ประโยชน์ 2 ต่อ! Web 3.0 ผนึก ‘บล็อกเชน’ เทคโนโลยี ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์

Mega Trends & Business Transformation
08/03/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 7191 คน
ประโยชน์ 2 ต่อ! Web 3.0 ผนึก ‘บล็อกเชน’ เทคโนโลยี ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
banner
Web 3.0 คือ Mega Trend ของโลกอินเทอร์เน็ตที่กำลังมา ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระหว่างพัฒนาแต่มีแนวคิดหลักคือ Decentralized Web หรือการเป็นเว็บไซต์แบบกระจายศูนย์ ที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาตัวกลางเป็นผู้คอยเก็บข้อมูลและดำเนินการเพียงผู้เดียวอีกต่อไป รวมถึงการนำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) มาใช้เพื่อยกระดับการท่องอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในอนาคต

โดย Decentralized Web สิ่งนี้หมายความว่า ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตจะไม่ได้ถูกเก็บไว้ที่ตัวกลางเพียงผู้เดียวอีกต่อไป แต่จะเป็นการเก็บข้อมูลแบบกระจายเครื่องเซิร์ฟเวอร์ออกไปหลายๆ เครื่อง แต่ละเครื่องจะมีการตรวจสอบข้อมูลให้ตรงกันเสมอ ทำให้ปลอดภัยต่อการปลอมแปลงหรือการแฮกข้อมูล


 

Gavin Wood ผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum ได้ก่อตั้งมูลนิธิ Web 3.0 Foundation ขึ้นในปี 2557 โดยมีแนวคิดว่าจะสร้างอินเทอร์เน็ตแห่งอนาคตที่เป็นของทุกคน โดยไม่มีกลุ่มใหญ่อย่าง Google หรือ Facebook ซึ่ง Web3.0 หรือ Web3 จะเพิ่มเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้าไปเพื่อต้องการทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นประชาธิปไตย มีเสรีภาพ และการกระจายอำนาจ ไม่มีเซิร์ฟเวอร์ ชาวเน็ตทุกคนสามารถเป็นเจ้าของและควบคุมข้อมูลบนโลกออนไลน์ มีข้อมูลในมือเท่าๆ กันโดยไม่ต้องเสียเปรียบยักษ์ใหญ่ เป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับความกังวลเกี่ยวกับการที่ข้อมูลและเนื้อหาบนโลกออนไลน์ถูกรวมศูนย์ไว้ในบริษัท Big Tech ไม่กี่แห่ง




‘บล็อกเชน’ เทคโนโลยีที่จำเป็นกับ Web 3.0

ด้วยความที่ Web 3.0 ยังไม่มีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน การจะอธิบายว่า Web 3.0 ต้องใช้เทคโนโลยีอะไรบ้างในตอนนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มีสิ่งหนึ่งที่ชัดเจนแล้วแน่นอนคือ เป็นการรวมข้อมูลทุกอย่างบนโลกอินเทอร์เน็ตเข้าไว้ด้วยกัน และทำงานได้อย่างชาญฉลาด โดยจะกลายเป็นเครือข่ายขนาดมหึมาที่เชื่อมต่อผู้คน, ข้อมูล, แอปพลิเคชัน และแนวคิด เอาไว้ในที่เดียว อย่างไรก็ตาม เมื่อทุกอย่างเชื่อมต่อถึงกันหมด ทำให้เรื่องการรักษาความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว เพิ่มความเสี่ยงขึ้นมาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง
ซึ่งเทคโนโลยีที่สามารถแก้ปัญหาได้ก็คือ ‘บล็อกเชน’ (Blockchain) นั่นเอง ด้วยการนำเทคโนโลยี Decentralized apps (DApps) เข้ามาช่วยเหลือในการเชื่อมต่อ โดย DApps เป็นแอปพลิเคชันที่ไม่มีเซิร์ฟเวอร์กลางในการประมวลผล ทำงานอยู่บนเครือข่าย Blockchain ไม่ถูกปิดกั้นจากผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง

วิกฤตการเงินโลกในปี 2551 แสดงให้เห็นถึงรอยแยกในเทคโนโลยีแบบ Centralized Structure จึงเป็นการเปิดโอกาสให้กับเทคโนโลยีแบบ Decentralized Structure ของ Web 3.0 ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอำนาจและการควบคุมจากส่วนกลาง รวมถึงความไว้วางใจ ความโปร่งใส และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน



ตัวอย่างเช่น Siri ใน Apple และ Alexa ใน Amazon แสดงให้เห็นว่า Machine Learning สามารถพัฒนาบริการอินเทอร์เน็ตแบบใหม่ได้อย่างไร นอกเหนือจากสัญญาณของการแนะนำการเรียนรู้ของเครื่องและการเชื่อมต่อเครื่องผ่าน IoT (Internet of Things) แล้ว Web 3.0 จะทำงานบนโปรโตคอลแบบ Decentralized Structure

