VUCA World ความไม่แน่นอนที่โลกเผชิญ

SME in Focus
19/01/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 6798 คน
VUCA World ความไม่แน่นอนที่โลกเผชิญ
banner

การเปลี่ยนแปลงของกระแสเศรษฐกิจโลก หรือ Global Mega Trends ซึ่งมีปัจจัยนานัปการที่ทําให้การดําเนินธุรกิจไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ แม้ในปัจจุบันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับบางธุรกิจ อาทิการนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ก็เป็นผลให้บางธุรกิจที่ปรับตัวช้าหรือบริบทสังคมและเทคโนโลยีในขณะนั้นก้าวล้ำเกินกว่าธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ จะอยู่รอดได้ ก็เป็นอันต้องถูก Digital Disrupt ไปในที่สุด

ลองดูตัวอย่างของธุรกิจที่ถูก Disrupt ในปัจจุบันนี้ เช่น อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป, อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์แบบเก่าที่อาจถูกกระทบอย่างรุนแรงจากเทคโนโลยีไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV), ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม อาจถูกแย่งยอดขายจากธุรกิจแบ่งปันห้องให้เช่า ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Airbnb, ธุรกิจร้านอาหารที่ต้องมีการแบ่งยอดขายให้กับแอปพลิเคชัน Food Delivery, ในขณะที่ธุรกิจสถาบันการเงินต่างๆ ก็อาจถูกกระทบด้วยการเงินผ่านเทคโนโลยี (Fintech) ใหม่ๆ เช่น การโอนเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

และไม่เฉพาะที่ยกตัวอย่าง แต่ทุกวันนี้เรียกได้ว่าเป็นกระแส Digitization คือกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อกไปสู่จิจิทัลอย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ธุรกิจในปัจจุบันจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนสู่ Digitalization ซึ่งก็คือการปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงานที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้อย่างเหมาะสมสำหรับการดำเนินธุรกิจ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าเกิดเป็นคำใหม่ที่เรียกกันติดปากอยู่ช่วงหนึ่งว่า Digital Transformationซึ่งศัพท์เทคนิคเหล่านี้คือการบ่งบอกว่าโลกเราก้าวสู่อีกยุคหนึ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยุคที่เศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR -The Fourth Industrial Revolution)

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

ที่ผ่านมาธุรกิจต่างมีการทบทวนรูปแบบการดําเนินธุรกิจที่มีอยู่เดิมให้สามารถดํารงอยู่ได้ในยุคนี้ เช่นการใช้เทคโนโลยี การปรับกระบวนการทำงานให้รวดเร็วและเพิ่มผลิตภาพมากขึ้น การมุ่งเน้นเรื่อง E-Commerce, AI, Automation, Big Data, Robot และการจัดการความเสี่ยงต่างๆ จนดูเหมือว่าในช่วงปี 2560-2562 ธุรกิจในประเทศไทยเริ่มมีการปรับเปลี่ยนที่เห็นได้ชัด เข้าใจรูปแบบการทำธุรกิจยุคใหม่มากยิ่งขึ้น และพร้อมที่จะรับความท้าทายในรูปแบบใหม่ๆ ต่อไป

แต่ปลายปี 2562 โลกก็ได้รู้จักเชื้อไวรัสอู่ฮั่น ที่เกิดการระบาดในประเทศจีน ก่อนจะบานปลายไปสู่การเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ปัจจุบันยงคงลุกลามทั่วโลก ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักไปขณะหนึ่ง และทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และยังเร่งเร้าให้พฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย

ซึ่งปัจจุบันเรารู้จักซื้อไวรัสชนิดนี้ดีในชื่อ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 และแม้ปัจจุบันจะเป็นปี 2021 แล้ว แต่สถานการณ์ทั่วโลกดูเหมือนว่ายังไม่ได้คลีคลายในทางที่ดีขึ้น แม้จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดแล้วก็ตาม

 

ทำไมอยู่ดีๆ ถึงมีไวรัสเกิดขึ้นและทุบเศรษฐกิจโลกย่อยยับในพริบตา ?

