทยานฯ

สำหรับสายแคมป์ปิ้งที่ต้องการเสพสุขจากการตั้งแคมป์ท่องเที่ยวรับลมหนาวชนเขาใหญ่ ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันหยุดยาว ควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อการออกทริปในครั้งนี้ แบบไม่เสี่ยง เลี่ยงเชื้อโรค ด้วยข้อแนะนำ ดังนี้

1. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตั้งเต็นท์ไปให้ครบ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น แม้ทางอุทยานฯ จะมีให้เช่าก็อาจไม่เพียงพอกับความต้องการหรือจำนวนนักท่องเที่ยวได้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้าไปใช้บริการในช่วงเวลาเดียวกัน และมาตรการในการจัดการเรื่องเชื้อโรค ที่อาจปลอมปนติดมากับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ให้บริการเช่า

2. อุปกรณ์เสริมไม่ควรขาด อาทิเช่น

- ฟลายชีทและเสาฟลายชีท เผื่อไว้มีที่นั่งเล่นหน้าเต็นท์

- สมอบกสำรอง เอาไว้เป็นอะไหล่เสริม เผื่อหาย ตกหล่น เพราะถ้าขาดหายไป จะหาอะไหล่แทน ณ เวลานั้นยาก

- เชือกสำรอง 10-20 เมตร

- เตาปิคนิก–แก๊สพกพา ถ่านหุงต้ม และอุปกรณ์ครัว จาน ชาม ช้อน ส้อม เพื่อสร้างบรรยากาศแคมป์ปิ้งแบบสมบูรณ์แบบ

- เก้าอี้ หรือเสื่อ เพื่อปูนั่งเล่นหน้าเต็นท์

3. ไฟฉาย ไฟชาร์ต power bank เอาไว้ใช้ให้แสงสว่างระหว่างการเดินในอุทยานฯ นอนเต็นท์ และชาร์ตมือถือ

4. เข้าพื้นที่อุทยานให้ไวในช่วงวันหยุด เพื่อหลีกเลี่ยงรถติด หาพื้นที่ตั้งแคมป์ หรือพื้นที่จอดรถได้ยาก ในจังหวะที่นักท่องเที่ยวเข้ามาใช้บริการในพื้นที่อุทยานมาก

5. เตรียมของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นติดไปให้ครบ เช่น ยาแก้แพ้ ท้องเสีย พาราเซตามอล ผ้าอนามัย ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ฯลฯ เพื่อให้การพักแรมแคมป์ปิ้งเป็นไปอย่างราบรื่น เพราะถึงแม้ในพื้นที่อุทยานจะมีจำหน่าย แต่เชื่อเถอะว่าไม่ได้ตรงความต้องการเสมอไป

5. ทิชชู่แห้ง–เปียก/เจลแอลกอฮอล์ ควรติดตัวไว้เพื่อช่วยทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในเบื้องต้น ในส่วนที่ต้องใช้พื้นที่ส่วนรวมร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ

6. ถุงขยะ /ลดขยะพลาสติก การลดใช้ขยะพลาสติก ยังคงเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวสายกรีนควรตระหนัก เพื่อลดมลภาวะที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ควรสร้างความเสียหายให้ธรรมชาติด้วยการทิ้งขยะไว้เบื้องหลัง

7. อุปกรณ์ป้องกันความหนาวเย็น ที่เขาว่ายิ่งสูงยิ่งหนาว นั้นเป็นเรื่องจริง แต่การขึ้นเขา นอนภู ช่วงหน้าหนาว นอกจากจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศและความหนาวเย็นแล้ว ยังต้องเจอกับน้ำค้างยามดึก ที่ลงมาหนักอีกด้วย ดังนั้น ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ เสื้อกันหนาว ควรนำติดไปด้วย แม้จะไม่ใช่การขึ้นไปพักค้างแรมในหน้าหนาวก็ตาม 


10 ข้อห้ามสายแคมป์ปิ้งควรระวังในการนอนเต็นท์

ขึ้น 5 ภู ดูเมฆหมอก หยอกลมหนาว


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ตรุษจีนยุคใหม่ไร้ Foodwaste เคลียร์ของไหว้เป็นเมนูเด็ด แถมลดโลดร้อน

ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมยังคงเป็นประเด็นที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะยิ่งนับวัน การคืบคลานเข้ามาของสภาวะโลกร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลายภาคส่วน…
pin
766 | 07/02/2024
‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

‘เวียดนาม’ โตไวในธุรกิจรักษ์โลก ไทยอยู่อันดับเท่าไหร่ในตลาดอาเซียน

จากข้อมูลโดย ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sdgmove)  ระบุว่า เดือนเมษายน ปี 2565 ที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามเผยแพร่ยุทธศาสตร์ชาติ…
pin
10699 | 26/10/2023
#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

#กินเจ2566 เช็ค 8 สถานที่ใกล้ตัว งาน‘เทศกาลกินเจ 2566’ อิ่มท้อง อิ่มใจ ได้บุญ

ช่วงเวลาของสายบุญ ที่จะเวียนมาปีละครั้ง สำหรับเทศกาลกินเจ หรือ ประเพณีถือศีลกินผัก ตามประเพณีแบบลัทธิเต๋า รวม 9 วัน โดยกำหนดวันตามจันทรคติ…
pin
13194 | 03/10/2023
How To Trip Camping สุดฟินที่เขาใหญ่