ส่องนโยบายการเงิน-การคลังฟื้นฟูเศรษฐกิจ

SME Update
08/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 3543 คน
ส่องนโยบายการเงิน-การคลังฟื้นฟูเศรษฐกิจ
banner

จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด 19 ในประเทศ และการทยอยฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลก โดยในปี 2563 มีแนวโน้มหดตัวน้อยลง แต่ในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงกว่าประมาณการเดิมตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้า

นอกจากนี้การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอาจมีประสิทธิผลไม่มากในบริบทปัจจุบัน โดยอาจกระทบต่อการทำหน้าที่ตัวกลางทางการเงินของสถาบันการเงิน เพิ่มความเปราะบางให้กับเสถียรภาพระบบการเงิน ผ่านการประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควรรวมถึงกระทบต่อการออมของประชาชน คณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้รักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงิน (policy space) ที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำควบคู่กับมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อของ ธปท. และมาตรการการคลังของรัฐบาล ได้ช่วยบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้หลังการระบาดคลี่คลาย ตลอดจนเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย และลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน

ในปี 2563 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มติดลบน้อยลงกว่าประมาณการเดิม จากราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ที่ขยายตัว หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด 19 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ดีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทยอยปรับสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยอยู่ใกล้เคียงกับขอบล่างของกรอบเป้าหมายในปี 2564

ด้านระบบการเงินไทยมีเสถียรภาพ แม้ว่าจะเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ธนาคารพาณิชย์มีระดับเงินกองทุนและเงินสำรองที่เข้มแข็ง สามารถรองรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากโควิด 19 ได้ แต่ในระยะข้างหน้าต้องเตรียมพร้อมรับผลกระทบจากสถานการณ์ ที่ยังไม่แน่นอน และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจและครัวเรือนที่ลดลง

โดยคณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า แต่ละภาคส่วนต้องบูรณาการมาตรการให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกัน ทั้งมาตรการด้านการคลังที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ช่วยเสริมสภาพคล่อง โดยมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อในระยะข้างหน้า ควรให้ความสำคัญ มีดังนี้

1. ดูแลให้สภาพคล่องในระบบการเงินกระจายไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบให้เกิดผลในวงกว้างมากขึ้น ผ่านการเร่งรัดสินเชื่อในโครงการต่างๆ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (credit term) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

2. สนับสนุนให้สถาบันการเงินเร่งรัดการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะลูกหนี้ครัวเรือนและธุรกิจ

3. เตรียมมาตรการรองรับเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางการเงินของภาคธุรกิจ และการสร้างกลไกเพื่อให้การปรับโครงสร้างหนี้มีมาตรฐานและดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น

ขณะที่นโยบายการคลังจำเป็นต้องมีบทบาทมากขึ้นในระยะข้างหน้า เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เนื่องจากการฟื้นตัวจะใช้เวลาและมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคเศรษฐกิจ ภูมิภาค และผู้ประกอบการแต่ละกลุ่ม มาตรการภาครัฐในระยะข้างหน้าจำเป็นต้องต่อเนื่อง ตรงจุด และทันการณ์ โดยควรให้ความสำคัญกับนโยบายด้านอุปทานเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การปรับรูปแบบการทำธุรกิจของผู้ประกอบการ และการพัฒนาทักษะแรงงานให้สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 คลี่คลายลง เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงานที่ยังคงมีความเปราะบาง ทั้งมิติด้านการจ้างงานและด้านรายได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า แม้ล่าสุดภาคธุรกิจบางส่วนจะเริ่มกลับมาทำการได้หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด 19 แต่การจ้างงานและรายได้ของแรงงานยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าภาวะปกติมาก

ทั้งนี้ แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในระยะข้างหน้ายังมีความเปราะบางจากปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่อาจยืดเยื้อจนทำให้แรงงานถูกลดค่าจ้างและอาจถูกเลิกจ้างเพิ่มมากขึ้น

2. มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูของภาครัฐที่ทยอยสิ้นสุดลง

3. การเข้าสู่ช่วงนอกฤดูการเกษตรในครึ่งแรกของปี 2564 ที่อาจทำให้ภาคเกษตรไม่สามารถรองรับแรงงานที่ย้ายมาจากนอกภาคเกษตรได้

4. แรงงานบางส่วนอาจกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ยากขึ้นแม้สถานการณ์ระบาดจะคลี่คลายลง โดยเฉพาะแรงงานที่มีอายุมาก กลุ่มนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงแรงงานที่มีทักษะไม่สอดคล้องกับบริบทใหม่หลังการระบาดของคิวด19 คลี่คลายลง ซึ่งอาจส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตระยะยาวของเศรษฐกิจ

สำหรับมาตรการด้านแรงงานในระยะถัดไปจึงมีความสำคัญสูง และต้องตรงจุดมากขึ้น โดยคำนึงถึงความแตกต่างในแต่ละสาขาเศรษฐกิจรวมถึงการฟื้นตัวและอุปสรรคในการปรับตัวที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


กำลังซื้อแผ่ว! ความเชื่อมั่น SMEs ปรับลดลง

แบงก์ชาติผุดโครงการ Digital Factoring หนุน SME เสริมสภาพคล่อง


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1312 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1682 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1928 | 25/01/2024
ส่องนโยบายการเงิน-การคลังฟื้นฟูเศรษฐกิจ