คำตอบคือ เชื้อไวรัสดังกล่าวยังไม่มีข้อมูลชี้ชัดได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เกิดจากธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ แต่การระบาดของไวรัสหรือโรคระบาดไม่ใช่สิ่งใหม่ที่เคยเกิดขึ้นในสังคมโลก เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ ไข้หวัดสเปน ซาร์ส อีโบลา ซึ่งโรคเหล่านี้สามารถกลับมาอุบัติซ้ำหรือเกิดการกลายพันธุ์ไปสู่เชื้อโรคที่รุนแรงยิ่งกว่า ซึ่งผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ได้เห็นแล้วว่าปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อกว่า 90 ล้านคนและยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีก ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตก็เกือบ 2 ล้านคนแล้ว และเห็นชัดว่าโลกทุกวันนี้ยังไม่พร้อมในการรับมือโรคอุบัติใหม่เท่าที่ควร อนาคตเต็มไปด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอน ตลอดจนความผันผวนมากมาย ซึ่งในด้านเศรษฐศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่ายุค 'VUCA World' โลกแห่งความผันผวน โดยย่อมาจาก

V - Volatility หรือความผันผวน ซึ่งส่วนใหญ่จะวัดจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหนึ่งๆ หลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเทียบกับก่อนเกิด ซึ่งสถานการณ์ที่นําไปสู่ความผันผวนนี้ มักเป็นเหตุการณ์ที่ผู้บริหารมีความรู้และคาดการณ์ผลลัพธ์ได้ระดับหนึ่ง (แต่อาจคาดการณ์ผิดก็ได้)

U - Uncertainty หรือความไม่แน่นอน ซึ่งมักเป็นผลกระทบหลังเกิดเหตุการณ์สําคัญที่อาจเป็นสิ่งใหม่ที่ผู้บริหารไม่สามารถคาดการณ์ได้ดีนัก แม้พอจะมีความรู้ในสถานการณ์เหล่านั้นก็ตาม

C - Complexity หรือความซับซ้อน อันเป็นผลจากการที่ผลลัพธ์ของเหตุการณ์หนึ่งๆ ที่มีปัจจัยส่งผลกระทบจํานวนมาก ขณะที่ปัจจัยเหล่านั้นต่างมีความสัมพันธ์กันเองเช่นกัน

A - Ambiguity หรือความคลุมเครือ ซึ่งเกิดจากการที่ปัจจัยที่กําหนดผลลัพธ์ในเหตุการณ์หนึ่งๆ นั้นมีความคลุมเครือและยังเป็นปริศนา

คำเหล่านี้ไม่ใช่คำใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นคำที่ใช้นิยามในช่วงสงครามเย็นที่โลกเผชิญความไม่แน่นอนจากภัยสงคราม ขณะที่ข้อมูลในปี 2559 KPMG International ได้ทําการสํารวจมุมมองของ CEO ทั่วโลก เกี่ยวกับความเสี่ยงที่บริษัทต้องเผชิญใน 5 อันดับแรก โดยผลการสํารวจพบว่าความเสี่ยงที่พบมากที่สุด คือ

1. ความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber security risk)

2. ความเสี่ยงด้านการกํากับดูแล (Regulatory risk)

3. ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีเกิดใหม่ (Emerging technology risk)

4. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk)  

5. ความเสี่ยงด้านการเมืองโลก (Geopolitical risk)

 

ขณะที่ VUCA ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในปัจจุบันยังมีสาเหตุสําคัญ 4 ประการ คือ

1. ทิศทางเศรษฐกิจโลก อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนขั้วมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ การค้าที่เกิดการแข่งขันรุนแรงมากขึ้น และการกีดกันทางการค้า การเคลื่อนไหวของซัพพลายเชนโลก การลงทุนที่กระจุกตัวอยู่ในบางภูมิภาค

2. ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ อันเป็นผลจากกระแสโลกาภิวัฒน์ที่ผ่านมาและการเปิดเสรีต่างๆ

3. กระแสเทคโนโลยีที่พลิกโฉมโลก (Disruptive Technology) อันจะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการดําเนินธุรกิจ และการใช้ชีวิตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

4. สภาวะแวดล้อมต่างๆ เช่น ภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงมากขึ้น ปัญหาโลกร้อน วิกฤต Climate Change รวมทั้งภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่รุนแรงขึ้น

