ความปกติใหม่ หรือ New Normal ผลพวงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในหลากหลายมิติของคนทั่วโลก ตั้งแต่การทำงาน การรักษาสุขภาพ แม้แต่การศึกษาเองก็จะต้องเผชิญกับภาวะของการปรับตัวครั้งใหญ่เช่นเดียวกัน การเรียนรู้แบบออนไลน์กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่ของสังคมไทยมากขึ้น การเรียนรู้แบบออนไลน์ก็ไม่ใช่แค่การสอนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มเท่านั้น แต่การเรียนรู้วิถีใหม่นี้ยังมีอีกหลายมิติให้ต้องทำความเข้าใจ เมื่อเด็กๆ ต้องอยู่บ้าน เรียนออนไลน์มากขึ้น จะเกิดผลดีหรือเสียอย่างไร
ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme
เพื่อคลายข้อข้องใจ คุณหมออดิศร์ อิงคตานุวัฒน์ กุมารแพทย์ ประจำศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย 4 บอกว่า
ข้อดีของการเรียน Online นอกจากสามารถควบคุมโรคได้
หรือการเรียนที่เปิดกว้างมากขึ้นแล้ว ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ การลดขั้นตอน
สะดวกสบาย และง่ายยิ่งขึ้น อาทิเช่น เด็กไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงเรียน
แต่ต้องแยกแยะก่อนว่าวิชาบางวิชานั้นนักเรียนไม่สามารถเรียน
Online ได้ เช่น วิชาพละศึกษา ศิลปะ ดนตรี เป็นต้น
ซึ่งเด็กในช่วงวัยอนุบาล หรือประถมต้น คุณหมออดิศร์
คิดว่าการเรียนที่โรงเรียนนั้นย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน
เพราะไม่ใช่แค่เรื่องวิชาการเพียงอย่างเดียว
แต่สำหรับเด็กเล็กสิ่งที่ต้องการมากกว่านั้น
คือการได้ใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การฝึกระเบียบวินัย และการปรับตัวเพื่อเข้าสังคม
การไปโรงเรียน ไปเจอครู เจอเพื่อน
ตัวเด็กเองไม่สามารถทำทุกอย่างที่ต้องการได้เหมือนอยู่ที่บ้าน เช่น
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
มีเด็กหลายคนอยู่บ้านไม่ได้รับประทานผัก แต่เมื่อไปโรงเรียนเห็นเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นรับประทานผักก็ต้องรับประทานตาม
เด็กโตเรียนออนไลน์มีข้อเสียตามมาหลายอย่าง
ไม่เพียงแต่เด็กเล็กเท่านั้นที่ไม่เหมาะเรียนนอกโรงเรียน
สำหรับเด็กโตก็เช่นกัน ในการเรียน Online ก็จะมีข้อเสียตามมาหลายอย่างไม่แตกต่างกัน โดยสิ่งแรกเลยในอนาคตโรคออฟฟิศซินโดรมจะไม่ได้มีแค่ผู้ใหญ่
ถ้าเด็กจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง สิ่งแรกที่เกิดคือผลเสียต่อสายตา
แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือจะเกิดความ “เกร็ง” ส่งผลเสียต่อเนื่องไปยังกล้ามเนื้อคอและหลังตามมาได้ อาจจะต้องมีการขยับบ้างอย่างน้อยๆ ต้อง 30
นาทีต่อครั้ง
คุณหมออดิศร์
ยังสะท้อนให้เห็นอีกหนึ่งอย่าง คือการเรียน Online นั้นเด็กจะควบคุมสมาธิในการเรียนได้ยาก เพราะเป็นการสื่อสารทางเดียว
และปัญหาที่หมอเจอ ณ ตอนนี้ คือ “เด็กอ้วนขึ้น” อาจจะเป็นเพราะเด็กอยู่บ้านมากขึ้นเลยไม่ได้ดูแลในเรื่องของโภชนาการอาหาร
และผู้ปกครองเกิดความกังวลใจหากจะพาเด็กมาพบหมอ ตามนัดในช่วงสถานการณ์ COVID-19
การเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนทักษะและถนัดไม่เหมือนกัน
นักเรียนบางคนอาจคุ้นชินกับภาพห้องเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนมากรวมตัวกัน
ใช้หนังสือเหมือนกัน สื่อประกอบการสอนเหมือนกัน และมีวิธีการประเมินผลเหมือนกัน
เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ในการเรียนรู้วิถีใหม่นั้น
เป้าหมายของการศึกษาอาจยังคงเดิม แต่ผู้เรียนสามารถใช้วิธีที่แตกต่างในการไปให้ถึงจุดหมายได้
เด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่าหากได้ดูภาพหรือคลิปวิดีโอ
แต่เด็กบางคนอาจชอบการฟังคุณครูบรรยาย
เพราะรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
บทบาทเปลี่ยนไปของการประเมินผล
การให้เกรดบนสมุดพก
และการประเมินผลจากการสอบ เป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามมายาวนานว่าช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาจริงหรือไม่
ในการศึกษาแบบวิถีใหม่นี้ การประเมินจะถูกเปลี่ยนจาก “การประเมินผลการเรียน” ไปสู่
“การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้”
นั่นคือการวัดผลลัพธ์ให้คุณครูเข้าใจว่าผู้เรียนเหมาะกับการเรียนรู้รูปแบบไหน
และอะไรที่จะสามารถเติมทักษะที่คุณครูคาดหวังได้
การประเมินผลในวิถีการศึกษาใหม่จึงเป็นการทำความเข้าใจ ไม่ใช่การตัดสินของคุณครูเหมือนแต่ก่อน
ดังนั้นทั้งครูและนักเรียนเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงไปพร้อมๆ กัน
การเรียน Online มีข้อดีหลายประการ
อย่างไรก็ตามการเรียน Online ก็มีข้อดีหลายประการ อาทิ
1. นักศึกษาเข้าเรียนเกือบ 100%
ทุกคาบ เพราะการเรียนในชั้นเรียนปกติมักจะพบปัญหานักศึกษาขาดเรียนหรือโดดเรียน
สารพัดข้ออ้างจริงเท็จบ้างก็มี แต่พอเรียนออนไลน์
แม้ป่วยไม่หนักหนาสาหัสก็ยังสามารถเปิดอินเตอร์เน็ตโปรแกรมเข้าเรียนได้
2. เข้าเรียนตรงเวลามากขึ้น
เพราะไม่ต้องเดินทาง ไม่มีความเสี่ยงเรื่องปัญหาจราจร พอถึงเวลาใครที่ยังไม่ log in เข้ามาก็โทรถามไถ่ตามตัวได้ว่านักศึกษามีปัญหาอะไร
3. เรียนไปด้วย
ช่วยงานที่บ้านไปด้วยก็ได้ หรือดูแลผู้ปกครองพ่อแม่ ที่อาจจะป่วยอยู่ที่บ้านด้วย
4. ลดภาระค่าใช้จ่าย อันนี้แน่นอนว่าไม่ต้องมาเช่าหอพัก
ไม่ต้องเดินทาง และไม่ต้องมากินข้าวนอกบ้านหรืออาจโดนเพื่อนชวนไปเที่ยวกันต่อก็ได้
5. กลับมาเรียนซ้ำ เรียนชดเชยได้ เพราะทุกโปรแกรมออนไลน์สามารถบันทึกระหว่างเรียนไว้ได้
เรียนแล้วไม่เข้าใจสามารถกดย้อนกลับมาดูได้ คนที่ขาดเรียนก็มาเรียนย้อนหลังได้
เป็นต้น
เทคโนโลยีในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คอนเทนต์อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้สามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการปฏิสัมพันธ์ของคุณครูและนักเรียนจะลดน้อยลง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ยังมีอยู่ แต่เปลี่ยนพื้นที่จากโรงเรียนสู่โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นเอง