The Big Blue | ผลกระทบ และทางเลือกของ SMEs ในยุคเงินเฟ้อสูง

Library > Economic Outlook/Trends
16/09/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 1425 คน
The Big Blue | ผลกระทบ และทางเลือกของ SMEs ในยุคเงินเฟ้อสูง
banner
ตัวเลขเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคมของสหรัฐฯ ออกมาอยู่ที่ 8.3% ซึ่งถึงแม้ว่าลดลงจากเดือนก่อนหน้าสักเล็กน้อยจากการที่ราคาแก๊สเริ่มปรับลดลง แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงอยู่ดี เนื่องจากราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ยังปรับตัวขึ้นสูง ไม่ว่าจะเป็นราคาอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าซ่อมยานพาหนะ รวมไปถึงค่าบริการทางสุขภาพ

และเมื่อพิจารณาดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดเล็กในเดือนสิงหาคม ก็พบว่าอยู่ที่ 91.8 ซึ่งดีกว่าเดือนที่แล้วที่อยู่ในระดับ 89.9 แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต และแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงเต็มไปด้วยความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง, การค้าปลีก, การคมนาคม, และการผลิต ที่ถึงแม้จะเริ่มฟื้นตัวได้จากวิกฤติโควิด-19 แล้วก็ตาม

เงินเฟ้อกระทบ SMEs อย่างไร?

หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มลดลงจนกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินตามปกติอีกครั้ง อุปสงค์จากผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากความอัดอั้นของผู้บริโภคในช่วงก่อนหน้า ในขณะที่อุปสงค์เพิ่มขึ้นตามไม่ทัน ประกอบกับมีปัญหาในเรื่องของซัพพลายเชนกันทั่วโลก ส่งผลให้เงินเฟ้อในหลายๆ ประเทศพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์

ไม่ว่าคุณจะเป็นใครในระบบเศรษฐกิจ ทุกคนล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อกันทั้งสิ้น และสำหรับ SMEs เงินเฟ้อก็ถือเป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน เนื่องจากไปส่งผลกระทบกับการดำเนินธุรกิจโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น

1. ต้นทุนสูงขึ้น

จากการสำรวจในช่วงที่ผ่านมา พบว่าเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กกว่า 92% เผชิญกับปัญหาต้นทุนที่สูงขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบและบริการต่างๆ ตลอดทั้งซัพพลายเชนก็ปรับสูงขึ้นมาก กว่า 70% ของธุรกิจเห็นตรงกันว่า ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20% เลยทีเดียว

2. ต้องตั้งราคาแพงขึ้น

เมื่อต้นทุนในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น กว่า 89% ของบริษัทขนาดเล็กจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าและบริการ เกือบครึ่งหนึ่งของบริษัททั้งหมดที่ถูกสอบถามบอกว่าต้องขึ้นราคากว่า 20% ซึ่งก็อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ลูกค้าลดลง เพราะลองนึกภาพดูว่าหากเราเคยซื้อสินค้า 100 บาท แต่ตอนนี้เราจะต้องจ่ายถึง 120 บาท เพื่อซื้อสินค้าในปริมาณที่เท่าเดิม

3. จำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายแฝงออก

นอกเหนือจากการขึ้นราคาแล้ว หลายๆ บริษัทจำเป็นต้องจัดการกับต้นทุนแฝงในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งพบว่ากว่า 46% ของบริษัทเหล่านี้เลือกที่จะลดสินค้าคงคลัง กว่า 40% เลือกลดต้นทุนการตลาดลง และยังพยายามหาหนทางอื่นๆ เพื่อลดค่าใช้จ่ายแฝงในธุรกิจอีกด้วย

4. กำไรลดลง

เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่บริษัทอาจไม่กล้าขึ้นราคามากเกินไปเนื่องจากกลัวกระทบกับลูกค้า ทำให้หลายบริษัทอาจเลือกที่จะลดกำไรต่อชิ้นลง เพื่อให้โดยรวมยังมีกำไรอยู่แม้จะน้อยลงก็ตาม

SMEs ควรรับมืออย่างไร?

