การเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก
(CPTPP) เป็นประเด็นที่สังคมไทยถกเถียงกันมาต่อเนื่อง
กระทั่งรัฐบาลส่งไม้ต่อให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
(กมธ.วิสามัญ) ศึกษาเพื่อให้ความเห็นว่าควรตัดสินใจเข้าร่วม CPTPP
กับ
สมาชิก 11 ประเทศ (ญี่ปุ่น แคนาดา
เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม)
ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจคิดเป็น 12.9% ของโลก
มูลค่าประมาณ 11.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
หรือไม่
นายวีระกร คำประกอบ ประธาน กมธ.วิสามัญ เปิดเผยว่า ใช้เวลาศึกษาประมาณ 4 เดือน หรือ 120 วัน จึงได้ข้อสรุปและส่งรายงานผลศึกษาต่อไปให้รัฐบาลเรียบร้อยแล้ว ในประเด็นที่เห็นต่างกัน 3 ด้าน ด้านการเกษตรและพันธุ์พืช ผลกระทบด้านการแพทย์ และสาธารณสุข และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ข้อสรุปว่าไทยยังไม่พร้อมที่จะเข้าร่วมการเจรจาความตกลงนี้
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
หากโฟกัสเฉพาะประเด็นหลักความขัดแย้งด้านการเกษตร
ซึ่งเป็นผลจากการที่เกษตรกรไทยห่วงว่าหากไทยเข้าร่วม CPTPP
แล้ว
เกษตรกรไทยจะไม่สามารถเก็บรักษาพันธุ์พืชเดิมไว้ปลูกได้เหมือนในอดีต
และอาจต้องจ่ายค่าเมล็ดพันธุ์แพงขึ้น จากการที่ความตกลงนี้คุ้มครองพันธุ์พืชใหม่
โดยการบังคับให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 โดยอัตโนมัติ
หากเทียบกันแล้วการเข้า
UPOV
1991 จะทำให้ไทยเสียเปรียบ
เพราะงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชแต่ละปีน้อย จำนวนนักวิจัยน้อย เช่นในปี 2563
ไทยได้จัดสรรงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวเพียง
57.14
ล้านบาท
ทั้งที่ไทยส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลักแสนล้านบาท
ดังนั้นการจะเข้าสู่ความตกลงนี้
รัฐบาลต้องเตรียมพร้อมทั้งการวางงบประมาณและบุคคลากรด้านการวิจัย ซึ่งจากข้อเสนอของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยเมื่อปี
2548
เสนอว่าควรจัดสรรงบประมาณเพื่อการวิจัยเรื่องพันธุ์พืช
10.9%
ของ
GDP
ประเทศ รวมต้องการจัดทำกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์ใหม่
ซึ่งอาจจะต้องขอเวลาในการปรับตัวนาน 3-5 ปี
เช่นเดียวกับข้อมูล
FTA
Watch (2563) ที่เห็นสอดคล้องกับผลศึกษา กมธ. ว่า
ประเทศไทยยังไม่พร้อมจะเข้าเจรจาความตกลง CPTPP จนกว่าจะมีการทําความเข้าใจให้เกษตรกรยอมรับ
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา UPOV การเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกร
ซึ่งยังไม่สามารถพึ่งพาตนเองและไม่สามารถสู้ได้ในเวทีโลก
โดยการสนับสนุนเชิงนโยบายและเพิ่มงบประมาณ วิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชและขยายพันธุ์พืช เพื่อเผยแพร่แก่เกษตรกร เพื่อใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และจัดทํากฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
อีกด้านหนึ่งหากเทียบความคุ้มค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปิดตลาดการค้าสินค้า
หากเข้าร่วม CPTPP ก็ไม่ได้มากอย่างที่คิด เพราะถึงแม้ว่าในข้อตกลงจะกำหนดให้สมาชิก
CPTPP
เปิดตลาดสินค้าระหว่างกันได้เกินกว่า
95%
ของจำนวนสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันทั้งหมด
ซึ่งจะช่วยให้สินค้าเกษตรอย่างข้าว, ยาง,
กุ้ง
จะมีการส่งออกดีขึ้นก็จริง แต่ที่ผ่านมาไทยก็ได้มีการเจรจาความตกลงกับประเทศอื่นในกลุ่ม
CPTPP
ไป
9
ใน
11
ประเทศ
จะเหลือก็แต่ประเทศตลาดแคนาดาและประเทศเม็กซิโกที่ไทยไม่มีเคยได้ทำความตกลงเปิดการค้าเสรีมาก่อน ดังนั้นโอกาสจะขยายตลาดก็ทำได้เพิ่มแค่เพียงแคนาดากับเม็กซิโก
ทั้งนี้หากแคนาดาเปิดตลาดก็ทำให้ไทยสามารถส่งออกกุ้งแปรรูป
และข้าวไทยมากขึ้น แต่สินค้าข้าวโพด, ถั่วเหลืองและหมู จะเป็นสินค้าที่ไทยเสียเปรียบ
เพราะต้นทุนสูงยังไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตการเลี้ยงหมู ราคาหมูหน้าฟาร์มของไทยมีต้นทุนกิโลกรัมละ
60-70
บาท
สูงกว่าต้นทุนหมูจากแคนาดาซึ่งเป็นแหล่งผลิตใหญ่ มีต้นทุนกิโลกรัมละ 30
กว่าบาท
ท้ายที่สุดการเข้าร่วม
CPTPP
อาจจะยิ่งห่างไกลและไม่เกิดประโยชน์
หากโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่สามารถปรับนโยบายกลับมาเข้าร่วมเจรจา CPTPP
ได้
หลังจากที่อดีตประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ประกาศถอนตัวออกจากการเจรจา CPTPP
เดิม
หรือ TPP เพราะนั่นเท่ากับว่า
โอกาสการขยายตลาดสินค้าเกษตรของไทยก็จะมีแค่แคนาดากับเม็กซิโก
ซึ่งก็ไม่ได้จูงใจให้กระโดดเข้าร่วมการเจรจา
แต่หากสหรัฐเข้าร่วมไทยมีโอกาสที่จะขยายตลาดได้มากขึ้นอีกนั่นเอง