เทรนด์ ‘ภาชนะกินได้’ ความยั่งยืนในญี่ปุ่นและโอกาสสินค้าไทย

SME Startup
04/07/2021
รับชมแล้วทั้งหมด 4458 คน
เทรนด์ ‘ภาชนะกินได้’ ความยั่งยืนในญี่ปุ่นและโอกาสสินค้าไทย
banner

เทรนด์ภาชนะกินได้ กำลังได้รับความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นถ้วย หลอดดูดที่กินได้ ก็เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น นอกจากจะทำให้อร่อย ทั้งยังกินได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากรับประทานหลังใช้งานเสร็จก็จะไม่เกิดเป็นขยะขึ้นมาอีกด้วย การพัฒนาสินค้าเหล่านี้กำลังเป็นกระแสอยู่ไม่น้อยในประเทศญี่ปุ่น Bangkok Bank SME จึงขอพาไปส่องเทรนด์ภาชนะกินได้ในธุรกิจโลกกัน


ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์ Facebook bangkokbanksme 


ในปัจจุบันภาชนะที่รับประทานได้ เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ถ้วยกินได้ หรือ Mogu Cup’ ที่พัฒนาโดยบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มรายใหญ่ในญี่ปุ่นอย่าง Asahi Breweries, Ltd. และบริษัท Marushige ซึ่งมีประสบการณ์ในการผลิตภาชนะและตะเกียบกินได้ วัตถุดิบหลักของถ้วยที่พัฒนาในครั้งนี้มาจากแป้งมันฝรั่งที่ปลูกในญี่ปุ่น

 

ทั้งนี้ยังได้เริ่มทดลองวางจำหน่ายในร้านค้าต่างๆ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2563 และช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ก็ได้เริ่มจำหน่ายทางออนไลน์สำหรับผู้บริโภคทั่วไปด้วย โดยมียอดขายประมาณ 15,000 ชิ้น

 

สำหรับแก้วกินได้ Mogu Cup ไซส์ใหญ่สุด (L) จำนวน 10 ชิ้น ราคา 1,400 เยน ในขณะที่แก้วพลาสติก 50 ใบราคาเพียงประมาณ 500 เยน

 

ทั้งนี้ สำหรับถ้วย Mogu Cup นั้น มีการติดต่อมาจากหลายประเทศ เช่น อังกฤษ เยอรมนี สหรัฐฯ ซึ่งผู้บริโภคชาวตะวันตกเชื่อว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นธุรกิจได้แน่นอน ในอนาคตคาดว่าภาชนะที่ใช้ในการรับประทานอาหารที่เป็นมิตรต่อโลกจะใช้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

 



ลดขยะพลาสติก เสิร์ฟด้วยภาชนะกินได้

 

ถ้วยใส่กับข้าวในกล่องข้าวเบนโตะ ซึ่งเดิมทีจะทำจาก พลาสติก ก็มีการปรับรูปแบบโดยใช้วัสดุที่กินได้มาประยุกต์ บริษัท Kimura Alumi-Haku Co., Ltd. ในเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่และห่ออาหาร ได้เริ่มนำสาหร่ายมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ในปี 2551 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาโดยนำหัวไชเท้า แครอท ถั่วเหลือง สาหร่ายคอมบุ มาเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ด้วย

 

นอกจากนี้ในสหรัฐอเมริกา ยังมีธุรกิจ Startup ถ้วยกินได้ จากบริษัทโลลิแวร์ (Loliware) มีผู้ร่วมก่อตั้งเป็น เชลซี ไบรแกนตี และลีห์ แอน ทัคเกอร์ ที่ทดลองหาวัสดุต่างๆ เพื่อนำมาทำเป็นถ้วย โดยตั้งโจทย์ไว้ว่าอยากให้มีลักษณะที่มองดูเหมือนแก้ว แต่มีรสชาติอร่อยเหมือนขนม โดยใช้ Agar ซึ่งเป็นผงวุ้นสกัดจากสาหร่ายทะเล และสารอินทรีย์ที่ให้ความหวาน นำมาผลิตเป็นถ้วยโลลิแวร์ที่มีให้เลือกหลายสีหลายรส ตั้งแต่รสมะนาว รสเชอร์รี่ รสชาเขียว ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อนำไปใส่เครื่องดื่ม หรือหากใครอยากทิ้งก็ไม่ต้องกังวลว่าจะทำลายสิ่งแวดล้อม

