ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

SME Go Inter
17/01/2023
รับชมแล้วทั้งหมด 6061 คน
ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า
banner
เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะพฤติกรรมการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ของคนไทยมากขึ้น หลังจากเกิดการระบาดของโรคโควิด 19  โดยตลาดอาหารเนื้อสัตว์จากพืชมีอัตราการเติบโตในกลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมถึงสตาร์ทอัพ ที่ผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ ออกมาอย่างต่อเนื่อง



หนึ่งในวัตถุดิบสำคัญอย่าง Plant-based foods ซึ่งผลิตจากพืชตระกูลถั่ว เห็ด สาหร่าย และอื่น ๆเกิดขึ้นเพื่อรองรับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคที่ต้องการลดการทานเนื้อสัตว์ในบางโอกาส (Flexitarians) 

นอกจากนั้น ผู้บริโภคบางส่วนยังมีความกังวลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการเลี้ยงปศุสัตว์มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ฟาร์มบางแห่งมีประเด็นเรื่องสวัสดิภาพสัตว์ การบริโภคเนื้อจากพืชในมุมมองผู้บริโภคจึงมีส่วนช่วยในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ต้องฆ่าสัตว์ และเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลดีต่อสุขภาพ



10 เมือง ที่เป็นมิตรต่อ ‘วีแกน’ มากที่สุดในโลก 

เทรนด์รักสุขภาพ ของสายวีแกนจากบรรดาเมืองชั้นนำของโลก ได้กลายเป็นป้อมปราการแห่งการปกป้องสัตว์ โดยการเสิร์ฟอาหารวีแกนอร่อยๆ ที่มีให้เลือกมากมายอย่างเหลือเชื่อ ตั้งแต่อาหารจีนวีแกน ซูชิวีแกน ไปจนถึงไก่ทอดวีแกน

โดย abillion แพลตฟอร์มรีวิวผลิตภัณฑ์และอาหารแพลนต์เบส (Plant-based) ได้ทำการประเมินเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกในแง่ของการเปิดรับไลฟ์สไตล์แพลนต์เบส รวมทั้งความมุ่งมั่นด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการสร้างขยะให้น้อยลง

ซึ่งการวิจัย ระบุรายชื่อ 10 เมืองที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2565 ที่ผ่านมา ได้แก่ 
1. ลอนดอน, สหราชอาณาจักร
2. ลอสแอนเจลิส, สหรัฐอเมริกา
3. บาร์เซโลนา, สเปน
4. เมลเบิร์น, ออสเตรเลีย
5. สิงคโปร์, สิงคโปร์
6. โจฮันเนสเบิร์ก, แอฟริกาใต้
7. โทรอนโต, แคนาดา 
8. นิวยอร์กซิตี้, สหรัฐอเมริกา
9. เบอร์ลิน, เยอรมนี
10. เคปทาวน์, แอฟริกาใต้

โดยงานวิจัยดังกล่าว อ้างอิงรีวิวของผู้ใช้งานจริง 850,000 รีวิว จากสมาชิก 32,000 ราย จาก 6,000 เมือง ใน 150 ประเทศ โดยผลคะแนนได้มาจากการคำนวณใน 4 ด้าน ได้แก่ 
ไลฟ์สไตล์แพลนต์เบส (50%) 
ความมุ่งมั่นด้านนโยบายของเมือง (30%)
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (10%) 
และการสร้างขยะ (10%)



ปีทองของ ‘วีแกน’ และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลก

อาหารและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลก ยังคงเป็นกระแสที่มาแรง และยังคงมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว อ้างอิงผลสำรวจโดย Vegan Society ที่ระบุว่า อาหาร Vegan หรือ อาหารมังสวิรัติ (ไม่ส่วนผสมของเนื้อสัตว์ รวมทั้ง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นม เนย ชีส ไข่ น้ าผึ้ง ยีสต์ และ เจลาติน) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในสหราชอาณาจักร 

