กลยุทธ์ ‘สะบั้นราคา’ ทางรอดค้าปลีกยุคนี้จริงหรือ?

SME Update
24/02/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 1768 คน
กลยุทธ์ ‘สะบั้นราคา’ ทางรอดค้าปลีกยุคนี้จริงหรือ?
banner

จากกรณีของธุรกิจแฟรนไชส์ค้าปลีกแบรนด์ญี่ปุ่น ‘MUJI’ ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และสามารถขยายจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในปี พ.ศ. 2556 ได้ก่อตั้ง บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด โดยปัจจุบันธุรกิจของ MUJI ในประเทศไทยกำลังเติบโต มีสินค้าจำหน่ายมากกว่า 3,000 รายการ แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือภายใต้เศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ทำให้กลยุทธ์ที่ ‘MUJI’ เลือกใช้คือการ สะบั้นราคา ลงมาเพื่อเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้

ที่ผ่านมา MUJI ได้ปรับราคาขายปลีกสินค้าลงต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ได้ปรับลงราคาสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าและสินค้ากลุ่มของเครื่องใช้ในบ้าน รวม 264 รายการ และในปี 2563 ที่ผ่านมา ได้ทำการปรับราคาสินค้าในประเทศไทยรวม 769 รายการ โดยแบ่งเป็นสินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าจำนวน 127 รายการ และสินค้ากลุ่มของเครื่องใช้ในบ้าน 642 รายการ

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ล่าสุด MUJI เดินหน้าปรับราคาสินค้ากลุ่มเสื้อผ้า จำนวน 38 รายการ และสินค้ากลุ่มของเครื่องใช้ในบ้าน จำนวน 179 รายการ รวมจำนวนสินค้าที่ปรับราคาลงในครั้งนี้ทั้งสิ้นกว่า 217 รายการ เพื่อให้ผู้บริโภคไทยสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ประกอบกับเป็นการช่วยตอบโจทย์ข้อจำกัดของการเดินทางไปต่างประเทศในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่ยังคงไม่เอื้ออำนวยให้ผู้บริโภคได้ท่องเที่ยว และซื้อสินค้าที่ชื่นชอบจากประเทศที่ไปท่องเที่ยว โดยเฉพาะสินค้าจากญี่ปุ่น

ทั้งนี้สินค้าที่ปรับลดราคาในกลุ่มเสื้อผ้า ได้แก่ รายการสินค้าเสื้อผ้าเบสิก ทั้งเสื้อเชิ้ต เสื้อยืดคอกลม กางเกงยืน กางเกงชิโน่  และสินค้ากลุ่มของเครื่องใช้ในบ้าน ซึ่ง MUJI มีแผนที่จะปรับราคาอีกหลายรายการในปีนี้

นายอกิฮิโร่ คาโมการิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ MUJI คือให้สินค้าสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์การตลาดด้านราคาและการกระจายสินค้า โดยด้านกลยุทธ์ด้านราคานั้นได้ทยอยปรับราคาสินค้าที่นำมาจำหน่ายในประเทศไทยลงตั้งแต่ปี 2562 โดยเริ่มต้นจากสินค้ากลุ่มกลุ่มเสื้อผ้า และสินค้ากลุ่มของเครื่องใช้ในบ้าน ควบคู่กับการสื่อสารราคาใหม่ ณ จุดขาย ให้กับลูกค้าที่มาเลือกซื้อสินค้าที่สาขาแก่กลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบสินค้าจากประเทศญี่ปุ่น คิดถึงการเดินทางท่องเที่ยวและการช้อปปิ้งสินค้าตอนท่องเที่ยว แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญกับการท่องเที่ยวต่างประเทศ

กลยุทธ์การกระหน่ำลดราคาอย่างต่อเนื่องของ MUJI คือต้องการเป็นแบรนด์สินค้าสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ในราคาที่จับต้องได้ง่ายขึ้น โดยการปรับราคาสินค้าเกิดจากการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง การลดกระบวนการการผลิตที่ไม่จำเป็น แต่ยังคงเพิ่มประสิทธิผลในการผลิตที่ได้คุณภาพ หรือแม้แต่การบริหารจัดการกระบวนการกระจายสินค้า เพื่อให้มีความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนภาพรวมของสินค้าได้ดีที่สุด และนำประโยชน์จากกระบวนการดังกล่าวไปส่งต่อสู่ลูกค้า ซึ่งผู้บริโภคในประเทศไทยจะได้ประโยชน์จากการเข้าถึงสินค้าคุณภาพมาตรฐาน ในราคาที่จับต้องได้และสมเหตุสมผล