ซึ่งทั้งหมดเป็นเรื่องที่คาดเดาและบริหารจัดการยาก ดังนั้นต้องมีการจัดการความเสี่ยงที่เป็นแบบแผนที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในกรณีการเกิดวิกฤต โดยมีวิธีการ อาทิ

- การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) คือการหลีกเลี่ยงหรือหยุดการกระทําที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่นงานส่วนใดที่องค์กรไม่ถนัด อาจหลีกเลี่ยงหรือหยุดการทํางานในส่วนนั้น และอาจใช้การ outsource 

- การลดความเสี่ยง (Risk Reduction) คือการลดโอกาสที่จะเกิดหรือลดผลกระทบ หรือลดทั้งสองส่วน โดย การจัดให้มีระบบการควบคุมต่างๆ เพื่อป้องกันหรือค้นพบความเสี่ยงอย่างเหมาะสมทันเวลา

- การโอนถ่ายความเสี่ยง (Risk Transfer) คือ การลดโอกาสที่จะเกิดหรือลดผลกระทบ หรือลดทั้งสองส่วน โดยการหาผู้ร่วมรับผิดชอบความเสี่ยง เช่น การทําประกันต่างๆ

- การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) คือการไม่ต้องทําสิ่งใดเพิ่มเติม เนื่องจากมีความเห็นว่า ความเสี่ยงมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อย และผลกระทบจากการเกิดก็น้อยด้วย

ทั้งนี้ แนวทางในการจัดการความเสี่ยงนั้นมีอยู่มาก และหลากหลายขั้นตอนในปัจจุบัน หากหยิบยกมาทั้งหมดคงต้องเป็นเอกสารที่ต้องใช้เวลาอ่านยาวนานมาก และอาจจะเกินความจำเป็นในปัจจุบัน เพราะจากบทเรียนล่าสุดจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ผู้ประกอบการหลายท่านคงได้มีเวลาทบทวนแล้วว่า การรับความความไม่แน่นอน ต้องทำอย่างไร หากเกิดขึ้นอีกคงมีภูมิคุ้มกันที่มากพอ

แต่สำหรับธุรกิจที่ยังไม่มีความพร้อมหรือยังไม่มีความสามารถพอในการแบกรับหากเกิดเหตุการณ์ที่คาดคิดและส่งผลต่อธุรกิจในด้านลบ ให้เริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งจากภายใน คือสภาพคล่องต้องดี เงินสดต้องมี และแผนการสร้างรายได้ใหม่ๆ อยู่เสมอต้องมี และที่สำคัญควรระมัดระวังในการทุ่มเงินลงทุนที่มุ่งหากำไรเพียงอย่างเดียว แต่ควรมุ่งเน้นในการพัฒนาคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาบุคลากร สิ่งเหล่านี้จะเป็นเกาะกันภัยที่ดีในยามธุรกิจเผชิญวิกฤต 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<




 


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

ชูนวัตกรรม ขับเคลื่อน-ยกระดับ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้สู่ความยั่งยืน ด้วย Automation กลยุทธ์สู่ Smart Factory ระดับรางวัล The Prime Minister's Industry Award 2023 ของ 'ศรีวัฒนา วู้ดดิ้ง อินดัสทรีส์'

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการรุกคืบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นำมาสู่การพัฒนา…
pin
509 | 30/04/2024
Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

Business Model ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และ โซล่าร์เซลล์มุ่งเน้นสร้าง "ธุรกิจยั่งยืน" ทำกำไร พร้อมสนับสนุนชุมชน-สังคม-สิ่งแวดล้อม

ภาพรวมตลาดสินค้า อะไหล่ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและโซล่าร์เซลล์มีแนวโน้มเติบโตสูง คาดการณ์ว่าจะเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี จากปี 2566…
pin
445 | 29/04/2024
‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ ฟาร์มผักพันธุ์ใหม่ เอาใจคนรักสุขภาพยุคดิจิทัล

จากธุรกิจผลิตหลอดไฟ LED ต่อยอดสู่การพัฒนาด้านการผลิตอาหารและนวัตกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรออร์แกนิก แบรนด์ ‘แอลอีดี ฟาร์ม’ (LED Farm) ที่มุ่งสร้างมาตรฐานสินค้าเกษตรคุณภาพ…
pin
793 | 25/04/2024
VUCA World ความไม่แน่นอนที่โลกเผชิญ