แม้ว่าทุกคนจะทราบกันดีว่า เงินเฟ้อที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้จะต้องลดลงสู่ระดับปกติในสักวัน แต่สำหรับผู้ประกอบการ จะรอให้ถึงวันนั้นโดยไม่ปรับ หรือวางแผนทำอะไรเลยก็คงไม่ได้ 

ดังนั้นกว่าจะถึงวันนั้น ผู้ประกอบการอาจมีทางเลือกให้ต้องตัดสินใจหลักๆ 2 ทาง ว่าจะไปทางไหนดี ระหว่าง

1. ใช้ระบบ Lean เพื่อลดต้นทุนที่ไม่สร้างมูลค่า

ถ้าเลือกทางเลือกนี้ ก็แปลว่าบริษัทตั้งใจที่จะคงขนาดบริษัทให้เล็กๆ โดยการควบคุมค่าใช้จ่ายให้น้อยลง ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และมองหาหนทางลดต้นทุนการผลิตลง ตลอดจนทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขายในลูกค้ากลุ่มที่มีอยู่แล้ว

นอกจากนี้แล้วเจ้าของธุรกิจอาจจะต้องหาทางเพิ่มเงินให้แก่ธุรกิจ ไม่ว่าจะจากภายในหรือภายนอกธุรกิจ หรือหากจะลงทุน ก็ต้องมั่นใจว่าอัตราผลตอบแทนนั้นจะมากพอที่จะเอาชนะเงินเฟ้อได้ด้วย

2. โฟกัสที่การเติบโตของธุรกิจ

หรืออีกทางหนึ่งคือ โฟกัสที่การเติบโตของธุรกิจ เพื่อที่จะสามารถเพิ่มรายได้ ได้มากพอที่จะเอาชนะเงินเฟ้อ และเอาชนะคู่แข่งได้ โดยอาจจะเพิ่มการทำการตลาด ตรวจสอบกลยุทธ์ด้านราคา และลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพในการทำงานและช่วยให้สามารถควบคุมต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้บางส่วนได้

แต่หากคิดจะลงทุนอาจจะต้องรีบคิด รีบตัดสินใจให้เร็วเสียหน่อย เพราะในปีนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 0.75% ไป 2 ครั้งติดกันแล้ว และคาดว่าในการประชุมเดือนกันยายนนี้ก็มีแนวโน้มที่จะขึ้นอีกครั้งหากเงินเฟ้อยังสูงอยู่ หากตัดสินใจช้า ต้นทุนการกู้ยืมของธุรกิจคุณอาจจะสูงขึ้นกว่าตอนนี้ก็ได้…

ทุกคนเผชิญกับเงินเฟ้อเหมือนกัน แต่คนที่สามารถวางแผนรับมือได้ดีกว่า ย่อมเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

ผู้เขียน : ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข  Graphic Designer, Bnomics


References
https://www.forbes.com/sites/forbesfinancecouncil/2022/05/25/the-impact-of-inflation-on-small-businesses-and-how-to-manage-it/?sh=3f475a7dae41
https://www.morningstar.com/news/dow-jones/202209132211/us-small-business-confidence-rose-in-august-as-inflation-concerns-eased-nfib-says
https://www.nytimes.com/live/2022/09/13/business/inflation-cpi-report
https://www.business.org/finance/accounting/effects-of-inflation-on-small-businesses/

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

Bnomics | ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มหมดแรง เว้นภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังฟื้นตัวต่อไป

Bnomics | ดัชนีเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มหมดแรง เว้นภาคการท่องเที่ยวซึ่งยังฟื้นตัวต่อไป

เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทยในหลายด้านเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง อันเป็นผลมาจากแรงกดดันทางด้านอัตราเงินเฟ้อและการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจคู่ค้าไทยในต่างประเทศเป็นสำคัญ…
pin
1332 | 04/11/2022
เจาะใจ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ปั้นระบบ ‘FoodStory’ เสริมแกร่งร้านอาหาร ช่วยให้ SME บริหารร้านได้ทุกที่ทุกเวลา

เจาะใจ สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ปั้นระบบ ‘FoodStory’ เสริมแกร่งร้านอาหาร ช่วยให้ SME บริหารร้านได้ทุกที่ทุกเวลา

ย้อนเส้นทาง บริษัท ลีฟวิ่ง โมบาย จำกัด สตาร์ทอัพผู้นำด้านการพัฒนาระบบ POS ด้วย แอปพลิเคชัน ‘FoodStory’ สำหรับร้านอาหารทุกประเภท ตั้งแต่ร้านอาหารรายย่อย…
pin
3749 | 26/10/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
5063 | 23/10/2022
The Big Blue | ผลกระทบ และทางเลือกของ SMEs ในยุคเงินเฟ้อสูง