เพราะไม่มีใครอยากพบเจอเรื่องราวแย่ๆ ที่มีผลด้านลบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ทั้งในเรื่องส่วนตัวและการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานเล็กจ้อยแค่ไหน ทุกคนอยากได้คุณค่าความสำเร็จจากสิ่งที่ทำด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสุขจากการลงมือทำงาน หรือผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ รวมถึงการมีงานการมั่นคงทำไปตลอดชีวิต แต่ในชีวิตความเป็นจริงไม่มีอะไรราบลื่นเสมอไป สิ่งที่คิดว่าแน่นอน มั่นคง ย่อมมีวันที่เดินมาสู่ความไม่มั่นคงแน่นอน หากไม่เตรียมใจ เตรียมการณ์รับมือไว้เสียแต่เนิ่นๆ ก็อาจทำให้จมอยู่กับความเสียใจ จิตตก ลดคุณค่าตัวเอง กลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้ายและไม่สามารถลุกขึ้นสู้ใหม่ได้เลย ฉะนั้นแล้วนี่คือวิธีรับมือกับด้านแย่ของการทำงานได้ดี หากวันหนึ่งหรือวันนี้ต้องเผชิญด้านแย่ๆ เหล่านี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
1. ตกงาน คือความย่ำแย่ที่เลวร้ายที่สุดของชีวิตการทำงาน เพราะบางทีเรื่องเหล่านี้ก็ไม่ได้อยู่ในแผนการณ์ที่วางไว้
และเข้ามาแบบกระทันหันไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ
คนที่เจอเหตุการณ์แบบนี้จึงเกิดสภาวะเสียความเป็นตัวของตัวเอง หมดกำลังใจ จิดหดหู่
ซึมเศร้า ไม่รู้จะทำอย่างไรดี ซึ่งสตีฟ จ็อบส์ ก็คนหนึ่งที่ถูกไล่ออกจากงานที่บริษัทแอปเปิ้ลที่เขาเป็นคนก่อตั้ง
แต่เขากลับคิดว่า “การถูกไล่ออกนั้นเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับตัวเขา”
เพราะทำให้เขามีอิสระ เปิดโอกาสได้คิดทำอะไรอย่างใจได้เต็มที่
และทำให้เขาประสบความสำเร็จในการจัดตั้งบริษัทการ์ตูนแบบแอนิเมชันและการสร้างไปไปพ็อด ฉะนั้นแล้วหากต้องตกงานขึ้นมา
อย่ามัวแต่จมอยู่กับสิ่งที่เสียไปที่เป็นความเคยชิน ให้ปรับความคิด ลุกขึ้นสู่ แล้วมองว่าเป็นโอกาสที่จะได้เริ่มต้นใหม่สู่สิ่งที่ดีกว่าอีกครั้งหนึ่ง
ที่อาจเปลี่ยนชีวิตเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่าไปตลอดกาล
2. เมื่อผลงานถูกปฏิเสธ ให้คิดว่าการที่ผลงานถูกปฏิเสธในครั้งแรก
จะทำให้เกิดความเพียรพยายามและทำสิ่งต่างๆ ได้ละเอียดรอบครอบกว่าเดิม
ซึ่งจะทำให้ชีวิตเกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ที่ดีขึ้น
และทำให้เกิดการพิจารณาตามความเป็นจริงได้ว่า
ผลงานที่ได้รับการปฏิเสธมานั้นอาจไม่ใช่ผลงานที่ย่ำแย่ หากแต่อาจเป็นการนำเสนอไม่ตรงประเด็นหรือไม่ตรงความต้องการของคนที่เราไปนำเสนอ
แล้วลองปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือนำเสนองานให้ตรงกลุ่มคนเป้าหมายใหม่
บนความพยายามต่อไปก็จะทำให้ประสบสุขสำเร็จได้เช่นกัน
3. เพื่อนได้เงินเดือนและโบนัสมากกว่า เรื่องนี้มีผลต่อจิตวิทยาคนทำงาน ที่ทำให้ฝ่าย HR ของทุกบริษัท ต้องขอความร่วมมือจากพนักงานให้รักษาความลับเรื่องฐานเงินเดือนไว้
โดยไม่แพร่งพรายให้คนอื่นในบริษัทได้ทราบ
เพื่อป้องกันการเกิดข้อพิพาทบาทหมางของคนที่ทำงานอยยู่ในระดับตำแหน่งเดียวกัน
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามเราได้ทราบอัตราการจ้างงานของคนทำงานในระดับเดียวกันแล้วเกิดอาการจิตตก
ไม่พึงพอใจ ก็ให้ปรับความคิดกลับมาโฟกัสที่การเปรียบเทียบรายรับของตัวเอง กับผลงานหรือความรับผิดชอบที่ทำ
