7 แนวทางการบริหารต้นทุนและรักษาคุณภาพช่วง ‘วัตถุดิบขึ้นราคา’ ให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้

SME Update
13/05/2022
รับชมแล้วทั้งหมด 4356 คน
7 แนวทางการบริหารต้นทุนและรักษาคุณภาพช่วง ‘วัตถุดิบขึ้นราคา’ ให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
banner
การทำธุรกิจหรือประกอบกิจการทุกประเภท ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์มาบริหารให้ทำกำไรและสามารถขับเคลื่อนให้ธุรกิจเติบโตไปได้ในทุกสถานการณ์ แม้ในสภาวะที่เศรษฐกิจเกิดความผันผวนหรือมีการปรับขึ้นของราคาวัตถุดิบ แต่ยังคงต้องตรึงราคาและรักษามาตรฐานเพื่อไม่ให้กระทบกับลูกค้า สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายให้ผู้ประกอบการต้องนำกลยุทธ์การบริหารต้นทุนมาใช้เพื่อให้ธุรกิจยังคงมีกำไรและรักษาฐานลูกค้าไว้ได้เช่นเดิม ซึ่งบทความนี้ Bangkok Bank SME มีแนวทางมาฝาก หากนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้คงดีไม่น้อย

 

1. ทำความเข้าใจโครงสร้างต้นทุน

การทำธุรกิจใดก็แล้วแต่ นอกเหนือจากทักษะด้านการบริหารและการทำตลาดแล้วผู้ประกอบการ SME ต้องมีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างต้นทุนของธุรกิจที่ตนเองทำอยู่อย่างลึกซึ้งถ่องแท้ทุกมิติ เช่น ค่าวัตถุดิบ, ค่าแรงทางอ้อม, ค่าขนส่ง, ค่าเบี้ยประกัน, ค่าเสื่อมราคา, ค่าบำรุงรักษา, ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำ, ค่าเชื้อเพลิง, เงินเดือนพนักงาน, ค่าโฆษณา, ค่าโทรศัพท์, เงินเดือนผู้บริหาร, เงินเดือน/สวัสดิการ, ค่าเช่าอาคาร, ราคาขาย และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของสำนักงาน เป็นต้น

2. เจอต้นตอของปัญหาต้องนำมาแก้ไข

การทำธุรกิจให้มีกำไรและสามารถเติบโตได้ ต้องเข้าใจภาพรวมการเกิดต้นทุนในองค์กรด้วย เพราะการเกิดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในองค์กรส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ก่อให้เกิดคุณภาพ เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากของเสีย, เวลาที่เครื่องจักรหยุด, การแก้ไขงานบ่อยครั้ง, การตรวจสอบคุณภาพ, รอบเวลาการผลิตนาน, เวลาสูญเปล่า/เวลารอคอย, การประกันสินค้า และการเสียโอกาสการขาย เป็นต้น ซึ่งปัญหาบางอย่างอาจมองเห็นได้ชัดเจน หรือปัญหาบางอย่างอาจแอบแฝงอยู่ ‘เปรียบเทียบได้กับภูเขาน้ำแข็ง’ ดังนั้น หากพบต้นตอของปัญหาต้องรีบแก้ไขเพื่อให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เลือกใช้ Local Supply Chain

มีหลายบริษัทจัดหาซัพพลายเออร์ที่มีคุณภาพได้ภายใต้ราคาที่เหมาะสม โดยมุ่งเน้นในการเลือกซัพพลายเออร์ภายในประเทศ (Local Supply Chain) เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มเติมจากการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันภายในประเทศไทยยังเอื้อต่อการจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งผู้ประกอบการ SME ยังสามารถติดตามและตรวจสอบราคากลางได้อย่างสะดวก ช่วยให้บริหารจัดการสต็อกวัตถุดิบได้อย่างมีต่อเนื่องโดยไม่กระทบหรือมีปัญหาเรื่องการขึ้นราคาวัตถุดิบในอนาคตได้ ส่งผลให้การบริหารต้นทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ป้องกันการสูญเสียของวัตถุดิบ

การลดการสูญเสียของวัตถุดิบที่เสื่อมคุณภาพจากเก็บนานเกินไป สามารถทำได้โดยเปลี่ยนมาทำการผลิตอย่างต่อเนื่องจนกว่าวัตถุดิบหมด วิธีนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่เกี่ยวกับอาหารที่ต้องใช้วัตถุดิบที่เป็นของสด เช่น ผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ หรือเปลี่ยนรูปแบบการสั่งซื้อวัตถุดิบโดยสั่งให้พอดีกับกำลังผลิตในแต่ละวันไม่สั่งซื้อเกิน และให้ผู้ขายมาส่งของก่อนเริ่มงานในตอนเช้า เป็นการซื้อใช้วันต่อวัน ไม่ซื้อสต็อกเก็บไว้ หรืออาจเปลี่ยนตัวพาร์ทเนอร์ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ โดยเลือกซัพพลายเออร์ที่อยู่ในทำเลใกล้กับที่ตั้งของกิจการ ซึ่งการจัดการที่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ จะช่วยลดปริมาณของวัตถุดิบคงคลัง ทำให้สามารถลดเวลาและค่าใช้จ่าย ถือเป็นการบริหารต้นทุนเรื่องวัตุดิบได้เป็นอย่างดี