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องหาเส้นทางการบรรจบกันของ Blockchain ใน Web 3.0 ในเรื่องของความสามารถในการทำงานร่วมกันกับระบบอัตโนมัติ โดยใช้ประโยชน์จาก Smart Contract และการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล P2P ดังนั้นจึงค่อนข้างชัดเจนว่า Blockchain จะเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับอินเทอร์เน็ตรุ่นต่อไปและมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดเก็บข้อมูล หรือจะเรียกได้ว่า Blockchain เป็นรากฐานสำหรับ Web 3.0 อย่างแท้จริง




‘บล็อกเชน’ เทคโนโลยีสำคัญสำหรับภาคธุรกิจในอนาคต

โดยธุรกิจการเงินเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ Blockchain ถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ ตัวอย่างเช่น โครงการอินทนนท์ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะใช้บล็อกเชนมาแทนเครือข่ายบาทเน็ตที่ใช้ระหว่างธนาคาร

-ธุรกิจค้าปลีก เช่น Wallmart ได้มีโครงการนำข้อมูลอาหารที่ขายมาเก็บเพื่อดูสายการผลิตจากโรงงานมาถึงชั้นวางของ

-ธุรกิจพลังงาน เช่น WePower บริษัทจาก Estonia พัฒนาการซื้อขายพลังงานแบบ Peer to peer โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน

-ธุรกิจโรงพยาบาล เช่น ในเมืองไทยที่มีโครงการ Block M.D. ของบริษัท Smart Contract Thailand ที่ทำเรื่องนี้ หรือ FarmaTrust การนำบล็อกเชนมาช่วยตรวจสอบที่มาของยาแต่ละชนิด ป้องกันการปลอมแปลง

-ธุรกิจการศึกษา โดย MIT Media Lab และประเทศมอลตา ได้มีการออกปริญญาบัตร Certificate และก็ Transcript บนเทคโนโลยีบล็อกเชนเรียบร้อยแล้ว

-ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในหลายๆ ประเทศ เช่น มอลตา อังกฤษ ยูเออี มีการนำบล็อกเชนมาเก็บข้อมูลแทนโฉนด (Land Registry) หรือการนำบล็อกเชนมาช่วยในการแบ่งการเป็นเจ้าของ (Asset Tokenization)




ผู้ประกอบการ SME กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ให้เหมาะกับธุรกิจ

ขณะนี้เทคโนโลยี Blockchain ได้การพัฒนาหลากหลายรูปแบบ ในการนำไปใช้ในธุรกิจประเภทต่างๆ ซึ่งแต่ละแบบนั้นมีจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อจำกัดไม่เหมือนกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจนำเทคโนโลยี Blockchain มาปรับใช้ เป็นการ Business Transformation ธุรกิจของตนเองต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีบล็อกเชนให้ลึกซึ้ง เพื่อเลือก Blockchain Platform ที่เหมาะกับกิจการของตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจด้วย 4 ข้อดังนี้

1. การพิจารณาเลือกเทคโนโลยี Blockchain กับองค์กร

การจะตัดสินใจนำเทคโนโลยี Blockchain ในธุรกิจ ให้ตรงกับความต้องการจริงๆ ต้องมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงมีการประเมินความเป็นไปได้ (Feasibility Assessment) ในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาปรับใช้ในการประกอบธุรกิจขององค์กร

2. ต้องมีการวิเคราะห์กลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้

เพื่อให้เกิดประโยชน์กับภาคธุรกิจสูงสุด จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์กลยุทธ์ในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในแง่มุมต่างๆ เช่น กลุ่มลูกค้า เป้าหมาย และความต้องการหรือปัญหาของลูกค้า แล้วเทคโนโลยี Blockchain จะช่วยองค์กรได้อย่างไรเป็นต้น  

3. การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ต้องมีความคุ้มค่า

ภาคธุรกิจที่ต้องการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในองค์กรต้องมีการประเมินต้นทุนและความคุ้มค่าด้วย ว่าสามารถตอบโจทย์กิจการของเราได้อย่างไร โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย เช่น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบ, การบริหารจัดการโครงการ เช่น การจ้างที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ รวมถึง ต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ เช่น ค่าใช้บริการ Cloud Services

4 เทคนิคคัดเลือกเทคโนโลยี Blockchain ให้เหมาะกับองค์กร

การจะเลือกโดยบล็อกเชนเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรควรมีองค์ประกอบด้านต่างๆ เช่น ประเภทของ Blockchain ที่สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรและรูปแบบธุรกิจ โดยพิจารณาประเด็นต่างๆ ได้แก่ การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Data Privacy) ความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรม (Performance) ทั้งในปัจจุบันและอนาคต รูปแบบการกำกับดูแลเครือข่าย (Governance) ลักษณะของผู้ร่วม (Participants) ในเครือข่าย 

