ภาคธุรกิจได้อะไร? เมื่อทำ ‘วิจัยตลาด’

SME Update
08/04/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 7379 คน
ภาคธุรกิจได้อะไร? เมื่อทำ ‘วิจัยตลาด’
banner

ธุรกิจใหม่หรือกิจการที่ดำเนินการมานานแล้วต้องการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด ควรมีการจัดทำการสำรวจหรือวิจัยตลาดก่อนเพื่อลดความเสี่ยงของธุรกิจ ซึ่งการวิจัยตลาดเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยธุรกิจ (Business Research) เพราะการวิจัยเป็นกระบวนการที่มีระบบและมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวม (Gathering), การบันทึก (Recording), การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyzing data) เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ

สำหรับธุรกิจ SME มักให้ความสำคัญในการจัดทำวิจัยทางการตลาด (Marketing Research) เพราะช่วยให้เจ้าของกิจการ-ผู้บริหารเข้าใจในความต้องการและพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคได้อย่างชัดเจน รวมทั้งได้ข้อมูลสำคัญๆ เพื่อใช้กำหนดทิศทางของธุรกิจและเสาะหาโอกาสทางการตลาด ซึ่งส่วนใหญ่การวิจัยตลาดจะจัดทำขึ้นสำหรับกิจการที่ผลิตจำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภค

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

เป้าหมาย การทำวิจัยตลาด

1. ค้นหาลูกค้า (Customer) และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อนำไปวางกลยุทธ์ในการตลาด

2. ค้นหาผลิตภัณฑ์ (Product) ที่ผู้บริโภคต้องการและพึงพอใจ

3. เพื่อวางแผนทางการตลาดและการโฆษณา

 

3 รูปแบบการวิจัยตลาดที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

1. การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory Research)

เป็นการทำวิจัยเพื่อค้นหาปัญหาที่ยังคลุมเครือ เพื่อจะได้คำตอบจากงานวิจัยให้ชัดเจนขึ้น เช่น ต้องการทราบถึงเหตุผลที่ยอดขายสินค้าตกต่ำลง, ต้องการทราบว่าผู้บริโภคจะสนใจในผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เราจะนำออกสู่ตลาดหรือไม่

2. การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

เป็นการทำวิจัยเพื่อให้รู้ถึงลักษณะของปัญหา เช่น ลักษณะของบุคคลที่ไม่พอใจผลิตภัณฑ์ของเรา ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าพึงพอใจเป็นอย่างไร

3. การวิจัยเชิงเหตุผล (Causal Research)

เป็นการทำวิจัยเพื่อให้ตอบคำถามที่กำหนดไว้ได้อย่างชัดเจน เช่น ผู้ซื้อจะซื้อผลิตภัณฑ์เมื่อมีการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่หรือไม่ หากสินค้าราคาขึ้นไปอีกร้อยละ 5 ผู้ซื้อจะซื้อหรือไม่

 

ทำไมต้องทำวิจัยตลาด?

- เห็นโอกาสใหม่ๆ เช่น ชี้เป้าลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่ตลาดอาจไม่เคยรู้, รู้ว่าลูกค้าชอบซื้อสินค้าใดพร้อมกัน ก็สามารถทำ Bundle หรือ Add-on ได้, เห็นโอกาสพาร์ทเนอร์กับธุรกิจที่มีลูกค้าร่วมกัน

- ลดความเสี่ยง เช่น ทดสอบสินค้าใหม่ก่อนออกตลาด, หาสาเหตุที่สินค้ายอดตก เป็นต้น

- เอาชนะคู่แข่ง เช่น หา Pain Point ลูกค้าคู่แข่ง แล้วหาวิธีดึงลูกค้า, ชี้เป้าลูกค้าที่ไม่พึงพอใจ ทำให้เราปรับปรุงสินค้า บริการได้

 

วิจัยตลาดที่ดี ประกอบด้วยอะไรบ้าง?

1. การวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์

การวิจัยที่เริ่มจากการตั้งสมมุติฐานแล้วค่อยหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์ว่าจริงหรือเท็จ ในทางตรงกันข้าม งานวิจัยที่ไม่ใช่เชิงวิทยาศาสตร์จะไม่มีการตั้งสมมุติฐานก่อนเก็บข้อมูล ซึ่งจะทำให้การตีความของข้อมูลมีโอกาสผิดพลาดสูง เช่น การโยงข้อมูลเพื่อคำตอบที่ตัวเองอยากได้ เป็นต้น

