วิกฤติโควิด 19 ทุบเศรษฐกิจกลุ่ม BRICS เลื่อนยาว

SME Go Inter
01/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2275 คน
วิกฤติโควิด 19 ทุบเศรษฐกิจกลุ่ม BRICS เลื่อนยาว
banner

BRICS หรือกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) ขณะที่ปัจจุบันประเทศสมาชิก 3 ใน 5 ประเทศกลุ่ม BRICS คือ อินเดีย บราซิล รัสเซีย กลายเป็นกลุ่มประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงสุดของโลก ผลจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ครั้งนี้ จึงได้ทำให้การประชุม "12th BRICS Summit ประจำปี 2563"  ซึ่งเดิมมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2563 ณ เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

แต่อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่ม BRICS (S-South Africa) ยังคงเดินหน้าจัดการประชุมในระดับอื่นๆ โดยผ่านระบบ videoconference เพื่อส่งผ่านการประชุม BRICS ในปี 2564 ไปให้อินเดียซึ่งจะเป็นเจ้าภาพครั้งต่อไป 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ข้อมูลกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า เดิมทีในปีนี้ "รัสเซีย" มีกำหนดเป็นเจ้าภาพการประชุม BRICS ในปี 2563 เพื่อหารือถึงความคืบหน้าการดำเนินการ BRICS Strategic Partnership ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานภายในกลุ่ม BRICS ใน 3 เสา ได้แก่

1) นโยบายและความมั่นคง

2) เศรษฐกิจและการเงิน

3) วัฒนธรรมและการเชื่อมโยงประชาชน

ทั้งนี้หากย้อนกลับไป จะพบว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว (Emerging Market) ในนาม BRICS ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในเวทีการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา

โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของกลุ่มประเทศ BRICS ในปี 2019 มีมูลค่า 46.22 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะจีดีพีของจีนเพิ่มขึ้นประมาณ 6 เท่าตั้งแต่ปี 2003 ประเทศในกลุ่ม BRIC มีเศรษฐกิจเฟื่องฟูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 4 ประเทศนี้ยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่ใหญ่ที่สุด 1 ใน 10 อันดับแรกในปี 2014 ซึ่งผลิตได้มากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น แคนาดาและออสเตรเลีย อัตราการว่างงานก็อยู่ในระดับต่ำ 

กลุ่ม BRICS ได้มีการประชุมใหญ่ (BRICS Summit) มาแล้วทั้งหมด 11 ครั้ง โดยกำหนดแนวทางการสร้างความร่วมมือกันหลักใน 5 ด้าน ได้แก่

1) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน

2) ความร่วมมือด้านสาธารณสุข

3) ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

4) ความร่วมมือด้านความมั่นคง

5) ความร่วมมือด้านธุรกิจ 

ผลงานที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน คือ การจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank) ตามที่มีมติเมื่อปี 2557 โดยมีเงินลงทุน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และกองทุนสำรองอัตราแลกเปลี่ยน (Contingent Reserve Arrangement: CRA) จำนวน 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับช่วยเหลือประเทศสมาชิกกรณีเกิดวิกฤตการณ์ด้านการเงิน 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศ BRICS ยังคงยึดมั่นในแนวคิดของโลกที่มีหลายขั้วระเบียบของโลกที่เป็นธรรม ความหลากหลายของพลเรือน และการเสริมสร้างบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในการปกครองโลก บทบาทของ BRICS ในแง่กระบวนการทางการเมืองแบบโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีศักยภาพในการรวมตัวกันอย่างมีนัยสำคัญถือ เป็นองค์ประกอบของภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ของโลกก็ว่าได้

ความเคลื่อนไหวกลุ่ม BRICS เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2020 ภายใต้กรอบของการดำรงตำแหน่งประธาน BRICS ของรัสเซีย การประชุมของเจ้าหน้าที่อาวุโส BRICS เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ จัดขึ้นในรูปแบบของการประชุมทางวิดีโอ ประเทศกลุ่ม BRICS ได้ยกประเด็นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมและวินิจฉัยการติดเชื้อโควิด 19 ตลอดจนการค้นหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการวินิจฉัย และความจำเป็นในการสร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ครอบคลุมสำหรับภัยคุกคามทางชีวภาพภายใต้กรอบของ BRICS

ในขณะเดียวกันก็มีการกำหนดความเป็นไปได้ ในการใช้ "ธนาคารเพื่อการพัฒนา" ในการจัดหาเงินทุนในโครงการร่วมกัน เพื่อความปลอดภัยของประชากรในประเทศ โดยเน้นที่การป้องกันภัยคุกคามทางชีวภาพที่สำคัญและความจำเป็นในการกำจัดผลที่ตามมา

ในระหว่างการหารือประเทศต่างๆ ยังตกลงที่จะให้การสนับสนุนการป้องกันและรักษาการติดเชื้อโควิด 19 รวมถึงสร้างความร่วมมือในการจัดหายาและการวินิจฉัยยาภูมิคุ้มกันและอุปกรณ์ทางการแพทย์ พันธมิตรยินดีกับข้อเสนอของฝ่ายรัสเซีย ในการสร้างการทบทวนมาตรการขั้นสูงที่ดำเนินการโดยประเทศ BRICS เพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อการใช้งานต่อไป ไม่เพียงแต่ใน 5 ประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่นๆ ด้วย

ทั้งหมดนี้ ถือเป็นการตอกย้ำจุดยืนกลุ่ม BRICS นับจากที่ได้มีการประชุมวิสามัญของรัฐมนตรีต่างประเทศ BRICS ภายใต้การเป็นประธานของรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซีย Sergey Lavrov ไปเมื่อเดือนเมษายน 2563 ซึ่งได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์วิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโควิด 19 ต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเศรษฐกิจโลก และแนวทางที่จะสร้างความพยายามร่วมกันในการต่อต้านการแพร่กระจายของไวรัส เพื่อเอาชนะวิกฤตครั้งนี้ด้วยการตัดสินใจจัดสรรเงิน 15 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับโครงการทางการเงิน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ BRICS หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 ด้วย 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ลุ้น! วัคซีนโควิดฟื้นท่องเที่ยว โลกปลอดภัย เศรษฐกิจไทยเดินหน้าอีกครั้ง

เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของสิงคโปร์ยุคหลัง COVID-19

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6326 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2033 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5065 | 23/10/2022
วิกฤติโควิด 19 ทุบเศรษฐกิจกลุ่ม BRICS เลื่อนยาว