หากพบว่าการทำงานของเรายังไม่เก่ง
ไม่ดีเท่าคนที่ได้เงินทำงานในแบบเดียวและได้เงินเดือนโบนัสเยอะกว่า
ก็ให้ยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเพราะเราไม่เก่งเท่าเขา
เขาได้มากกว่าเราก็สมควรเหมาะสมแล้ว
และพิจารณาว่ารายรับที่เราได้มานั้นเพียงพอคุ้มค่าต่อความเหน็ดเหนื่อยที่ทุ่มเทไปแล้วหรือไม่
ถ้าคิดว่ายังไม่เพียงพอ เกิดความโอนเอียงจากการประเมินผลงาน ทั้งที่เราทำงานหนักกว่า
เก่งกว่า รับผิดชอบมากกว่า
การก้าวออกมาหางานที่เขาต้องการคนคุณภาพแบบเราไปช่วยก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่าเช่นกัน
4. ทำงานผิดพลาดล้มเหลว เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดข้อผิดพลาดล้มเหลวในตำแหน่งหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ
แต่ถ้ามันได้เกิดขึ้นแล้วจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม
จงใช้ความเข้มแข็งในการเผชิญหน้ารับผลของสิ่งนั้นๆ เอาไว้ด้วยความเต็มใจ
และอย่าเสียความเคารพและความเชื่อมั่นในตัวเองไป
เพียงเพราะความผิดพลาดที่ไม่ได้ตั้งใจ หรือความผิดในครั้งแรก จากนั้นพิจารณาหาจุดด้อยที่ทำให้งานผิดพลาด
วิเคราะห์และสรุปออกมาเป็นรายข้อว่าเกิดจากอะไร ถ้าเกิดที่เราจงเร่งปรับปรุงแก้ไข
โดยใช้ความล้มเหลวผิดพลาดในครั้งนี้เป็นบทเรียน หากผิดพลาดจากคนอื่นหรือสิ่งอื่น
จงรอบครอบในการทำงานร่วมด้วย และหาทางรับมือ เพื่อปรับปรุงการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นให้เป็นไปได้ด้วยดี
แบบต้องร่วมระมัดระวังความผิดพลาดจากผู้อื่นด้วย
5. งานหนักงานยาก หากต้องเผชิญกับการทำงานที่ยากลำบากและเหนื่อยหนัก ให้พิจารณาว่านี่เป็นบททดสอบที่มีเอาไว้เพื่อทดสอบคนเก่ง
มากความสามารถ เพราะในการว่าจ้างงานของนายจ้างนั้น อยู่บนพื้นฐานความเชื่อมั่นในฝีมือความสามารถของเราอยู่แล้ว
ว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาให้เขาได้ ดังนั้นจงทำให้เต็มที่ เพราะโอกาสอันดีบางทีก็มาพร้อมกับงานเหนื่อยหนักและความยากของงานด้วยเช่นกัน
และจงตระหนักว่า เพราะขึ้นชื่อว่า “งาน” ไม่มีงานใดที่ทำแล้วไม่เหนื่อย หรือเบาสบายอย่างแท้จริง
6. ทำงานไม่มีความสุข เป็นประเด็นสำคัญที่พบเจอบ่อยในคนทำงานทุกช่วงวัย เพราะไม่ใช่เรื่องของเนื้องานเพียงอย่างเดียวที่ทำให้ใจคนเราไม่อิ่มสุขในการทำงาน หากแต่ยังเกี่ยวพันกับเพื่อนร่วมงาน สังคมการทำงาน รูปแบบขององค์กร วัฒนธรรมในองค์กร และเจ้านายด้วย ฉะนั้นแล้วถ้าเมื่อใดก็ตามใจเริ่มไม่มีความสุขกับงานที่ทำ ให้พิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าเรามาทำงานนี้เพราะอะไร เพราะเงินเดือนจูงใจ เพราะชื่อเสียงขององค์กร เพราะรักชอบงานที่ทำใช่หรือไม่ ถ้าตอบว่าใช่ได้สักหนึ่งจากทุกข้อที่ได้ถามใจตัวเองแล้ว ก็ให้เอาจิตไปจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้นๆ อย่างขอบคุณ แล้วจะทำให้ใจเกิดมุมมองใหม่ มีความรักในสิ่งที่ทำขึ้นมาได้โดยไม่ต้องวิ่งเปลี่ยนหาที่ทำงานใหม่เรื่อยไป แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามไม่สามารถให้คำตอบกับตัวเองได้ว่ามาทำงานนี้เพราะอะไร ก็ให้เดินจากมาหางานใหม่ที่ให้คำตอบและแรงจูงใจที่จะทำงานนั้นๆ ได้จะดีต่อสุขภาพจิตใจมากกว่า