5. วางแผนการใช้เครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพ

ในทุกโรงงานหรือสถานประกอบการทุกแห่งเครื่องจักรโดยทั่วไปจะมีรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษา และต้องสังเกตการทำงานของเครื่องจักรในแต่ละวันว่าเป็นปกติหรือไม่ ถ้าพบว่ามีสิ่งผิดปกติ ควรหยุดใช้งานและรีบทำการตรวจหาสาเหตุ พร้อมหาทางแก้ไข ซึ่งต้องวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี และไม่ปล่อยให้เครื่องจักรเสีย หรือต้องหยุดซ่อมกะทันหัน เพราะจะทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้ การบำรุงรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ดี ยังส่งผลดีตามมาอีกมากมาย เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรส่งผลให้ต้นทุนต่ำลง, ผลิตสินค้าได้อย่างต่อเนื่องตามแผนการผลิตโดยไม่มีการหยุดชะงัก, การผลิตต่อเนื่องทำให้สินค้าที่ผลิตคุณภาพดีเพราะไม่มีของรอระหว่างเครื่องจักรเสีย, ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตรงตามเวลาที่นัดหมาย และลดของเสียลงได้เนื่องจากเครื่องจักรอยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้น

6. ยกระดับการตรวจสอบคุณภาพภายใน

การตรวจสอบคุณภาพภายในองค์กรถือเป็นกระบวนการสำคัญที่จะคอยเช็กว่าสินค้าและกระบวนการทุกอย่างในองค์กรสอดคล้องถูกต้องตรงกันหรือไม่ เช่น การตรวจสอบคุณภาพของโรงงาน, การตรวจสอบกระบวนการผลิต, การตรวจสอบความปลอดภัยและสุขอนามัย เป็นต้น ยิ่งหากเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความซับซ้อน การตรวจสอบคุณภาพภายในองค์กรยิ่งต้องเพิ่มความเข้มข้นตามไปด้วย เพราะจะทำให้สามารถพบข้อบกพร่องของธุรกิจตัวเองได้ก่อนที่สินค้าหรือบริการจะถูกส่งมอบไปถึงมือลูกค้า หรือดีกว่าต้องตามแก้ไขปัญหาทีหลัง ซึ่งสิ่งเหล้านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพที่ไม่ดีได้

7. สนับสนุนแนวทางการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพ

การสนับสนุนให้พนักงานเพิ่มทักษะความสามารถผ่านการอบรมหรือเรียนรู้เพิ่มเติม ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่แนวทางการลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนของคุณภาพไม่ดีได้ เพราะหากพนักงานทุกคนมีความเข้าใจในนโยบายและเป้าหมายขององค์กร พร้อมตระหนักถึงแนวทางการทำงานที่ถูกต้อง ย่อมส่งผลให้ผลิตสินค้าคุณภาพดีตามไปด้วย ทั้งนี้ หากมีวิธีการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีกว่าเดิม พนักงานทำงานง่ายขึ้น แต่ยังสามารถรักษามาตรฐานในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ ผู้ประกอบการ SME ควรพิจารณาและสนับสนุนแนวทางดังกล่าวเพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าไปต่อได้อย่างแข็งแกร่ง



อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแนวทางการลดต้นทุนอาจดูเป็นเรื่องง่าย แต่ในทางปฏิบัติอาจมีอุปสรรคและมีความซับซ้อนอยู่บ้างตามบริบทและวัฒนธรรมขององค์กร ดังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนในองค์กรเพื่อฝ่าฟันความท้าทายไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดที่ Bangkok Bank SME กล่าวมา เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น และแน่นอนว่าถ้าธุรกิจสามารถรักษามาตรฐานการทำงานให้มีคุณภาพ และมีความสม่ำเสมอ ย่อมทำให้เกิดการบริหารต้นทุนที่ดีและมีค่าใช้จ่ายต่ำลง แต่ยังคงมีสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ สามารถรักษาความพึงพอใจให้ลูกค้า ส่งผลให้ธุรกิจยังคงทำกำไรและเติบโตได้อย่างยั่งยืน (Sustainability)

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1678 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1924 | 25/01/2024
7 แนวทางการบริหารต้นทุนและรักษาคุณภาพช่วง ‘วัตถุดิบขึ้นราคา’ ให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้