ส่องมาตรการเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก

SME in Focus
25/10/2019
รับชมแล้วทั้งหมด 4963 คน
ส่องมาตรการเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก
banner

จากข้อมูลโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นอีพี ที่ระบุว่าหลายประเทศในยุโรปได้ออกมาตรการเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติก  โดยมี 3 แนวทางคือ

1. การออกกฎหมายห้ามผลิตและใช้ หรือการแบนบรรจุภัณฑ์พลาสติก

2. การเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียม ซึ่งอาจจัดเก็บที่ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีกหรือผู้บริโภค เป็นที่นิยมในยุโรป และ

3. ผสมผสานเครื่องมือกำกับควบคุมและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ญี่ปุ่นและนิวซีแลนด์ ซึ่งรัฐทำข้อตกลงร่วมกับเอกชน แต่ก็เก็บเงินค่าถุงพลาสติกด้วย

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ รัฐบาลอิตาลีมีแผน green new deal” ซึ่งเป็นแผนในการสนับสนุนให้มีการปรับผังเมืองใหม่การเปลี่ยนรูปพลังงานให้ก้าวหน้าทันสมัยมากขึ้นโดยเน้นการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน อนุรักษ์ทะเลและความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อต่อสู้กับภัยความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งพลาสติกซึ่งยากต่อการย่อยสลาย

ดังนั้น รัฐบาลอิตาลีจึงได้เสนอให้มีการใช้มาตรการภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก ซึ่งเป็นการเรียบเก็บภาษีร้อยละ 0.2 ต่อ 1 กิโลกรัมของบรรจุภัณฑ์พลาสติก ไม่ว่าจะเป็นขวด กล่อง หีบห่อสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจรวมทั้งผู้บริโภคมีความสนใจตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวอาจจะส่งผลให้ผู้บริโภคที่ไม่ต้องการจ่ายภาษี “no tax” เลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์อื่นแทน อาทิ กระดาษ แก้ว เป็นต้น สหภาพยุโรปได้ออกมาตรการห้ามใช้ภาชนะพลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง ได้แก่จาน ช้อน ส้อม หลอดฐานลูกโปง และด้ามคอตตอนบัดที่ทำมาจากพลาสติก โดยจะให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2021เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ภายในปี 2025 ขวดพลาสติกจะต้องมีส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิลอย่างน้อยร้อยละ 25 และภายในปี 2030 อย่างน้อยร้อยละ 30 ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมากแต่ถือเป็นการสนับสนุนตลาดสำหรับวัสดุรีไซเคิล โดยในอนาคตอาจจะมีการสนับสนุนให้สินค้าประเภทอื่น ๆ ต้องมีการใช้ส่วนประกอบของวัสดุรีไซเคิลรวมอยู่ด้วย เช่น เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ก่อสร้าง

โดยในขณะนี้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดเก็บขยะขวดพลาสติกให้ได้ร้อยละ 90 ภายในปี 2029 โดยตัวแทนของกลุ่มสมาชิก Greenpeace Europe แสดงความคิดเห็นว่าการเริ่มต้นดังกล่าว ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว และเมื่อมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ย่อมส่งผลต่อสินค้าที่จะผลิตและส่งออกมายังอิตาลีและสหภาพยุโรป ซึ่งผู้ส่งออกไทยในรายอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบควรมีการศึกษาข้อมูล และเตรียมการรับมือแต่เนิ่นๆ

ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลของสมาพันธ์เกษตรกรแห่งชาติอิตาลี (Coldiretti) เปิดเผยว่าชาวอิตาเลียน ร้อยละ 27 ได้หลีกเลี่ยงในการซื้อภาชนะพลาสติกประเภทใช้แล้วทิ้ง อาทิ จาน แก้ว/ช้อน ส้อม ซึ่งภาชนะพลาสติกเหล่านี้เมื่อกลายเป็นขยะพลาสติกจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำในทะเล และสัตว์เลี้ยงเป็นอย่างมาก ซึ่งชาวอิตาเลียนร้อย 68 เห็นว่าภาชนะพลาสติกควรตั้งราคาสูงเพื่อที่จะเป็นการเตือนให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมก่อนการตัดสินใจซื้อ ซึ่งปัญหาขยะพลาสติกจะพบมากในต่างจังหวัดของอิตาลี เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญ และขาดความรู้ ความเข้าใจ

 

