"อาเซียน" เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนยุโรป

SME Go Inter
20/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2497 คน
"อาเซียน" เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนยุโรป
banner

หลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ขยายวงกว้างและยังไม่มีทีท่าจะมีวัคซีนในการรักษาภายในปีนี้ ทำให้หลายประเทศต้องเลือกใช้วิธีการล็อกดาวน์ หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ซึ่งก็หนีไม่พ้นที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม

สะท้อนจากรายงานขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่ระบุว่า แนวโน้มการค้าโลกในปีนี้จะต้องหดตัวถึง 9.2% และจะค่อยฟื้นตัวในปี 2564 ไปเป็นบวก 7.2%

แน่นอนว่าการล็อกดาวน์เป็นการลดการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก นักธุรกิจไม่สามารถเดินทางไปติดต่อ หรือประกอบธุรกิจในประเทศต่างๆ ได้สะดวกเช่นที่เคย โดยเฉพาะการเดินทางของนักธุรกิจจากกลุ่มสหภาพยุโรปและอาเซียน จำเป็นต้องปรับตัวผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่ก็ไม่ได้สะดวกสำหรับบางกิจกรรมที่ต้องพบหน้ากัน

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เหตุนี้ทางสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป (EU-ABC) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก สำหรับธุรกิจในยุโรปที่ทำตลาดครอบคลุมภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด และมีคณะทำงานหลักเพื่อภาคธุรกิจของยุโรปในภูมิภาคอาเซียน จัดทำผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจครั้งที่ 6 ขึ้นเมื่อช่วงต้นตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา

ผลสำรวจดังกล่าวได้รวบรวมความเห็นจากสมาชิก EU-ABC ซึ่งประกอบด้วย บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ในยุโรปและหอการค้ายุโรป 9 แห่งจากทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ EU-ABC มีสมาชิกจากอุตสาหกรรมที่หลากหลายของยุโรป ตั้งแต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงบริการทางการเงิน และรวมถึงสินค้าอุปโภคบริโภค สมาชิกทุกองค์กรมีความสนใจร่วมกันในการส่งเสริมการค้า และการลงทุนระหว่างยุโรปและอาเซียน

โดยมีประเด็นสำคัญจากการสำรวจในครั้งนี้ พบว่านักธุรกิจอียู 56% ของธุรกิจในสหภาพยุโรปมีแผนที่จะขยายการดำเนินงานในอาเซียน แต่ลดลงเล็กน้อยจากปี 2562 และนักธุรกิจ 65% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยมีแผนที่จะขยายการดำเนินงาน

โดยนักธุรกิจ 53% ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าอาเซียนเป็นภูมิภาคที่ดีที่สุดสำหรับโอกาสทางธุรกิจ (ปี 2562 ได้ 63%) และไม่เพียงเท่านั้น นักธุรกิจ 47% ของผู้ตอบแบบสอบถามกำลังพิจารณาปรับโครงสร้างซัพพลายเชนหลังเกิดเหตุการณ์ โควิด 19 โดยมีอาเซียนอันดับต้นๆ โดยนักธุรกิจ 73% ของผู้ตอบแบบสอบถามจะขยายระดับการค้าและการลงทุนในอาเซียนในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2562 ได้ 84%) และส่วนใหญ่ต้องการให้อียูเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับอาเซียนและสมาชิก 

ที่สำคัญ "ประเทศไทย" อยู่ในลำดับที่สองในฐานะทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับ FTA ซึ่งผลสำรวจในปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อนหน้านี้ ส่วนสถานการณ์การใช้มาตรการควบคุมการระบาดของไทยนั้น พบว่า นักธุรกิจ 59% ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยพอใจกับมาตรการจัดการสถานการณ์โควิด 19 ของรัฐบาล

นายโดนัลด์ แคแนก ประธานสภาธุรกิจอาเซียน-สหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ผลสำรวจในปีนี้เป็นสิ่งยืนยันว่าอาเซียนยังคงเป็นภูมิภาคที่ถูกมองว่ามีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีที่สุด แต่ทว่าก็เป็นไปดังคาดหมายว่าวิกฤติโควิด 19 ทำให้การค้าและการลงทุนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นส่งสัญญาณอ่อนตัวลง

หนึ่งในคำถามในแบบสำรวจ ได้ถามถึงว่าภูมิภาคใดจะเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจต่อการลงทุนในซัพพลายเชนมากขึ้นหลังโควิด 19 ซึ่งภูมิภาคอาเซียนได้รับคะแนนสูงสุด ขณะที่อินเดียและจีนก็ได้รับคะแนนโหวตจำนวนมากเช่นกัน

นายโดนัลด์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ผู้ตอบแบบสำรวจเกือบครึ่ง คาดหวังว่าซัพพลายเชนควรได้รับการจัดโครงสร้างใหม่หลังโควิด 19 ซึ่งเป็นปัจจัยให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และส่งผลต่อความคืบหน้าของการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางการค้า เพื่อสร้างการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในอาเซียน

ขณะที่ นายคริส ฮัมฟรีย์ ผู้อำนวยการ สภาธุรกิจอาเซียน-ยุโรป กล่าวว่า ผลการสำรวจค่อนข้างชัดเจนว่า การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนดูเหมือนจะหยุดชะงัก อาเซียนและกลุ่มประเทศต่างๆ จำเป็นต้องก้าวไปข้างหน้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 (AEC Blueprint 2025)

สภาธุรกิจฯ ​ชี้ว่า ขณะนี้ธุรกิจในยุโรปต่างกำลังปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจตามสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องที่ โดยไม่รอหรือหวังผลความคืบหน้าในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ธุรกิจในยุโรปมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความไม่คืบหน้าในการเจรจาการค้าเสรี (FTA) เพิ่มเติมกับภูมิภาคอาเซียน เพราะส่วนใหญ่มองว่าความตกลงนี้จะให้ประโยชน์มากกว่าการค้าเสรีแบบทวิภาคี

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า จากผลของโควิด 19 ทำให้นักธุรกิจอียูกำลังพิจารณาปรับโครงสร้างซัพพลายเชน ต่างมุ่งกระจายการลงทุน แต่ "อาเซียน" ไม่ได้เป็นเพียงภูมิภาคเดียวที่เป็นเป้าหมายการย้ายแหล่งซัพพลายเชนของอียู แต่ยังมี "แหล่งลงทุนอื่น" ที่อียูหมายตา เช่น ในจีน หรือแม้แต่ในประเทศในภูมิภาคเดียวกัน

ดังนั้นการสร้างจุดแข็งของอาเซียนถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการวางกรอบนโยบายระดับภูมิภาคและภายในประเทศของอาเซียนที่ยังก้าวหน้าช้า โดยเฉพาะในช่วงโควิด และการลดอุปสรรคด้านต่างๆ ตามเสียงเรียกร้อง เช่น อุปสรรคการใช้ซัพพลายเชนอย่างมีประสิทธิภาพในอาเซียน หรือแม้แต่ปัญหาการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในตลาดท้องถิ่น   


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


กำลังซื้อแผ่ว! ความเชื่อมั่น SMEs ปรับลดลง 

วิกฤติโควิด 19 ทุบเศรษฐกิจกลุ่ม BRICS เลื่อนยาว


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6274 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2026 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5039 | 23/10/2022
"อาเซียน" เป้าหมายการลงทุนของนักลงทุนยุโรป