ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

SME Go Inter
21/12/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 1935 คน
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล
banner
ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย และด้วยความที่จีน ได้เล็งเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน

จึงได้มีนโยบายส่งเสริมและ สนับสนุนให้ภาคเอกชนแดนมังกร มาลงทุนในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการและ SME บ้านเรา ต้องรีบคว้าไว้เพื่อขยายธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันด้านเทคโนโลยี



ทำไม? ‘เศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน’ จึงเป็นที่สนใจของจีน

จากรายงานการวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน (e-Conomy SEA 2020) โดย Google, Temasek และ Bain & Company ซึ่งได้ศึกษาพฤติกรรมในโลกอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบว่า ประชากรในอาเซียน 583 ล้านคน มีการใช้อินเทอร์เน็ตในโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดย e-Commerce เป็นเซ็กเตอร์ที่มีการใช้งานและมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด โดยมีมูลค่า 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2020 และมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียน จะเติบโตไปถึง 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 (ปี 2020 อยู่ที่ 105,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

ส่งผลให้เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง โดยกรมพาณิชย์กว่างซี และสำนักพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่กว่างซี ได้ร่วมกันประกาศ “ข้อคิดเห็นว่าเกี่ยวกับการเร่งรัดความร่วมมือทางการลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัลของเขตฯ กว่างซีจ้วงในต่างประเทศ” ซึ่งเป็นประกาศข้อคิดเห็นในระดับรัฐบาลมณฑลฉบับแรกในประเทศจีน ที่มุ่งสนับสนุนให้ภาคธุรกิจไปดำเนินความร่วมมือทางการลงทุนในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในต่างประเทศ พร้อมมอบเงินทุนสนับสนุนการ ‘ก้าวออกไป’ ของภาคธุรกิจ

โดยเศรษฐกิจดิจิทัล หากพูดในเชิงเทคนิค จะครอบคลุมเทคโนโลยีเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Big Data, Cloud Computing, Internet of Things, Block Chain,  Artificial Intelligence และ 5G หากพูดในแง่ของการประยุกต์ใช้งานแล้ว ได้แก่ New Retail และ New Manufacturing เป็นต้น



ในการนี้ เขตฯ กว่างซีจ้วง จะดำเนินการเชิงรุกเพื่อเชื่อมโยงกับ “แผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. 2025” หรือ ASEAN Digital Master plan 2025 (ADM 2025) โดยจะสนับสนุนการจัดตั้งสมาพันธ์ส่งเสริมการก้าวออกไปบุกเบิกตลาดต่างประเทศของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น บริษัท China-ASEAN Information Harbor Co., Ltd (CAIH)

ซึ่งเป็นวิสาหกิจรายสำคัญของกว่างซีที่ ‘ก้าวออกไป’ บุกเบิกตลาดในอาเซียน โดยเข้าไปร่วมมือเชิงลึกด้านเศรษฐกิจดิจิทัลกับอาเซียน ในการพัฒนาโปรเจกต์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลในประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น Smart Nation ของสิงคโปร์ Cloud-First ของมาเลเซีย รวมถึง Digital Thailand ของประเทศไทย

นอกจากนี้ทางจีนยังสนใจลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอื่น ๆ ด้วย อาทิ 

- ศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Center)
- คลาวด์คอมพิวติ้ง
- ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
- เครือข่าย 5G 
- เคเบิลภาคพื้นดินและเคเบิลใต้น้ำ 
- เครือข่ายบรอดแบรนด์ 

รวมทั้งการสนับสนุนเชิงเทคนิคในโปรเจกต์ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน เช่น 

- การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) 
- การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) 
- การเงินดิจิทัล (Digital Finance) 
- โลจิสติกส์อัจฉริยะ (Smart Logistics)