ฝรั่งเศส เก็บเพิ่มภาษีเก็บขยะในหลุมฝังกลบ

ด้านฝรั่งเศสประเทศที่มีการรีไซเคิลพลาสติกประมาณ 25% แต่ความพยายามที่จะลดการใช้พลาสติกก็ยังไม่เพียงพอ รัฐบาลฝรั่งเศสมองว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งฝรั่งเศสแถลงถึงการวางแผนเสนอมาตรการใหม่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้บรรจุภัณฑ์ทำจากพลาสติกที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือที่เรียกว่า “การรีไซเคิล” (recycle)

มาตรการใหม่นี้คาดว่าจะทำให้ได้ภายในปี พ.ศ.2568 โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มภาษีเก็บขยะในหลุมฝังกลบ รวมถึงตัดลดภาษีสำหรับวัสดุที่ผ่านการรีไซเคิล และพลาสติกที่ไม่มีการรีไซเคิลจะเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์ทำจากพลาสติกรีไซเคิลอาจเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 10% ในขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่ยังใช้พลาสติกไม่ผ่านการรีไซเคิลอาจจะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 10%

มาตรการนี้จึงเป็นความหวังในการแก้ปัญหาการเพิ่มขึ้นของพลาสติกจำนวนมหาศาลที่กำลังกระจายเข้าสู่มหาสมุทร และเชื่อว่าการกำหนดมาตรการดังกล่าวจะทำให้ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่มากเกินได้ ทั้งนี้ มีรายงานว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% และส่วนใหญ่ก็เป็นบรรจุภัณฑ์

ไทยชูแนวคิด BCG Model ลดภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ

สำหรับประเทศไทยกับการจัดการขยะพลาสติก โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. โดยสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวน 25% ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพ และได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.62 ถึงวันที่ 31 ธ.ค.64

ทั้งนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพดังกล่าว เป็นหนึ่งในมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของกระทรวงการคลัง นอกเหนือจากมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ชุมชนดูแลรักษาป่าและสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ป่าชุมชนอย่างเหมาะสม โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิ  สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายไปในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

เห็นได้ชัดว่าเรื่องขยะพลาสติกไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับธุรกิจอีกต่อไป แต่มีแนวโน้มที่หลายๆ ประเทศจะออกมาตรการด้านภาษีทั้งการจูงใจให้ลดใช้และมาตรการบังคับใช้ รวมทั้งมาตรการทางเศรษฐศาสตร์คือการเก็บภาษีการใช้พลาสติกอีกด้วย ดังนั้นธุรกิจควรปรับตัวเสียแต่เนิ่นๆ

ล่าสุดมีการนำแนวคิด BCG Model คือ B (Bio Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ, C (Circular Economy) หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ G (Green Economy) หรือ เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งนี้คือส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศระยะยาวหรือ ไทยแลนด์ 4.0 ที่นำนวัตกรรมมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจในทุกมิติ เร่งเศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดบนฐานการพัฒนายั่งยืน

ผู้ผลิต - ค้าปลีก ต้องรับผิดชอบขยะพลาสติก ! 

พลาสติกชีวภาพ เปิดตลาดใหม่ผู้ประกอบการไทย


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

จากธุรกิจนำเข้า สู่เจ้าของกรรมสิทธิ์อุปกรณ์ ‘ตู้บริการสื่อสารเอนกประสงค์’ กล่องสมองกลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจร

Bangkok Bank SME จะพาไปทำความรู้จักกับธุรกิจในกลุ่มบริษัทโทรคมนาคม (Telco) ที่เชื่อว่าน้อยคนนักที่จะรู้ว่ารูปแบบของการดำเนินงาน มีภาพรวมของรายละเอียดอย่างไร…
pin
142 | 17/04/2024
‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

‘วรุณา’ นำเทคโนโลยี AI ยกระดับภาคการเกษตรไทย พร้อมดันประเทศสู่สังคม Net Zero

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีความตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อช่วยดูแลและช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ปัจจุบันทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย…
pin
370 | 10/04/2024
‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

‘เอเชี่ยนแอสฟัลท์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านยางมะตอย ขยายไลน์สู่ผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง เจาะตลาด Home Use ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี

ถนนลาดยาง คืออะไร?ยางมะตอย By-Product จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ ลักษณะสีดำ ข้น หนืด ด้วยคุณสมบัติที่ทนทานต่อสภาพอากาศ ทนน้ำ ยึดเกาะกับวัสดุหินได้ดี…
pin
1273 | 01/04/2024
ส่องมาตรการเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติก