8 กลยุทธ์เพื่อเป็นผู้ชนะในสมรภูมิตัดราคา

SME Update
13/10/2020
รับชมแล้วทั้งหมด 8695 คน
8 กลยุทธ์เพื่อเป็นผู้ชนะในสมรภูมิตัดราคา
banner

สงครามราคาเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ต่อสู้แย่งพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดกันมาตลอดในการทำธุรกิจ และทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน มีการห้ำหั่นกันอย่างดุเดือดท่ามกลางคู่แข่งทุกระดับหน้าตา เพราะถึงแม้จะเป็นสินค้าหรือบริการแบบเดียวกันแต่ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตและจัดการอาจแตกต่างกัน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องสู้ยิบตาในสงครามการตัดราคาที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติของการค้า และจะต้องหาทางออกอย่างไรหากกำลังโดนคู่แข่งตัดราคา

ตามหลักในการรบเพื่อเอาชนะสงครามแล้ว การเรียนรู้ศัตรูคู่แข่งก่อนลงสนามรบ เป็นการลดความเสี่ยงด้านทรัพยากรที่อาจจะเสียไป และเป็นตัวช่วยให้เกิดการวางแผนก่อนลงมือปฏิบัติการจนได้ชัยชนะมา ตามหลักคิดและการปฏิบัติของซุนวูที่ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” ด้วยการวิเคราะห์คู่แข่งให้ได้ว่า “เขาเป็นใคร? ทำไมต้องตัดราคา? และจะทำแบบนี้อีกนานแค่ไหน? 

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

6 เหตุผลที่ต้องตัดราคา

1. เป็นธุรกิจใหม่ที่ต้องการสร้างฐานลูกค้า ยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงตัดราคาขายเพื่อดึงดูดความสนใจ อาจจะอยู่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งไม่ยาวนาน

2. ธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ขาดเงินสด จำต้องตัดราคาเพื่อเรียกยอดเงินด้วยเหตุผลเพื่อความอยู่รอด

3. ธุรกิจที่สต๊อกสินค้าไว้เยอะจนเกินไป ระบายออกไม่ทัน จำต้องทำตลาดแบบหั่นราคาเพื่อป้องกันการเสื่อมหรือหมดอายุของสินค้าและเรียกทุนคืน

4. ธุรกิจที่ต้องการยึดตลาดมาเป็นของตน จะใช้วิธีหั่นราคา เฉือนเนื้อตัวเอง เพื่อฆ่าคู่แข่งที่ทุนไม่หนา สู้ไม่ไหวให้ล้มหายตายไปจากระบบ

5. ธุรกิจที่ไม่มีสินค้าเป็นของตัวเอง ออกแนวซื้อมาปล่อยต่อทำกำไร ในสินค้าที่หาความแตกต่างหรือจุดขายไม่ได้ จำต้องตัดราคาเพื่อดึงส่วนแบ่งการตลาดมาหาตน

6. ธุรกิจที่มีจุดยืนในราคาที่ต่ำกว่าแบรนด์อื่น จะใช้วิธีการหมุนเวียนสินค้าเพื่อทำราคาให้ถูกลงกว่าตลอดเวลา

ซึ่งการตัดราคาในสงครามราคา ตามหลักเศรษฐศาสตร์จะทำให้สินค้าถูกกดราคาจนไม่มีใครมีกำไรเหลือ และบริษัทที่ไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายหรือบริหารเงินได้ก็จะต้องเป็นฝ่ายปิดตัวไป หากแต่ผู้บริโภคจะได้กำไรจากการตัดราคาไปแบบเต็มๆ

 

8 วิธีการรับมือกับสงครามการตัดราคา

ก่อนจะปรับลดราคาสู้ในสงครามนี้ก็ต้องรู้ตัวเองให้ด้วยว่า มีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร  หากไม่อยากเจ็บตัวฟรี ซึ่งต่อไปนี้คือกลยุทธ์ที่ควรมีติดไว้เมื่อต้องเผชิญกับสงครามตัดราคาของคู่แข่ง

