4Cs model แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์

SME in Focus
23/07/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 6240 คน
4Cs model แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์
banner

เป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมควรต้องพัฒนาและนำเสนอคุณค่าในตัวสินค้าแก่ลูกค้า  ในที่นี้เรามีแนวคิดที่น่าสนใจเพื่อการพัฒนาด้านนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการมานำเสนอ คือ  ‘4Cs model’ จากต้นน้ำไปยังปลายน้ำด้วยรูปแบบธุรกิจแบบใหม่คือ Co-Design, Co-Supply chain, Cross Industry และ Cross Culture ซึ่งอธิบายโดย คุณศศิมา สุขสว่าง หรือ อาจารย์เก๋ ซึ่งเป็นทั้งวิทยากร ที่ปรึกษา โค้ชด้านการพัฒนาองค์กรและพัฒนานวัตกรรม มีความเชี่ยวชาญในด้านการเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมให้กับหน่วยงานรัฐมามากมาย

‘4Cs model’ คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรมเพื่อการผสานความร่วมมือแบบ ร่วมคิด ในโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach ) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนออกมาเป็นแบรนด์เพื่อนำเสนอสู่มือผู้บริโภคให้ตรงใจและพึงพอใจในคุณภาพ มาตรฐาน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลค์ Facebook bangkokbanksme   


แนวคิดที่ 1 คือ  Co-Design : การออกแบบร่วม

การออกแบบร่วม หรือ Co-Design เป็นแนวทางที่ดีในการสร้างสรรค์โดยเฉพาะ  มีรากฐานมาจากเทคนิคการออกแบบแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1970  ซึ่งเป็นการนำกระบวนการของ

- Product Innovation  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ หรือการใช้วัตถุดิบใหม่ๆ หรือการปรับปรุงองค์ประกอบของการผลิตผลิตภัณฑ์เดิม และ

- Product Design Development  ผลิตภัณฑ์ร่วมออกแบบถูกสร้างสรรค์ จากการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบ ผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานมาเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันจนออกมาเป็น Co-Design ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

- Co-Design ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สำหรับลูกค้าที่ผ่านการวิจัยจากผู้ใช้หรือผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและยืนยันโดยการสังเกตและรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากผู้ใช้ในชีวิตประจำวันได้

Co-design เป็นกระบวนการออกแบบคิดสร้างสรรค์และพัฒนาร่วมกันที่ต้องอาศัยความร่วมมือรวมใจ และ Open Mind และ Challenge ต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยแต่ละคนจะนำจุดแข็ง และความเชี่ยวชาญของตัวเอง มาช่วยกัน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันและออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงมือผู้บริโภค 

แนวคิดที่ 2 คือ Co-Supply Chain : ขับเคลื่อนไปด้วยกันกับมวลมิตร

Co-Supply chain แบ่งปันและเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่ Suppliers ไปจนถึง Consumer เพื่อสร้าง โอกาส และความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในด้านการผลิต และการจัดส่งสินค้า หรือบริการ จากผู้ผลิตสินค้า ถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้า ตลอดจนกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า/บริการ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า แต่ละส่วนงานจึงมีความเกี่ยวเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ และถ้าแต่ละภาคส่วนมีการแชร์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นระบบ 

แนวคิดที่ 3 คือ Cross Industry : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้ามอุตสาหกรรม

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้ามอุตสาหกรรม (Cross Industry) เป็นการพัฒนาโดยการผสมผสานอุตสาหกรรมต่างสาขากันมาพัฒนาทำให้เกิดการต่อยอดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดมีนำแนวคิดใหม่ๆ จากอุตสาหกรรมอื่นมาใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆหรือมีการนำวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปพัฒนาผสมผสานในอุตสาหกรรมอีกอันหนึ่งจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์

กลไกในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ของอุตสาหกรรมต่างสาขานั้นเป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมวิจัยพัฒนาในสาขาที่ต่างกัน โดยเชื่อมโยงของโซ่คุณค่าและโซ่อุปทานของแต่ละอุตสาหกรรม แล้วสร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการในแต่ละขั้นของห่วงโซ่คุณค่าในการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการผลิตสินค้าเพื่อสร้างให้เกิดนวัตกรรม และมูลค่าเพิ่มจะเกิดการกระจายของความรู้) ระหว่างนักวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งแหล่งความรู้ด้านเทคโนโลยีของบริษัทต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดและทำงานร่วมกัน จะส่งผลให้เกิดการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น 

แนวคิดที่ 4 คือ  Cross Cultural : ออกแบบข้ามวัฒนธรรม

การออกแบบข้ามวัฒนธรรม (Cross Culture) เป็นการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ข้ามผ่านปัจจัยความแตกต่างด้านสังคม-วัฒนธรรม ต่างที่มา ต่างวัฒนธรรม ต่างเงื่อนไขทางสังคม ไม่ได้มีความสำคัญในการเป็นข้อกำหนดงานสร้างสรรค์อีกต่อไป โดยการนำศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของไทยที่เป็นจุดแข็ง มาออกแบบเป็นเรื่องราวทางด้านวัฒนธรรมมาบอกเล่าสร้างสรรค์งานออกแบบในมุมมองที่แตกต่างนั้น สร้างความแปลกแตกต่าง และมีความใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีลูกเล่นการทำการตลาดใหม่ๆ ออกมาแทบทุกวัน


กระบวนการเหล่านี้เมื่อเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบจนเกิดเป็นแนวทางการพัฒนาที่มีศักยภาพและเสถียรภาพได้ ซึ่งในภาพใหญ่ก็ถือได้ว่าจะเป็นก้าวสำคัญ ในการยกระดับให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Hub of ASEAN Industrial Design) ทางแฟชั่นได้

แนวคิด 4Cs Model  คือ Co-Design, Co-Supply chain, Cross Industry และ Cross Culture  นี้จะช่วยกระตุ้นแนวคิด หรือเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมในองค์กรของท่านได้ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
174 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
390 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1316 | 01/04/2024
4Cs model แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์