‘ออฟไลน์ + ออนไลน์’ เทรนด์ใหม่..ดันยอดขายค้าปลีกสิงคโปร์โต

SME Go Inter
12/04/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4388 คน
‘ออฟไลน์ + ออนไลน์’ เทรนด์ใหม่..ดันยอดขายค้าปลีกสิงคโปร์โต
banner

อุตสาหกรรมค้าปลีกสิงคโปร์มีสัดส่วน 1.4% ของ GDP และ 3% ของการจ้างงานในสิงคโปร์ครอบคลุมธุรกิจหลากหลายประเภท เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ แฟชั่น รวมไปถึงเฟอร์นิเจอร์ มีจำนวน 27,637 ร้าน และมีการซื้อขายสินค้า-บริการหลายช่องทาง เช่น แบบร้านค้าที่มีหน้าร้านแบบ Kiosks ผ่านไปรษณีย์ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

ข้อมูลจากดัชนีการค้าปลีกของสิงคโปร์โดยหน่วยงานภาครัฐ Singapore Department of Statistics พบว่าในเดือนมกราคม 2564 ยอดค้าปลีกโดยรวมอยู่ที่ 3.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (8.751 หมื่นล้านบาท) ในจำนวนนี้ 10.3% มาจากการค้าปลีกออนไลน์ เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2563 ยอดค้าปลีกรวมอยู่ที่ 4 .1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (9.442 หมื่นล้านบาท) โดย 5.8% มาจากการค้าปลีกออนไลน์ จะเห็นได้ว่ายอดการค้าปลีกโดยรวมของสิงคโปร์นั้นลดลงแต่สัดส่วนการค้าปลีกออนไลน์กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของการค้าปลีกในสิงคโปร์

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 

สถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกสิงคโปร์

ในรอบสิบปีที่ผ่านมาร้านค้าปลีกสิงคโปร์ทยอยปิดตัวลงต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นและการเข้ามาของ e-Commerce รวมถึงเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เมื่อปีที่แล้ว ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ออกมาตรการ Lockdown (ยกเว้นกิจกรรมที่จำเป็น) ส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวกันขนานใหญ่ หันไปให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด

 

เทรนด์ Omni-Channel Retailing ในสิงคโปร์

การลดลงของจำนวนร้านค้าปลีกในสิงคโปร์ไม่ได้หมายความว่าชาวสิงคโปร์ซื้อสินค้าน้อยลง แต่ตรงกันข้ามการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นแต่ผ่านทางออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ โดยในช่วงต้นปี 2557 จากการสำรวจของ Visa ได้จัดอันดับให้ชาวสิงคโปร์เป็นผู้ซื้อสินค้าออนไลน์อันดับต้นๆ ในอาเซียน ขณะที่รายงานอุตสาหกรรมโดย Google และ Temasek Holdings คาดการณ์ว่า อุตสาหกรรม e-Commerce สิงคโปร์จะเติบโตเป็น 7.5 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ (1.73 แสนล้านบาท) ภายในปี 2569

แนวโน้มสำคัญสองประการที่ช่วยผลักดันการเติบโตของ e-Commerce ในสิงคโปร์คือ แนวโน้มการค้าปลีกแบบ Omni-Channel Retailing คือการค้าปลีกแบบบูรณาการโดยรวมร้านค้าปลีกแบบมีหน้าร้านกับออนไลน์ แล้วอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวเชื่อมต่อ เพื่อตอบสนองความต้องการและอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคให้สามารถเข้าถึงสินค้า-บริการได้ทุกที่ทุกเวลา

แนวโน้มการค้าปลีกรูปแบบที่สอง Experiential Retail คือการปรับสถานที่ร้านค้าปลีกให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ในการช้อปปิ้ง เช่น การรวมสถานที่ Shopping ออฟฟิศ และพื้นที่สำหรับพักผ่อนในที่เดียวกัน เป็นต้น เช่น บริษัท OUE ผู้บริหารห้างสรรพสินค้า Mandarin Gallery ที่ได้เปิดตัวพื้นที่การค้าปลีกแนว ‘Health-Style’ เป็นการรวมเอาพื้นที่สำหรับทำงานและพักผ่อนมาไว้ที่เดียวกัน ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างพื้นที่สำหรับร้านค้าปลีก และพื้นที่ส่วนรวมที่ผู้บริโภคสามารถใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้ด้วย

 