 

สิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อตัดใจ สะบั้นราคา สินค้า หวังเพิ่มยอดขาย

จากกรณีศึกษาดังกล่าวพบว่า เทรนด์ตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภคในปัจจุบัน ราคาเป็นกลยุทธ์ด้านจิตวิทยาอย่างหนึ่งที่เห็นผลเร็วในประเทศไทย ซึ่งจากสถิติระบุว่า ลูกค้าส่วนมากชอบโปรโมชั่นลดราคากว่า 50% ของสินค้าประเภทเดียวกัน ซึ่งเปรียบเทียบกับสินค้าประเภทเดียวกันที่ลดราคาจากป้ายน้อยกว่า ทั้งๆ ที่ตอนลดแล้วราคาจะเท่ากันหรือแตกต่างกันไม่มากก็ตาม

อย่างไรก็ตามมีประเด็นที่น่าพิจารณา สำหรับร้านค้าปลีกที่ต้องการจะใช้กลยุทธ์ลดราคาเพื่อสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้น เพราะในทางกลับกันหากเป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มราคาสูง ผู้บริโภคอาจมองว่าเป็นการลดคุณค่าของแบรนด์หรือไม่ ซึ่งผลพวงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวทำให้ สงครามราคาเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ต่อสู้แย่งพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดกันมาตลอดในการทำธุรกิจ และทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน มีการห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดท่ามกลางคู่แข่งทุกระดับหนาตา

ดังนั้นหากร้านค้าปลีกรายอื่นๆ อยากทำบ้าง อาจต้องมีประเด็นที่ควรพิจารณา ซึ่งการลดราคาตามหลักเศรษฐศาสตร์จะทำให้สินค้าถูกกดราคาจนอาจจะไม่มีใครมีกำไรเหลือ และบริษัทที่ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายหรือบริหารเงินได้ก็จะต้องเป็นฝ่ายปิดตัวไป หากแต่ผู้บริโภคจะได้กำไรจากการตัดราคาไปแบบเต็มๆ

ด้วยเหตุนี้ ก่อนจะปรับลดราคาผู้ประกอบการอาจต้องรู้ตัวเองให้ด้วยว่า มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร  หากไม่อยากเจ็บตัวฟรี เช่น 

1. การพิจารณาจุดคุ้มทุนในสินค้าตัวเอง หากพิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีจุดคุ้มทุนอยู่ก็สามารถทำได้อย่างระมัดระวัง แต่หากมีต้นทุนที่สูงอยู่แล้ว ควรปรับเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์อื่นแทน

2. การประเมินมูลค่าของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหนในสายตาของผู้บริโภค เพราะลูกค้าที่ใช้สินค้าของเราอาจเกิดข้อกังขาไปจนถึงหมดความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าได้ หากหั่นราคาลงมามากเกินไป

3. ปรับกลยุทธ์เปลี่ยนจากการขายรายชิ้นเป็นเซ็ท หรือจัดโปรฯ ร่วมสินค้าหลายๆ ประเภทเพื่อกระจายต้นทุนของสินค้า แถมยังสามารถปกปิดราคาขายที่แท้จริง สามารถใช้รับมือได้ในกรณีที่มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่งจนไม่สามารถลงมาสู้ในสนามสงครามราคาได้

4. มองหาตลาดใหม่หรือกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าให้มากขึ้น ซึ่งอาจทำได้โดยการใช้กลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ๆ เช่นการตลาดออนไลน์เพื่อกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

 

ที่สุดแล้วการเดินเกมด้านราคา คือต้องมองถึงเป้าหมายและความคุ้มค่าภายใต้กลยุทธ์ที่ทำ เช่นว่า ยอดขายรายเดือน รายไตรมาสที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เพราะจะไม่ประโยชน์อะไรเลยถ้าสิ่งที่ทำมาทั้งหมดไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้น

 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1679 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1925 | 25/01/2024
กลยุทธ์ ‘สะบั้นราคา’ ทางรอดค้าปลีกยุคนี้จริงหรือ?