โดยชาวสหราชอาณาจักรที่รับประทานอาหาร Vegan จำนวนกว่า 542,000 คน โดยประมาณ ร้อยละ 50 ของผู้บริโภคที่รับประทานอาหาร Vegan มีอายุระหว่าง 15 – 34 ปี 

ขณะที่ สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน เผยว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในสหราชอาณาจักร ได้คาดการณ์เทรนด์ของสินค้าอาหารที่สำคัญในปี 2565 ตัวอย่าง เช่น Flexitarian หรือ การกินอาหารมังสวิรัติแบบยืดหยุ่น – จากรายงาน Trends Council ล่าสุดของ Whole Foods Market พบว่า ‘reducetarianism’ เป็นเทรนด์ที่น่าจับตามองในปี 2565 เนื่องจากเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารจากพืชเป็นหลัก แต่ยังคงรับประทานเนื้อสัตว์อยู่บ้าง  



นอกจากนี้ นมจากมันฝรั่ง – นมทางเลือกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้บริโภคที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ โดยที่ผ่านมานมทางเลือก ได้แก่ นมข้าวโอ๊ต และ นมอัลมอนด์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ปี 2565 นมจากมันฝรั่งจะได้รับความนิยมเนื่องจากมีรสชาติที่กลมกล่อม รวมทั้ง ยังมาจากการเพาะปลูกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่านมจากสัตว์  

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Whole Foods ยังคาดการณ์ว่า ผู้บริโภคอาหารประเภท flexitarian มีความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ นม และไข่ที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักถึงสวัสดิภาพของสัตว์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  

แพลตฟอร์มอาหารออนไลน์ ShelfNow ได้ให้ข้อมูลว่า ในช่วงระหว่างปี 2563 – 2564 ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารมังสวิรัติเพิ่มขึ้น ร้อยละ 156 และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทดแทนเนื้อสัตว์เป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในสหราชอาณาจักร

สำนักงาน ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ได้ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในสหราชอาณาจักรเปลี่ยนแปลงไป โดยหันมารับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ รวมทั้ง ให้ความสนใจต่อสวัสดิภาพของสัตว์และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

นอกจากนี้ ชาวสหราชอาณาจักรยังชื่นชอบในการทำอาหารรับประทานเองมากขึ้น โดยมีการนำเครื่องเทศ และเครื่องปรุงจากอาหารชาติอื่นมาใช้ในการปรุงอาหาร ในส่วนของสินค้าไทยนั้น เป็นโอกาสของสินค้าอาหารไทยในการขยายการส่งออกมายังตลาด สหราชอาณาจักร เนื่องจากผู้บริโภคชาวสหราชอาณาจักรมีการทำอาหารเองที่บ้านเพิ่มขึ้น โดยผู้ประกอบการติดตามสถานการณ์ตลาดเพื่อปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค

ข้อมูลจาก The Vegan Society ได้เผยถึงแนวโน้มความนิยมการเป็นวีแกนจากทั่วโลก โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงมากถึง 987% จากปี 2560 โดยในปี 2561 ยอดขายของอาหารวีแกนเติบโตสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 530,000 ล้านบาท 

อีกทั้งบริษัทวิจัยตลาด Markets and Markets คาดการณ์ว่า ตลาดวีแกนจะเติบโตขึ้นสูงถึง 200,000 ล้านบาทภายในปี 2566 และในปี 2567 คาดการณ์ว่าเทรนด์การเลือกรับประทานอาหาร Planted-based จะทำให้มูลค่าตลาดสูงถึง 45,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้นจากปี 2019 ถึง 10%

