เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของสิงคโปร์ยุคหลัง COVID-19

SME Go Inter
14/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 2458 คน
เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของสิงคโปร์ยุคหลัง COVID-19
banner

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา เป็นวันชาติของสิงคโปร์และมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ครบรอบเอกราช 55 ปี โดยในปีนี้แม้ประเทศจะเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 แต่รัฐบาลก็ยังคงมีการจัดขบวนพาเหรด โดยจัดในรูปแบบเล็กลงและมีการจัดการเฉลิมฉลองอีกเจ็ดแห่งรอบสิงคโปร์

ทั้งนี้จากสุนทรพจน์วันชาติของนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ที่ได้กล่าวในประเด็นด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การที่สิงคโปร์ต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวและมีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าเดิม ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เนื่องจากหลายประเทศมีการแพร่ระบาดของไวรัสรอบ 2 ภายหลังจากประกาศมาตรการผ่อนปรนหลังการสิ้นสุด Circuit Breaker ซึ่งอาจเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 รอบ 2 ในสิงคโปร์ได้ ในขณะที่การพัฒนาวัคซีนอาจจะต้องใช้เวลานานถึงหนึ่งหรือสองปี นอกจากนี้สิงคโปร์ยังต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง อีกทั้งการปิดกิจการ การเลิกจ้าง และอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

อย่างไรก็ดี วิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในสิงคโปร์ โดยเมื่อปี 2540–2541 เศรษฐกิจสิงคโปร์เผชิญกับวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย ต่อมาในปี 2544 สิงคโปร์ได้รับผลกระทบจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเหตุการณ์ 9/11 และเมื่อปี 2550–2552 สิงคโปร์ประสบกับวิกฤตการเงินโลกอีกครั้ง แต่ด้วยความเป็นหนึ่งเดียวและความพยายามในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลสิงคโปร์ ทำให้สามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต และหวังว่าจะสามารถก้าวผ่านวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ไปได้เช่นกัน

ในขณะที่นายชาน ชุน ซิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ ระบุว่า สิงคโปร์จะไม่กลับไปสู่โลกยุคก่อนโควิด 19 และต้องวางเส้นทางเดินใหม่ด้วยการสร้างเศรษฐกิจใหม่ตั้งแต่ตอนนี้ หลังจากกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ประกาศปรับคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของสิงคโปร์ในปี 2563 จาก -7.0% ถึง -4.0% เป็น -7.0% ถึง - 5.0% โดยเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 หดตัวลง 13.2% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขประมาณการณ์ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลง 12.6% หลังจากการหดตัว 0.3% ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยสถานการณ์ดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของโควิด 19 ในการพลิกโฉมเศรษฐกิจโลก ทั้งการเป็นศูนย์กลางของการค้าของระหว่างประเทศมหาอำนาจ ที่ทำสิงคโปร์ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา

ขณะที่การเปลี่ยนแปลงในด้านการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ประเทศในอาเซียนกลายเป็นเป้าหมายของการย้ายฐานการผลิต และสิงคโปร์ก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย แต่นักลงทุนที่อยู่ในสิงคโปร์อาจมีการกระจายการลงทุนและย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นได้เช่นกัน

นายชาน ระบุอีกว่า ดังนั้นสิงคโปร์ต้องปรับตัวให้เร็ว เพื่อไม่ให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่ถูกข้ามไป ต้องพัฒนาข้อได้เปรียบที่สำคัญของสิงคโปร์ เช่น การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ความน่าเชื่อถือและความเข้มงวดด้านกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงาน เช่น การทำงานจากที่บ้าน หรือการทำงานทางไกล

ซึ่งการทำงานแบบนี้ จะส่งผลกระทบต่อแรงงานด้านวิชาชีพเฉพาะ Professionals, Managers, Executives and Technicians (PMETs) เนื่องจากเป็นงานที่สามารถทำได้ทั้งผ่านระบบทางไกลหรือผ่านระบบอัตโนมัติ โดยสิงคโปร์จะยึดมั่นในหลัก 3 ประการเพื่อที่จะพยายามกำหนดเส้นทางใหม่ของประเทศ คือ

- สิงคโปร์จะเปิดกว้างสำหรับธุรกิจในแนวทางที่ปลอดภัยและยั่งยืน

- รัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานที่เหมาะสมและปรับเข้ากับโลกในรูปแบบใหม่

- สิงคโปร์จะให้การสนับสนุนธุรกิจผ่านการสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมและเสริมความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งของสิงคโปร์กับตลาดโลก เพื่อการจัดหาอุปทาน เทคโนโลยีและคนที่มีความสามารถ รวมทั้งข้อตกลงการค้าเสรีดิจิทัลที่สิงคโปร์ทำไว้จะเปิดตลาดมากขึ้นสำหรับธุรกิจ ขณะเดียวกันยังรักษาช่องทางที่มีอยู่ในการเข้าถึงตลาดแบบดั้งเดิม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันสิงคโปร์กำลังลำบากอันเป็นผลมาจากโควิด 19 ขณะที่มาตรการฟื้นฟูของภาครัฐไม่เพียงกำหนดเป้าหมายฟื้นเศรษฐกิจ แต่ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวของชาวสิงคโปร์ เพื่อสร้างกำลังใจและความร่วมมือร่วมใจของชาวสิงคโปร์ หลังจากที่มีการประกาศภาวะเศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ซึ่งหดตัวถึง 13.2% หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

มุมนี้สำหรับไทย ภาครัฐอาจต้องมีการทบทวนกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นนำหนึ่งใจเดียวและให้กำลังใจซึ่งกันและกันด้วยเช่นกัน ประกอบกับการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และกระตุ้นให้ผู้ประกอบการให้ปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ โลกที่เปลี่ยนแปลงไป และอาจไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม

 

แหล่งที่มา : Prime Minister's Office Singapore / Channel News Asia / Straits Time / Ministry of Trade & Industry สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


ความคาดหวังและปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวช่วงโควิด 19 

ผลสำรวจล่าสุดบ่งชี้ การเข้าออฟฟิศแบบเดิมๆ อาจไม่มีอีกต่อไป


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
6370 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
2058 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5107 | 23/10/2022
เส้นทางเศรษฐกิจใหม่ของสิงคโปร์ยุคหลัง COVID-19