โลกมุ่งสู่ ‘เศรษฐกิจดิจิทัล’ โอกาสทองผู้ประกอบการและ SME ไทย

ข้อมูลการวิจัย e-Conomy SEA 2020 ระบุว่า เกือบทุกวงการของเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งในไทยและภูมิภาคอาเซียนมี Penetration Rate ที่ยังต่ำมาก ส่งผลให้นักลงทุนหรือ Digital Platform จากต่างชาติหันมาสนใจลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ในภูมิภาคอาเซียนมีสัดส่วนเพียง 3 - 5% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด ในขณะที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของประเทศจีนมีสัดส่วนถึงเกือบ 30% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ภูมิภาคอาเซียนจะเนื้อหอม เพราะหลายคนมองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

สำหรับประเทศไทยจะพบว่า อีคอมเมิร์ซเป็นธุรกิจดิจิทัลที่ขยายตัวมากที่สุดถึง 81% จากปี 2019 โดยมีมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025
หากมองเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ

พบว่า มี 3 อุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ การบริการทางการเงินดิจิทัล (FinTech) (การชำระเงิน การโอนเงิน การให้กู้ยืม ประกันภัย และการลงทุน) เนื่องจากผู้บริโภคและธุรกิจ SME ในไทย ได้หันมาใช้บริการทางการเงินดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และนอกเหนือจากบริการให้กู้ยืมแล้ว มูลค่าธุรกรรมรวมการชำระเงินดิจิทัล (Payment) ยังเติบโตสูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้น จึงมีการคาดว่าจะได้เห็นการขยับที่สำคัญจากแบงก์ไทย รวมถึง FinTech ไทย

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 อุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงโควิด 19 ได้แก่ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และเทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech) ซึ่งก็มีความน่าสนใจและควรจับตามองเช่นกัน

ขณะที่ข้อมูล e-Conomy SEA 2022 ฉบับล่าสุด รายงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลไทยคาดว่าจะโตถึง 17% จากปี 2021 - 2022 และคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 53,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025 (จาก 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2022) โดยจำนวนนี้มาจากภาคอีคอมเมิร์ซถึง 22,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือภาคสื่อออนไลน์ 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคท่องเที่ยวออนไลน์ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคการขนส่งและการส่งอาหารออนไลน์ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 



ผู้ประกอบการและ SME ต้องรีบปรับตัว เพื่อจูงใจให้จีนมาลงทุน ‘เศรษฐกิจดิจิทัลไทย’

ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายครั้งใหญ่ของประเทศไทย เป็นสิ่งที่ภาครัฐและผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัว และพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับตนเอง

ทั้งนี้ ทุกฝ่ายของไทยสามารถใช้โอกาสจากการพัฒนาโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ในการผูกโยงและดึงดูดความร่วมมือกับเขตฯ กว่างซีจ้วง ทั้งโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและทักษะดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล Digital Park Thailand ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

โดยเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค เน้นให้เกิดการลงทุนธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์

เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ตลอดจนยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีเดิมไปสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ (New S-Curve Digital Industry) ที่เป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศไทย 4.0

โครงการ Thailand Digital Valley ที่ใช้ดึงดูดการลงทุนด้านดิจิทัลใน Digital Park Thailand โครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลทั้งกลุ่ม New Skill กลุ่ม Up Skill และ กลุ่ม Re Skill เพื่อที่ผู้ประกอบการและ SME ไทย จะสามารถตอบโจทย์ - รองรับทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่จะขยายตัวในอนาคต ดึงดูดภาคเอกชนจีนให้หันมาสนใจลงทุน Digital Economy ในบ้านเรามากยิ่งขึ้น


แหล่งอ้างอิง : 
https://services.google.com/fh/files/misc/thailand_e_conomy_sea_2022_report.pdf Ref. PDF
https://www.cnbc.com/2022/10/27/google-temasek-bain-report-on-southeast-asia-digital-economy-in-2022.html 
https://economysea.withgoogle.com/report/ 
https://www.depa.or.th/th/article-view/thailand-digital-economy-glance 
https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256206TheKnowledge_April.aspx 
https://thaibizchina.com/%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B8%AB/ 
https://globthailand.com/china-110222/ 
https://thestandard.co/digital-economy-growth/ 
https://www.xinhuathai.com/silkroad/309491_20220922

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6058 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1936 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4914 | 23/10/2022
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล