ประตู RCEP เปิดไทยสู่โลกการค้า 15 ประเทศ

SME Go Inter
25/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1641 คน
ประตู RCEP เปิดไทยสู่โลกการค้า 15 ประเทศ
banner

ความสำเร็จยิ่งใหญ่ท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 ของการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 37 ก็คือการสร้างมิติใหม่ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ผ่านช่องทางออนไลน์ไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563

โดยสมาชิกทั้ง 15 ประเทศ ประกอบด้วยอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งมีประชากรรวมกัน 2,252 ล้านคน หรือคิดเป็น 30.2% ของประชากรโลก ยกเว้น “อินเดีย” ที่เป็นเพียงประเทศเดียวที่ประกาศถอนตัวไม่ร่วมการลงนามไปตั้งแต่การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อปี 2562

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

การถอนตัวของอินเดียเรียกกว่าสะเทือนต่อการเจรจา RCEP พอสมควร ด้วยเหตุที่ตลาดนี้เดิมคาดว่าจะมีจำนวน 3,600 ล้านคนแต่หายไป 1,300 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 แต่อย่างไรก็ตาม ความตกลงฉบับนี้ยังถือว่าทรงพลังที่สุด เพราะมูลค่าเศรษฐกิจในกลุ่ม RCEP มีจีดีพีรวมกัน 26.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 817 ล้านล้านบาท คิดเป็น 30% ของจีดีพีโลก และมีมูลค่าการค้ารวม 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 326 ล้านล้านบาท คิดเป็น 27.4% ของมูลค่าการค้าโลก และยังมีประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีนและญี่ปุ่นที่ยังคงอยู่

ก้าวต่อไปจากนี้สมาชิก 15 ประเทศต้องดำเนินการตามกระบวนการภายใน เพื่อให้สัตยาบันความตกลงให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีกลุ่มประเทศอาเซียน +6 ให้สัตยาบัน ร่วมกับประเทศคู่เจรจา 3 ประเทศ รวมทั้งสิ้น 9 ประเทศจาก 15 ประเทศสมาชิก จึงจะถือว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ ทั้งนี้คาดว่าน่าจะสำเร็จได้ในช่วงกลางปี 2564 

ในส่วนไทยทำการค้ากับ RCEP ปี 2562 มูลค่า 287,206.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออก 140,468.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจาก RCEP มูลค่า 146,737.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นสัดส่วนประมาณ 30% หากเทียบกับมูลค่าการค้ากับโลก ดังนั้นไทยมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์ในการขยายตลาดการค้า และการลงทุนได้มากขึ้นจากความตกลงนี้

หากแง้มดูไส้ในข้อตกลง RCEP จะครอบคลุม 20 ข้อบท ประกอบด้วย

1. บทบัญญัติพื้นฐานและคำนิยามทั่วไป

2. การค้าสินค้าซึ่งจะมีการเปิดตลาดให้สินค้าบางรายการสำหรับสมาชิกต่างกัน

3. กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า จะเน้นการสะสมแบบ bilateral communication

4. พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า

5. สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

6. มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค กระบวนการตรวจสอบและรับรอง

7. การเยียวยาทางการค้า

8. การค้าบริการ ภาคผนวกบริการการเงิน ภาคผนวกบริการโทรคมนาคม ภาคผนวกบริการวิชาชีพ

9. การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา

10. การลงทุน จะไม่มีการบังคับใช้เรื่องการระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนและรัฐ (ISDS)

11. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ

12. วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

13. ทรัพย์สินทางปัญญา ไม่ได้มีการบังคับให้เป็นภาคี UPOV 1991 และ Budapest Treaty

14. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

15. การแข่งขัน

16. การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ

17. บทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบัน

18. บทบัญญัติทั่วไปและข้อยกเว้น

19. การระงับข้อพิพาท

20. บทบัญญัติสุดท้าย

หากวิเคราะห์ประเด็นที่ใกล้ตัวที่สุดอย่างการเปิดเสรีการค้าสินค้า ตามข้อมูลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ใน RCEP มีโอกาสที่จะเปิดตลาดให้กันมากกว่า 90% ของจำนวนสินค้าที่ค้าขายกัน โดยเฉพาะไทยมีโอกาสจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น จากเดิมที่ไทยได้มีความตกลงแบบ "ทวิภาคี" กับสมาชิกอยู่หลายประเทศ

ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น ในความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งได้มีการลดภาษีสินค้ากว่า 9,000 รายการ แต่การผนึกเข้าร่วม RCEP ครั้งนี้ จะทำให้ไทยได้ลดภาษีเพิ่มขึ้นอีก 207 รายการ ในกลุ่มสินค้าทั้งภาคการเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม อาทิเช่น สินค้าประมง ผลไม้ปรุงแต่ง น้ำมันถั่วเหลือง แป้งสาคู ดอกทานตะวัน กาแฟ ขนมปรัง เครื่องดื่ม เช่น น้ำส้ม น้ำผลไม้ เป็นต้น

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียว แต่เชื่อว่าภายในความตกลงนี้จะให้ประโยชน์มหาศาล ซึ่งทางผู้ประกอบการไทยต้องติดตามศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขทางปฏิบัติในการส่งออกภายใต้ความตกลงนี้ให้ดี เพื่อเตรียมใช้ประโยชน์ในอีก 6-7 เดือนข้างหน้า



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ผ่าแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 14 ของจีน

อาเซียนฝ่าโควิด : เปิดทางอำนวยความสะดวกสินค้าจำเป็น


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6402 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2073 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5120 | 23/10/2022
ประตู RCEP เปิดไทยสู่โลกการค้า 15 ประเทศ