หนึ่งในเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค จากการสรุปเทรนด์แห่งปี 2023 โดย TCDC ระบุถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารไว้อบ่างน่าสนใจว่าอาหารคลีน และ อาหาร Plant-Based จัดเป็นอาหารที่ผู้บริโภคยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้นท่ามกลางการแข่งขัน ขณะเดียวกัน แบรนด์ต่าง ๆ จำเป็นต้องบอกข้อมูลส่วนผสม และคุณภาพของอาหารอย่างโปร่งใส และเชื่อมโยงการรับประทานอาหารกับปรัชญาชีวิต แบบดั้งเดิมและอาหารจากท้องถิ่น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและอายุยืนยาว



การเติบโตของผู้บริโภควีแกน ในภูมิภาคเอเชีย

พฤติกรรมผู้บริโภค เริ่มสัมพันธ์กับการกินอาหารแบบองค์รวมมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับสุขภาพมนุษย์ และสุขภาพของโลก ประชากรวีแกนและผู้บริโภคมังสวิรัติแบบยืดหยุ่นในฝั่งเอเชียเติบโตรวดเร็ว โดยในจีนมีวิถีการบริโภคน้อยลง และการดููแลรููปร่างเกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น รวมทั้งเกิดพฤติกรรมการคัดสรรอาหารที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นใน ผู้สูงอายุุ เพื่อให้ห่างไกลจากโรคภัยและการระบาดของเชื้อไวรัส 

โดยมีการคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมอาหารที่่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมอาหารจากพืชในจีน จะทะยานสูงขึ้นต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้คน ให้หันมากินอาหารจากพืช (Plant-Based) เป็นประจำ เป็นจำนวน 4.6 พันล้านคนภายในปี 2030

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มการเติบโตของเทรนด์ผู้บริโภควีแกน โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร ซึ่งมีพืชเศรษฐกิจ และวัตถุดิบสำคัญสำหรับประกอบอาหารมังสวิรัติ 
ผลสำรวจของบริษัทวิจัยการตลาดระดับโลกอย่าง Mintel ก็ได้พบว่าประชาชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีชาววีแกนหน้าใหม่เพิ่มขึ้นถึง 440% ด้วยเหตุผลการขยายตัวของกลุ่มผู้บริโภควีแกนที่เน้นการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เบียดเบียนสิทธิของสัตว์

จากแนวโน้มการเลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากเนื้อสัตว์กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งได้ส่งผลให้ตลาดอาหารของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อย่างเกาหลีใต้ ปรับตัวตามไปด้วย โดยเฉพาะในเรื่องของความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สำหรับกลุ่มวีแกน ซึ่งหากดูจากภาพรวมตลาดตลาดสินค้าอาหารสำหรับกลุ่มวีแกน (Vegan) ของเกาหลีใต้ พบว่าอยู่ในช่วงกำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง 
ซึ่งจำนวนของผู้บริโภควีแกนในประเทศเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเป็น 2.5 ล้านคนในปี 2564 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้น อาหารสำหรับชาววีแกนจึงเป็นกระแสที่สำคัญในอุตสาหกรรมของอาหารของเกาหลีในขณะนี้

ข้อมูลจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า หนึ่งในตลาดอาหารวีแกน (Vegan) ในภูมิภาคในเอเชียตะวันออก อย่างเกาหลีใต้ เป็นอีกหนึ่งตลาดใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ส่งออกไทย ซึ่งในช่วงปลายปี 2565 พบว่า ผู้คนเริ่มให้ความสนใจกับอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีทางด้านอาหาร ทำให้มีทางเลือกใหม่ ๆ ในการรับประทาน เช่น เลือกที่จะงดเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์

โดยได้มีกลุ่มผู้บริโภควีแกน (Vegan) ซึ่งก็คือ การไม่รับประทานอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ทุกชนิด และไม่มีขั้นตอนใด ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ รวมถึงไม่รับประทานไข่ นม และเครื่องปรุงรสต่าง ๆ โดยจะรับประทานอาหารที่ทำมาจากผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ เท่านั้น อีกทั้งไม่ซื้อหรือสนับสนุนผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่มีการทดลองในสัตว์ (Cruelty-free) อีกด้วย