การสนับสนุนจากภาครัฐ

รัฐบาลสิงคโปร์เปิดตัวโครงการ Start Digital เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม The SMEs Go Digital ซึ่งมีการเปิดตัวเมื่อปี 2560 โดยหน่วยงาน Infocomm Media Development Authority (IMDA) ทั้งนี้ โครงการ Start Digital มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและช่วยเหลือให้ SMEs สิงคโปร์ ปรับตัวมาใช้ดิจิทัลในการทำธุรกิจผ่านโครงการริเริ่ม 3 โครงการดังนี้

1. โครงการ Start Digital

มีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs รายใหม่ ในด้านโซลูชั่นดิจิทัล เช่น การทำบัญชี ทรัพยากรมนุษย์ ธุรกรรมดิจิทัล การตลาดดิจิทัล และ Cybersecurity เป็นต้น

2. โครงการมาตรฐานการออกใบแจ้งหนี้อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและสะดวกต่อการทำธุรกิจในตลาดต่างประเทศ และลดต้นทุนของผู้ประกอบการในด้านการทำธุรกรรมซึ่งมีราคาสูง

3. โครงการรับรองความน่าเชื่อถือ

เป็นการรับรองความน่าเชื่อถือของบริษัทในด้านการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี และเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค เนื่องจากระบบจะมีการเฝ้าระวังและตรวจสอบการละเมิดข้อมูลในระบบตลอดเวลา

การปรับตัวแบบผสมผสานการค้าปลีกออฟไลน์และออนไลน์ของผู้ประกอบการสิงคโปร์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สร้างความท้าทายต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกในสิงคโปร์เป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างโอกาสใหม่เช่นกัน เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกแบบออนไลน์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก สร้างโอกาสในการเจาะตลาดต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ขณะที่การค้าปลีกแบบออฟไลน์ (มีหน้าร้าน) ยังคงเป็นสิ่งสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงสร้างความผูกพันด้านจิตใจ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ยังคงนิยมสัมผัสกับผลิตภัณฑ์ก่อนการตัดสินใจซื้อ

 

สำหรับไทย ตลาด e-Commerce มีแนวโน้มเติบโตเช่นกับสิงคโปร์ โดยปี 2562 ตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทยเติบโตขึ้น 163,300 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 220,000 ล้านบาทในปี 2563 รวมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 35% แต่ผู้ประกอบการ SME ไทยกลุ่มค้าปลีกในปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่ยังคุ้นชินและยึดติดอยู่กับรูปแบบการจำหน่ายสินค้าแบบออฟไลน์โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มนี้มีแนวโน้มสูงที่จะสูญเสียโอกาสทางการตลาด

ดังนั้น SME ควรการปรับตัวและใช้เทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติ สนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนา Cloud, Software สำเร็จรูป เพื่อให้ SME ไทย เข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้นอันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

แหล่งอ้างอิง : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร

 


สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวง SMEs ดีแน่นอน<<


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

ตลาดอาหารวีแกน เทรนด์โลก โตแรง! โอกาสทองของผู้ส่งออกไทย ที่ต้องรีบคว้า

เทรนด์การรับประทานอาหารแบบเนื้อไร้เนื้อ ยังคงเป็นแนวโน้มการบริโภคที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา  จากกระแสการหันมาดูแลสุขภาพ…
pin
5933 | 17/01/2023
ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ไทย หนึ่งในเป้าหมาย! จีนเล็งลงทุนเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน ผู้ประกอบการ SME ปรับตัวไวได้ประโยชน์มหาศาล

ขณะนี้ โลกของเราได้เข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy : DE) ซึ่งหลอมรวมเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้คน ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลได้กลายเป็นอีกหนึ่งพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย…
pin
1902 | 21/12/2022
โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

โอกาสมาแล้ว! ดีมานด์มันสำปะหลังจีนโตแรง เกษตรกรไทยลุยรุกส่งออกแดนมังกร ชิงส่วนแบ่งตลาดก้อนยักษ์

อีกหนึ่งโอกาสเกษตรกรไทย! คาดการณ์ความต้องการมันสำปะหลังช่วง 6 เดือนหลังของปี 2565 ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดทั้งปีไทยส่งออกกว่า 11 ล้านตัน…
pin
4853 | 23/10/2022
‘ออฟไลน์ + ออนไลน์’ เทรนด์ใหม่..ดันยอดขายค้าปลีกสิงคโปร์โต