ความท้าทายตลาดส่งออก “กัญชาทางการแพทย์”

SME Update
18/09/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4494 คน
ความท้าทายตลาดส่งออก “กัญชาทางการแพทย์”
banner

ไม่ใช่เพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ตื่นตัวเรื่องการใช้ "สารสกัดกัญชาทางการแพทย์" แต่กระแสนี้ได้กลายเป็นเทรนด์ธุรกิจในหลายๆ ประเทศอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งในแถบสหภาพยุโรป หรือแม้แต่แคนาดา

โดยในแคนาดากระแสการตื่นตัวเรื่องกัญชาทางการแพทย์ถูกปลุกขึ้นมาเมื่อ 3 ปีก่อน ด้วยการสนับสนุนของภาครัฐที่ผลักดันให้มีการผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้มีการปลูกและใช้กัญชาสำหรับความบันเทิงและสันทนาการ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ผ่านการรับรองสามารถใช้กัญชาเป็นส่วนผสมในอาหารได้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2562 โดยมีกำหนดจะเริ่มวางตลาดในเดือนธันวาคม 2562

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


กระทรวงสาธารณสุขแคนาดา (Health Canada) เป็นหน่วยงานหลักที่กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข ขณะที่ Public Health Agency of Canada จะเป็นหน่วยปฏิบัติการณ์ที่ออกกฎระเบียบและแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งถือแม้ว่าจะมีการอนุญาตให้มีการใช้กัญชาเป็นส่วนผสมอย่างถูกกฎหมาย แต่ก็มีการตีกรอบว่าหากจะมีการผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมจากกัญชาจะต้องแยกออกจากวิธีการผลิตปกติ จึงจะสามารถขออนุญาตผลิตได้

โดยจะมี Canadian Food Inspection Agency (CFIA) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ซึ่งมีพนักงานรวมกว่า 3,200 คน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีกฎระเบียบและการวางแนวทางปฏิบัติอย่างรัดกุม แต่ทว่าในทางปฏิบัติก็ยังเกิดปัญหาจากขั้นตอนการตรวจสอบที่ยังไม่เข้มงวดหรือยังไม่ชัดเจนเพียงพอ หรือแม้แต่การประสานงานในการตรวจสอบระหว่างผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่

ที่สำคัญกติกาที่กำหนดให้แยกกระบวนการผลิตสินค้าที่มีกัญชาออกจากการผลิตปกติ ถือเป็น กำแพงสำคัญในการเข้าสู่ตลาด ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ตามผลศึกษาของมหาวิทยาลัย Dalhousie สำรวจพบว่า ชาวแคนาดาสัดส่วน 71% สนใจที่ทดลองสินค้าที่มีส่วนผสมจากกัญชา

อย่างไรก็ตาม อีกด้านหนึ่งยังมีการวิจัยผลกระทบจากผลข้างเคียงของกัญชาในการนำมาผสมในอาหาร โดยมหาวิทยาลัย McGill และ บริษัท The 3C Global Cannabis Innovation Centre ซึ่งหากได้ข้อสรุปออกมาชัดเจนก็จำเป็นต้องมีการนำมาปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบัน


การผ่านร่างกฎหมายนี้ถือเป็นก้าวแรกขของการเปิดตลาดกัญชา สร้างโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากการผ่านร่างกฎหมายให้สามารถใช้สารสกัดกัญชาได้ โดยจะต้องเตรียมพัฒนาสินค้าที่ที่มีส่วนผสมของกัญชา เพื่อเข้าสู่ตลาดที่มีแนวโน้มจะเติบโตไปถึง 67,000 ล้านบาท ในปี 2563

ขณะที่ตลาดในฟากยุโรป "เยอรมนี" ถือเป็นตลาดที่เปิดเสรีต่อสารสกัดจากกัญชาเช่นกัน โดยขณะนี้รัฐบาลเยอรมนี โดย Office of Drug Control (ODC) อนุญาตให้ผู้ประกอบการชาวออสเตรเลีย ชื่อบริษัท Australian Natural Therapeutics Group (ANTG) ปลูกกัญชาเชิงพาณิชย์ได้ คาดว่าอีก 1 ปี ทางบริษัทจะสามารถผลิตกัญชาเพื่อการส่งออกให้กับผู้ผลิตกัญชาทางการแพทย์สหภาพยุโรป Cannamedical Pharma ได้ถึง 2 ตัน

ตามข้อมูลระบุว่า ในปี 2561 มีผู้ป่วย 30,000 รายที่ต้องใช้กัญชานำเข้าประมาณ 22,000 กิโลกรัม และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะจากการวิจัยของบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจที่ชื่อ Prohibition Partner คาดว่าตลาดกัญชาททางการแพทย์จะมีมูลค่า 7,700 ล้านยูโรในปี 2571  

สำหรับในออสเตรเลียซึ่งเป็นแหล่งปลูกกัญชาหลักเพื่อส่งออกมายังสหภาพยุโรปนั้น เดิมในปี 2561 มีผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาสำหรับทางการแพทย์ประมาณ 12 รายแล้ว ทั้งนี้ ระบบการปลูกภายในออสเตรเลียกำหนดให้เป็น "ระบบปิด" และต้องกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนผู้ป่วยที่จะใช้สารสกัดกัญชาก็จะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์ ซึ่งมีประมาณ 1 แสนคน มีความต้องการใช้ปริมาณ 5-10 ตัน สำหรับผลิตเป็นยาเม็ด น้ำมันสกัด สเปรย์ และสารละลาย ส่วนที่เหลือรัฐบาลออสเตรเลียอนุญาตให้ส่งออกกัญชาได้ แต่มีการคุมเข้มด้านคุณภาพ จนทำให้กัญชาออสเตรเลียเป็นที่ยอมรับในตลาดสากล 


ขณะที่ประเทศไทยเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องนี้ โดยล่าสุดรัฐบาลผลักดัน "กัญชง" ให้เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ก่อน "กัญชา" โดยปรับประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และ ประกาศคณะกรรมการควบบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง กำหนดลักษณะกัญชง (HEMP) พ.ศ.​2562 มีผลบังคับใช้

เหตุผลที่อนุญาตให้กัญชงก่อนกัญชา เนื่องจากสาร THC ที่มีผลต่อจิตประสาทต่ำกว่ากัญชา จึงมีโอกาสติดน้อยกว่า และสารซีบีดี (Cannabidiol : CBD) ซึ่งมีคุณค่าทางการแพทย์สูงกว่า สามารถนำมาใช้ผลิตอาหาร เครื่องสำอาง สมุนไพรได้

อย่างไรก็ตาม โอกาสการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ยังไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจาก กัญชง ก็ยังถือเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 ยังต้องมีการขออนุญาต ควบคุมการปลูกและการผลิต และต้องใช้เมล็ดพันธุ์รับรองและขึ้นทะเบียนตามกฎหมายพันธุ์พืช ซึ่งมีส่วนผสมของสาร THC ไม่เกิน 0.3% ยังค่อนข้างเข้ม ถือเป็นความท้าทายในการขยายการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้

สวทช. อัพเดตเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้า

ปลดล็อก 5 อุปสรรคกั้นเอสเอ็มอีเข้าถึงนวัตกรรม


 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1051 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1391 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1669 | 25/01/2024
ความท้าทายตลาดส่งออก “กัญชาทางการแพทย์”