ผลสำรวจล่าสุดบ่งชี้ การเข้าออฟฟิศแบบเดิมๆ อาจไม่มีอีกต่อไป

SME in Focus
09/09/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 1913 คน
ผลสำรวจล่าสุดบ่งชี้ การเข้าออฟฟิศแบบเดิมๆ อาจไม่มีอีกต่อไป
banner

โควิด 19 ไม่เพียงทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตและพฤติกรรมของผู้คนที่ปรับเปลี่ยนไป แต่ในวัฒนธรรมการทำงานก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ซึ่งจากรายงานของ ซิกน่า อินเตอร์เนชันแนล มาร์เกตส์ ในเครือบริษัทซิกน่า (NYSE:CI) ที่เผยแพร่ข้อมูลใหม่ล่าสุดจากการศึกษาผลกระทบทั่วโลกจากโควิด 19 หรือ Cigna COVID-19 Global Impact Study ซึ่งตอกย้ำว่าวัฒนธรรมการทำงานอาจเปลี่ยนไปอย่างถาวรเนื่องจากการมาของโควิด 19

โดยมีการทำสำรวจล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา โดยการติดตามสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลกช่วงเกิดการระบาดใหญ่ ซึ่งพบว่าผู้ตอบแบบสำรวจทั่วโลก 18% รู้สึกว่าชีวิตจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพิ่มขึ้น 5% จากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวในเกาหลี สิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นเป็น 38%, 26% และ 25% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีผู้ตอบแบบสำรวจในจีนแผ่นดินใหญ่เพียง 5% เท่านั้นที่คิดเช่นนี้

งานวิจัยดังกล่าววัดระดับความเป็นอยู่ด้วยปัจจัยชี้วัดหลัก ได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพ สังคม การเงิน ครอบครัว และการทำงาน, คะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่, การติดตามประเมินสุขภาพเสมือนจริง และการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

งานประเภทเข้า 9 โมงเช้า เลิก 5 โมงเย็น สัปดาห์ละ 5 วันอาจไม่มีอีกต่อไป

ผู้ตอบแบบสำรวจ 60% สามารถทำงานจากที่บ้านได้ในขณะนี้ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อทัศนคติของผู้คนที่มีต่อวัฒนธรรมการทำงานในอนาคต

โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่ง (53%) ระบุว่า ในอนาคตพวกเขาต้องการทำงานจากที่บ้านอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเวลางาน โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นแตะ 67% ในสิงคโปร์, 56% ในสเปนและไทย และ 40% ในเกาหลี ขณะเดียวกันผู้ตอบแบบสำรวจเกือบหนึ่งในสี่ (22%) ต้องการมากกว่านั้น โดยระบุว่าต้องการทำงานในออฟฟิศไม่เกิน 20% ของเวลางาน

ผลสำรวจเผยให้เห็นว่า ความต้องการทำงานที่ออฟฟิศเต็มเวลาอยู่ในระดับต่ำมากในขณะนี้ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึงหนึ่งในสี่ (23%) ที่ต้องการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศเต็มเวลา ซึ่งความต้องการดังกล่าวมีระดับต่ำสุดในสิงคโปร์และไทย (17%) และจีนแผ่นดินใหญ่ (19%)

เจสัน แซดเลอร์ ประธานซิกน่า อินเตอร์เนชันแนล มาร์เกตส์ กล่าวว่า "การระบาดใหญ่ของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวของเราอย่างมาก แม้ว่าออฟฟิศยังคงมีบทบาทสำคัญในแง่ของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและการทำงานร่วมกัน แต่ประสบการณ์ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การทำงานที่บ้านก็มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน อย่างไรก็ตามการทำงานที่บ้านมีความท้าทายหลายอย่าง และนายจ้างต้องคิดให้รอบคอบว่าจะสนับสนุนพนักงานที่ทำงานจากระยะไกลอย่างไร ด้วยการเช็กกับพนักงานเป็นประจำ"

 

ผู้คนกลัวติดเชื้อจึงเลี่ยงการทำงานในออฟฟิศและการเดินทาง

การที่หลายบริษัทเริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ได้สร้างความวิตกกังวลครั้งใหม่ในหมู่พนักงาน โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 42% รู้สึกกังวลว่าจะติดเชื้อโควิดจากการเดินทาง การประชุมต่อหน้า หรือการอยู่ในออฟฟิศร่วมกัน ความกังวลนี้เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 54% ในสิงคโปร์ และ 51% ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่ลดลงเหลือเพียง 19% ในฮ่องกง อย่างไรก็ตามฮ่องกงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลังทำการสำรวจเสร็จสิ้นไปแล้ว

นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสำรวจ 41% รู้สึกกังวลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันในที่ทำงาน เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม และการสวมหน้ากากอนามัย โดยผู้ตอบแบบสำรวจในไทยและสิงคโปร์กังวลมากที่สุด (47%) ขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจในนิวซีแลนด์มีความกังวลน้อยที่สุด (26%)

 

ความต้องการของพนักงานไม่ได้รับการเติมเต็มอย่างเพียงพอ

ผลสำรวจตอกย้ำว่า พนักงานต้องการความช่วยเหลือแตกต่างกันเมื่อต้องกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ขณะเดียวกันความช่วยเหลือที่นายจ้างให้กับพนักงานในตอนนี้ก็แตกต่างกัน

นายจ้างส่วนใหญ่แสดงความรับผิดชอบอย่างจริงจัง โดยผู้ตอบแบบสำรวจมากกว่าครึ่ง (52%) ระบุว่า นายจ้างมีการจัดหาผลิตภัณฑ์ป้องกันและฆ่าเชื้อให้พนักงาน เช่น หน้ากากอนามัยและเจลล้างมือ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นแตะ 62% ในจีนแผ่นดินใหญ่, 58% ในไต้หวัน และ 55% ในสิงคโปร์และนิวซีแลนด์

อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสำรวจ 60% ระบุว่า ต้องการให้นายจ้างช่วยออกค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ค่าผลิตภัณฑ์ป้องกันและฆ่าเชื้อ รวมถึงค่าสาธารณูปโภคจากการทำงานที่บ้าน โดยตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 73% และ 71% ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และสิงคโปร์ ซึ่งมีการใช้เครื่องปรับอากาศมาก ในทางตรงกันข้ามผู้ตอบแบบสำรวจราวหนึ่งในห้า (19%) ระบุว่านายจ้างมีมาตรการที่เหมาะสมอยู่แล้ว โดยนายจ้าง 29% ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 18% ในสิงคโปร์ และ 11% ในฮ่องกง ให้ความช่วยเหลือพนักงานในส่วนนี้

นอกจากนี้ การส่งเสริมสุขภาพจิตก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่พนักงานต้องการ แม้ว่าผู้ตอบแบบสำรวจเกือบหนึ่งในสี่ (24%) ระบุว่านายจ้างส่งเสริมสุขภาพจิตอยู่ในขณะนี้ แต่ 50% ต้องการมากกว่านั้น โดยนายจ้างในนิวซีแลนด์ (40%) และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (34%) เป็นผู้นำในการส่งเสริมสุขภาพจิต เทียบกับนายจ้างเพียง 15% ในเกาหลี และ 16% ในฮ่องกง

คุณแซดเลอร์ กล่าวเสริมว่า "ขณะที่ตลาดทยอยเปิดและพนักงานเริ่มกลับเข้าออฟฟิศ ผลสำรวจของเราแสดงให้เห็นว่ามีช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างความคาดหวังกับความเป็นจริง และพนักงานคาดหวังให้นายจ้างอุดช่องว่างดังกล่าว ด้วยการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นอย่างเพียงพอ และเดินหน้าสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ต่างฝ่ายต่างสนับสนุนกัน ในขณะที่เราเปลี่ยนผ่านไปสู่ชีวิตวิถีใหม่ สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่การตรวจเช็กกันและกันเท่านั้น แต่นายจ้างยังต้องยกระดับความเป็นอยู่ของพนักงานอย่างครอบคลุม โดยเน้นไปที่การจัดการความเครียดและความวิตกกังวลของพนักงาน"


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


‘ใจเปิด’ ปรับตัว ปรับธุรกิจ พร้อมรับมือทุกความเสี่ยงจากโควิด 19

เทคนิคนายจ้าง วิธีจัดการทีมให้กระชับเข้ากับยุคสมัยใหม่


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

Transition สู่ Operation Excellence ความมุ่งมั่นพัฒนาระบบการทำงาน สู่ความเป็นเลิศในธุรกิจแป้งทำอาหาร ‘แบรนด์ปลาแฟนซีคาร์ฟ’

การทำโลกธุรกิจสำหรับ SME ยุคดิจิทัล ต้องมี ‘นวัตกรรม’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเติบโต และอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขัน เพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาสินค้า…
pin
145 | 22/04/2024
จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
725 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
547 | 10/04/2024
ผลสำรวจล่าสุดบ่งชี้ การเข้าออฟฟิศแบบเดิมๆ อาจไม่มีอีกต่อไป