อาเซียนฝ่าโควิด : เปิดทางอำนวยความสะดวกสินค้าจำเป็น

SME Go Inter
22/11/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1764 คน
อาเซียนฝ่าโควิด : เปิดทางอำนวยความสะดวกสินค้าจำเป็น
banner

การสานต่อการสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-อาเซียน นับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น เพราะอาเซียนถือเป็นตลาดการค้าสำคัญของไทย โดยในปี 2562 ไทยกับอาเซียนมีมูลค่าการค้ารวม 107,674 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอาเซียนมูลค่า 62,841 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 44,833 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ว่าปี 2563 นี้จะติดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด 19 ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการเปิดเวทีเจรจาการค้าระหว่างประเทศมากนัก โดยสมาชิกอาเซียนได้หันมาอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารทางไกล เพื่อขับเคลื่อนการทำงานอาเซียนให้เดินหน้าต่อไปได้ อย่างล่าสุดในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 37 หรือ ASEAN Summit ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งมี "เวียดนาม" เป็นเจ้าภาพก็ใช้วิธีการประชุมทางไกลเช่นกัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

วาระร้อนในการประชุมอาเซียนครั้งนี้ ให้ความสำคัญกับการหาแนวทางรับมือด้านเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ซึ่งถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของอาเซียนและประชาคมโลก โดยได้เสนอกรอบการฟื้นฟูและแผนดำเนินการภายหลังสถานการณ์ดังกล่าว พร้อมทั้งปรับแผนงานตาม AEC Blueprint 2025 และรับทราบความคืบหน้าแผนงานด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามผลักดัน 13 ประเด็น ซึ่งล่าสุดทำสำเร็จแล้ว 7 ประเด็น อาทิ การจัดทำดัชนีบูรณาการดิจิทัล การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาค การเชื่อมโยงศูนย์นวัตกรรมในอาเซียน และการจัดทำกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน

ขณะเดียวกันที่ประชุมยังเห็นพ้องว่า อาเซียนต้องให้ความสำคัญและเตรียมพร้อมรับมือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเชื่อมต่อกันมากขึ้น และแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งยังได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของอาเซียนเรื่อง 4IR ที่ครอบคลุมการทำงานในทุกด้าน ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลจากการผลักดันของไทยในฐานะประธานอาเซียนเมื่อปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะสำเร็จในช่วงต้นปีหน้า

ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมเตรียมลงนามในเอกสารหลายฉบับ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว อาทิ 

1. การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 (AEC Blueprint 2025)

2. การวางแนวทางการฟื้นตัวและสร้างความแข็งแกร่งในระยะยาวให้แก่อาเซียน หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

3. การเสริมสร้างขีดความสามารถและความยืดหยุ่นของระบบสาธารณสุข การศึกษา และ SMEs

4. การอำนวยความสะดวกการเดินทางด้านธุรกิจที่จำเป็นในภูมิภาค โดยให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านสาธารณสุข

5. การส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสหรัฐฯ ในเรื่องการศึกษา สาธารณสุข เศรษฐกิจ เป็นต้น

6. การรับรองโคลอมเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าร่วมเป็นอัครภาคีอย่างเป็นทางการ ในสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ทั้งนี้ที่ประชุมได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) อาเซียน ว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็น ภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด 19 เป็นเอกสารฉบับแรกที่ ได้มีการลงนามทางไกลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา

เอ็มโอยูดังกล่าวถือว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์เมื่อเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา ที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ร่วมกันหารือถึงความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าในภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่จำเป็น เช่น อาหาร ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยให้หลีกเลี่ยงการออกมาตรการต่างๆ ที่ไม่จำเป็นและที่อาจเป็นอุปสรรคทางการค้า

สาระสำคัญของ MoU จะเป็นการสร้างสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุขจากไวรัสโควิด 19 ให้กับประชาชน และการดำเนินการด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน โดยอาเซียนจะไม่ใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ที่ไม่จำเป็นและไม่สอดคล้องกับความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) กับสินค้าจำเป็นในกลุ่ม ยา และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตามบัญชีแนบท้ายรวม 152 รายการ โดยกำหนดให้ต้องมีการแจ้งมาตรการที่ประกาศใช้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น

อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงมีสิทธิที่จะออกมาตรการต่างๆ ได้ หากมีสถานการณ์จำเป็นภายในประเทศ โดย MoU ฉบับนี้จะมีอายุ 2 ปี สามารถทบทวนความจำเป็นของ MoU และรายการสินค้าเพิ่มเติมได้


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


จีน-ญี่ปุ่น ประชันสมรภูมิการค้า การลงทุนใน CLMVT 

"อาเซียน" เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนยุโรป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6646 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2157 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5288 | 23/10/2022
อาเซียนฝ่าโควิด : เปิดทางอำนวยความสะดวกสินค้าจำเป็น