ต่อมาก็จะพิจารณาความสามารถของ Blockchain Platform ในรายละเอียดดังนี้

- การเชื่อมต่อ (Interoperability) กับระบบงานต่างๆ ขององค์กรด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น API Standard เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

- ความน่าเชื่อถือและความมั่นคงปลอดภัยของกระบวนการ Consensus ของ Blockchain Platform โดยครอบคลุมการประเมินข้อดี จุดอ่อน ข้อจำกัดของ Consensus Algorithm ที่เหมาะสมกับธุรกรรม แต่ละประเภท

- การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบระบบ (Privacy by Design) หรือใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลทั้งมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (Administrative Safeguard) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (Technical Safeguard) และมาตรการป้องกันทางกายภาพ (Physical Safeguard) ร่วมกัน ในการบริหารจัดการเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 




สู่ Case Study ‘แครอท กลม กลม’ ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาปรับใช้กับองค์กร

บริษัท แครอท กลม กลม จำกัด คือกรณีศึกษาที่น่าสนใจโดยเป็นโมเดลธุรกิจค้าปลีกที่เป็นการขยายความสำเร็จจากตลาดออนไลน์ สู่ ‘สินค้าออนไลน์ที่มีหน้าร้าน’ โดยเปิดให้แบรนด์สินค้าที่ขายออนไลน์ได้มีพื้นที่ ‘ฝากขาย’ แบบออฟไลน์ อาทิ สินค้าที่เดิมขายออนไลน์ใน Instagram หรือ Facebook ซึ่งแต่ละร้านจะมีคาแรกเตอร์และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

จากนั้น ‘แครอท กลม กลม’ ได้สร้างโปรเจกต์ Carrot Coin ขึ้นมา โดยมีแนวคิดการสร้าง ‘สื่อกลาง’ ที่สามารถส่งต่อ การมีส่วนร่วม ที่เดิมเป็นเรื่องของนามธรรม ให้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ วัดมูลค่าได้ ส่งต่อ และแลกเปลี่ยนกันได้ ของทั้ง 4 ฝ่ายคือ ลูกค้า พาร์ทเนอร์แบรนด์ฝากขาย นักลงทุน และพนักงาน โดยการแจก Carrot Coin ให้ฟรี (เงื่อนไขตามกำหนดของบริษัทฯ)
 
Carrot Coin คือ Token ที่สร้างขึ้นบน Blockchain ของเครือข่าย Binance Smart Chain ถูกสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการแจกจ่ายให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ที่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น Partner ร้านฝากขาย, ลูกค้า และพนักงานทุกคนในบริษัทฯ

ทั้งนี้ Carrot Coin ถูกสร้างขึ้นมาจำนวนจำกัดอยู่ที่ 100 ล้านหน่วย ซึ่งถือเป็น Utility token ที่สามารถนำมาใช้แลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ กับทางบริษัทฯ ได้ ไม่ว่าจะฝั่งของลูกค้า และฝั่งของพาร์ทเนอร์แบรนด์ฝากขาย โดยการเกิดขึ้นของ Carrot Coin เป็นจุดเริ่มต้น ในการพยายามเชื่อมโลกจริง เข้ากับโลกเสมือนที่เรียกว่า Metaverse ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

โดยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการเก็บรักษา ส่งต่อมูลค่าที่ไร้พรมแดน รวดเร็ว และมีค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมที่ไม่แพง สำหรับผู้ที่ได้รับ Carrot Coin สามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเอง ในตลาดแลกเปลี่ยนกลางที่เป็น Decentralized Exchange


สนใจบทสัมภาษณ์ ‘บริษัท แครอท กลม กลม จำกัด’ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ‘แครอท กลม กลม’ ขยายความสำเร็จด้วย Multi-Brand Store






Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ธุรกิจยุคดิจิทัล ต้อง Transformation อย่างไร เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ในเทศกาลสงกรานต์

ความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ กลายเป็นโจทย์หลักของนักการตลาดในยุคดิจิทัล หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการเปลี่ยนแปลงจนทำให้เกิดการดิสรัปด้านเทคโนโลยีรอบนี้…
pin
458 | 10/04/2024
5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

5 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่ธุรกิจนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่กระตุ้นยอดขาย ดึงลูกค้า ช่วงมหาสงกรานต์ 2567

ประเพณีสงกรานต์ของไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สนับสนุนให้ “สงกรานต์” เป็นหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์เทศกาลระดับโลก…
pin
2867 | 10/04/2024
5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

5 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพองค์รวม 'Holistic Health' เมื่อคนยุคใหม่มองหาสุขภาวะที่ดีขั้นสุด

การดูแลสุขภาวะที่ดีกำลังเป็นโจทย์สำคัญด้านสาธารณสุขของประเทศ ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น “สังคมสูงวัย “ (Aged Society) โดยมีข้อมูลพบว่าตั้งแต่ปี…
pin
959 | 25/03/2024
ประโยชน์ 2 ต่อ! Web 3.0 ผนึก ‘บล็อกเชน’ เทคโนโลยี ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์