2. ตอบโจทย์ปัญหาธุรกิจอย่างชัดเจน

การตลาดเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ การวิจัยตลาดต้องสามารถตอบโจทย์ปัญหาของธุรกิจได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งเป้าหมายไว้ก่อนล่วงหน้าก่อนเริ่มวิจัยตลาด ว่าจะนำข้อมูลวิจัยตลาดนี้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

3. วิธีวิจัยต้องตอบโจทย์เป้าหมายการวิจัย

จะเห็นได้ว่าเครื่องมือและวิธีในการวิจัยตลาดในปัจจุบันนั้นมีตัวเลือกหลากหลาย แต่ไม่ใช่ทุกตัวเลือกจะเหมาะกับทุกงานวิจัยตลาด เช่น การสัมภาษณ์ลูกค้าอาจจะให้ข้อมูลเชิงลึก แต่ก็อาจจะทำให้ได้ข้อมูลไม่เพียงพอ (และชัดเจน) มากเท่ากับการทำแบบสอบถามลูกค้าจำนวนมาก เป็นต้น

4. การวิจัยควรคุ้มค่ากับเวลา-ค่าใช้จ่าย

การทำธุรกิจขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าของเวลาและค่าใช้จ่าย ดังนั้นงานวิจัยตลาดที่ดีต้องสามารถตอบโจทย์เรื่องประสิทธิภาพของการทำงานได้ การจ่ายเงินมากเกินไปหรือใช้เวลานานเกินไปเพื่อเก็บข้อมูล อาจจะทำให้ข้อมูลนี้สูญเสียประสิทธิผลในเชิงธุรกิจได้

5. ทำความเข้าใจ ข้อเสีย และอคติ ก่อนนำข้อมูลไปใช้

การวิจัยตลาดก็คือการเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า ทำให้เข้าใจได้ว่าทั้งผู้ออกแบบแบบสอบถามและลูกค้าที่ทำแบบสอบถามก็มีอคติและมุมมองเฉพาะตัว ดังนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษก็คือภาษากับวิธีถามคำถามลูกค้า และการเลือกกลุ่มลูกค้ามาทำวิจัยการตลาด ซึ่งมักจะเป็นปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยผิดพลาดบ่อยๆ เช่น อยากเก็บข้อมูลกลุ่มลูกค้ารายได้ต่ำ แต่ไปเก็บข้อมูลในห้างหรู เป็นต้น

ธุรกิจใหม่ซึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงในการผลิตสินค้าใหม่เข้าสู่ตลาดมากที่สุด โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค การว่าจ้างบริษัทวิจัยตลาดจึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก แม้ค่าจ้างทำวิจัยจะทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น แต่ก็ทำให้กิจการสามารถผลิตและออกแบบสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการซื้อสินค้าของลูกค้า สำหรับกิจการขนาดเล็กที่มีทุนน้อยควรลองใช้วิธีทดสอบตลาดในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กๆ ก่อน เพื่อสอบถามความคิดเห็นและนำมาประมวลผลเพื่อออกแบบสินค้าให้เป็นที่นิยม-ตรงกลุ่มเป้าหมาย

 

แหล่งอ้างอิง : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 



สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

‘TikTok For All’ Update เทรนด์ใหม่ปี 2024 พร้อมกลยุทธ์เพิ่มโอกาส SME ไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

TikTok ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มเอนเตอร์เทนเมนต์ที่น่าเชื่อถือสำหรับทุกคน ทั้งครีเอเตอร์ คอมมูนิตี้ผู้ใช้งาน และธุรกิจทุกขนาดในไทย ด้วยการเปิดตัว…
pin
1306 | 14/02/2024
ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ทอดไม่ทิ้ง! เปลี่ยน ‘น้ำมันเหลือทิ้ง’ เป็น ‘น้ำมันเครื่องบิน’ โอกาสใหม่ SME ไทย เติบโตอย่างยั่งยืน

ขณะที่ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้ง รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ รถไฟ และเรือ ต่างมุ่งสู่การใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทน ที่เป็นพลังงานสะอาดกันแล้ว แต่สำหรับการเดินทางโดยอากาศยาน…
pin
1675 | 26/01/2024
จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

จับกระแส 'เทรนด์ธุรกิจ' ปี 2024 ใครได้ไปต่อ ใครมาแรง SME ไทยต้องรู้

ปี 2024 นี้ ธุรกิจไหนมาแรง ธุรกิจไหนน่าจับตา เทรนด์ธุรกิจใดกำลังมาแรง Bangkok Bank SME สรุปมาไว้ในบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ SME และผู้ที่กำลังคิดจะเริ่มต้นทำธุรกิจทุกท่าน…
pin
1922 | 25/01/2024
ภาคธุรกิจได้อะไร? เมื่อทำ ‘วิจัยตลาด’