สำนักงานผู้แทนการค้า ณ เมืองปูซาน รวมถึง สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโซล ให้ความเห็นว่า ตลาดอาหารวีแกนทั่วโลกจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวเกาหลีใต้ มีความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งก็ส่งผลให้เปลี่ยนมาบริโภคอาหารวีแกนมากขึ้น

และคาดว่าจะแนวโน้มนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต เนื่องจากเชื่อว่าการบริโภคอาหารวีแกนจะมีส่วนในการปกป้องสิ่งแวดล้อม เช่น การหันมาบริโภคนมที่ทำจากวัตถุดิบ เช่น ข้าวโอ๊ต หรือ อัลมอนด์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการเลี้ยงสัตว์



ประเทศเกาหลีใต้ ได้ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่ใส่ใจในสุขภาพ และขณะเดียวกัน ก็เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหาร จึงมีการปรับตัวตามพฤติกรรมผู้บริโภคตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีของผู้ส่งออกสินค้าไทย ในการปรับปรุงสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการและขยายช่องทางการค้าในตลาดอาหารของเกาหลีใต้ ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ของฉลากอาหาร Clean Label 

ขณะที่ ในไต้หวันโดยเฉพาะสินค้าในมินิมาร์ท กำลังเปลี่ยนผู้บริโภคให้หันมาตระหนักถึงที่่มาของอาหารมากขึ้น สนับสนุนผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ และเป็นสินค้าที่่ผลิตจากวัตถุัดิบธรรมชาติ รวมถึงได้เผยข้อมูลอาหารอย่างโปร่งใส แม้จะเป็นวัตถุัดิบที่ถููกคัดออกเพราะหน้าตาไม่สวยงามก็ตาม ทั้งหมดนี้้ ช่วยสร้างการรับรู้ของแบรนด์อย่างตรงไปตรงมาได้มากขึ้น

แบรนด์ Karana (กรณะ) ฟู้ดเทคสตาร์ทอัปอาหารจากพืชรายแรกของสิงคโปร์ นำปรัชญาการกินแนวพุทธ มาเล่นกับคำภาษาสันสฤต เกิดเป็นชื่อแบรนด์ว่า Karana ซึ่งหมายถึง “การกระทำ” แบรนด์เปรียบเปรยว่า การสร้างสมดุลกับธรรมชาติจ ะนำความเจริญรุ่งเรืองกลับมา จุดขายคือการพัฒนาเนื้อหมููเทียมจากขนุนอ่อนจากฟาร์มขนาดเล็กในศรีลังกาที่ให้รสสัมผัสและรสชาติใกล้เคียงกับเนื้อหมููจริง เหมาะนำไปปรุงเป็นไส้ของติ่มซำ ไส้ซาลาเปาและไส้บั๋นหมี่ (แซนด์วิชเวียดนาม)

การเติบโตของเทรนด์ดังกล่าว เป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการ SME ไทย โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำการเกษตร ทั้งที่ปลูกเพื่อขายเอง หรือ Supply ผลผลิตให้กับธุรกิจที่ต้องการนำไปแปรรูป เช่น โปรตีนจากพืช หรือ Plant based protein ในการตลาดเนื้อสัตว์ทดแทน เนื่องจากอาหารวีแกน เป็นอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ 100% เน้นการทานพืชผักเป็นหลัก สิ่งสำคัญคือสินค้านั้นต้องไม่เบียดเบียนสัตว์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 


อ้างอิง : 
abillion: https://www.data.abillion.com/
https://www.thaitradelondon.com/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3/
https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/845270/845270.pdf&title=845270&cate=413&d=0
Speciality Food Magazine และ The Food Marketing Experts
เจาะเทรนด์โลก 2023: CO-TOPIA โดยศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ หรือ Thailand Creative & Design Center (TCDC)

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6062 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1937 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4919 | 23/10/2022
ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า