1. พิจารณาจุดคุ้มทุนในสินค้าตัวเองและคู่แข่งว่าอยู่ตรงไหน ต้นทุนระหว่างตัวเองกับคู่แข่งเป็นอย่างไร หากพิจารณาแล้วเห็นว่าจุดคุ้มทุนหรือต้นทุนของเรามากกว่า ก็ไม่ควรลงไปสู้ในสงครามการตัดราคาให้เจ็บตัว และควรปรับเปลี่ยนเป็นกลยุทธ์อื่นแทน

2. ประเมินมูลค่าของสินค้าว่าอยู่ในระดับไหนในสายตาของผู้บริโภค จะทำให้วางกลยุทธ์ได้ว่าควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไง เพราะลูกค้าที่ใช้สินค้าของเราอาจเกิดข้อกังขา ไปจนถึงหมดความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าได้หากหั่นราคาลงมามากเกินไป

3. ทำสินค้าให้แตกต่าง ด้วยการเพิ่มมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ เช่น มี story ที่มาที่ไป มีการตรวจสอบแบบย้อนกลับได้ มีมาตรฐานรอรับการผลิตทุกระดับ แพคเก็จจิ้งโดนใจ ให้คุณค่าใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตผู้คน จะทำให้เกิดความภักดีหรือ value ในแบรนด์ได้

4. ปรับกลยุทธ์เปลี่ยนจากการขายรายชิ้นเป็นเซ็ท เพื่อปกปิดราคาขายที่แท้จริง สามารถใช้รับมือได้ในกรณีที่มีต้นทุนสูงกว่าคู่แข่ง จนไม่สามารถลงมาสู้ในสนามสงครามการตัดราคาได้

5. ปรับเปลี่ยนการบริการให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ ความประทับใจแรกสำคัญ แต่ความประทับใจตลอดกาลสำคัญกว่า เพราะจะทำให้เกิดการกลับมาซื้อซ้ำและช่วยลดข้อกังขาเรื่องราคา หากคุณภาพของสินค้าที่น่าจับต้องมาพร้อมกับบริการประทับใจ ต่อให้คู่แข่งกดราคาตัดแค่ไหน ก็สามารถเอาชนะใจลูกค้าได้ในสงครามนี้

6. ปรับปรุงสินค้าให้ดีทั้งในส่วนของสินค้าเก่าที่มีการ Innovate สินค้าเก่าในรูปแบบเวอร์ชั่นใหม่ เช่น เพิ่มเติมคุณประโยชน์อื่นๆ ลงไป เป็นการอัพเกรดสินค้าให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่งไปอีกขั้น และยังคงทำตลาดได้ท่ามกลางการตัดราคา

7. เสริมออปชั่นให้สินค้าด้วยการผูกบริการหรือสินค้าอื่นเข้าไปด้วย เป็นวิธีที่จะทำให้เกิดความสะดวกสบายและพึงพอใจของลูกค้า หากแม้ว่าจะต้องจ่ายเพิ่มอีกนิด แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่แพงเกินไป เกิดความคุ้มค่าหากเทียบกับคู่แข่งที่ตัดราคา

8. ตีตลาดใหม่หรือทำแบรนด์ลูกแบรนด์รองขึ้นมาตีตลาดตัวสินค้าเดิม ในจุดที่ต้นทุนต่ำลงกว่าตัวสินค้าหลัก เป็นกลยุทธ์ในการกวาดส่วนแบ่งทางการตลาดที่ให้ผลดีมาแล้ว จากนักขายของริมทาง ไปจนถึงแบรนด์ดังระดับประเทศ  

สุดท้ายสิ่งที่ควรรู้คือภายใต้สงครามราคาที่ดุเดือด ระหว่างผู้ชนะและผู้แพ้ อาจบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้นจึงไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีนักในการลงไปสู้ด้วย แต่ควรมุ่งสร้างความแตกต่างของสินค้า เพื่อไม่ต้องกระโจนไปแข่งในสมรภูมิที่โหดร้ายเช่นนี้ 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<< 


เทคนิค A B C D E...เล่าเรื่องให้โดนใจใน TikTok

เหตุผลที่คุณควรทำ Content SEO เพื่อบุกตลาดออนไลน์

 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1376 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1764 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1975 | 25/01/2024
8 กลยุทธ์เพื่อเป็นผู้ชนะในสมรภูมิตัดราคา