 

ภาชนะใส่อาหารที่กินได้กลายเป็นเทรนด์ที่มาแรง อาทิ สายการบิน Air New Zealand เองก็มีการทดลองใช้ แก้วน้ำ ผลิตภัณฑ์ห่ออาหาร ถ้วยชาม และแม้กระทั่งถ้วยกาแฟที่กินได้เสิร์ฟบนเครื่องแล้วในปัจจุบัน


 


โอกาสสินค้าไทยพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

สำหรับในประเทศไทยเทรนด์นี้ก็กำลังมาแรงเช่นเดียวกัน เพราะในปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายเจ้าได้มีการทำหลอดที่ย่อยสลายได้ขึ้นมาทดแทนหลากหลายชนิด หลอดกินได้ ที่ใช้เสร็จสามารถกินได้เลย เป็นนวัตกรรมจากข้าวและพืช ช่วยลดการใช้พลาสติก

บริษัท กัญจนาพร (สยาม) จำกัด เจ้าของผลงาน หลอดกินได้จากข้าวและพืช ธุรกิจต่อยอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ไอเดียนี้มาจากปัญหาเรื่องขยะในปัจจุบัน จึงคิดอยากจะหาวัสดุทดแทนที่ใช้แทนหลอดพลาสติก อีกทั้งวัสดุนั้นต้องสามารถย่อยสลายได้ โดยใช้เวลาไม่นาน

หลอดกินได้จากข้าวและพืช เป็นหลอดที่ทำมาจากแป้งเป็นส่วนใหญ่ รสชาติที่ได้จะเป็นรสหวานนิดๆ อีกทั้งมีการดูดซึมน้ำและไม่คงรูป จึงมีการพัฒนาให้มีความแข็งแรง แต่สามารถรับประทานได้ทันทีหลังใช้งานเสร็จ หรือย่อยสลายได้ภายใน 30 วัน

ต้นทุนของหลอดกินได้นี้ไม่ได้สูงไปกว่าหลอดที่วางขายในตลาด ทำให้ราคาไม่ต่างจากหลอดกระดาษหรือหลอด PLA มากนัก และมีการตั้งราคาไว้ไม่เกิน 1 บาท ต่อ 1 หลอด

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ Strawry-the edible straw หลอดกินได้ที่ผลิตมาจากแป้งข้าวและแป้งมัน นอกจากไม่เป็นพิษกับร่างกายแล้ว ยังเป็นมิตรกับธรรมชาติอีกด้วย สามารถย่อยสลายได้หลังการใช้งานในระยะเวลา 4 สัปดาห์ เพียงปักลงดิน สามารถอยู่ในเครื่องดื่มร้อนอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ได้นานถึง 1-2 ชั่วโมง และ 6-10 ชั่วโมง ในเครื่องดื่มเย็น หากใช้ไม่หมดสามารถนำไปผัดทำเป็นเมนูอาหารคล้ายเส้นสปาเกตตี้ เพราะผลิตมาจากแป้งไม่เป็นขยะเหลือทิ้งอีกด้วย

ในอนาคตธุรกิจภาชนะกินได้มีโอกาสในการขยายตลาดได้อย่างยั่งยืน ภายใต้ปัจจัยด้านความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค ทำให้หลายธุรกิจเริ่มคิดหาวิธีพัฒนาภาชนะใส่อาหารที่บริโภคได้เพื่อทดแทนพลาสติกแบบที่ใช้แล้วทิ้ง ทั้งนี้หากมีความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล

 

 

อ้างอิง : https://www.ditp.go.th/


Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333


Related Article

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

4 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ Model Innovation เปลี่ยนโลกใบนี้เป็นสีเขียว

อย่างที่ทราบดีว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมถือเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลก ที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่ และกลายมาเป็นโจทย์สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ…
pin
2304 | 14/02/2023
ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

ไม่ดูตอนนี้ รู้อีกทีปีหน้า! ส่องเทรนด์ธุรกิจมาแรง ที่ SME ห้ามพลาดใน ปี 66

หลังจากไทยเผชิญการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้ผู้คนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต หลายหน่วยงานที่เกี่ยวกับธุรกิจการค้าต่างออกมาวิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจที่มาแรงในปี…
pin
4505 | 19/01/2023
ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

ตอบโจทย์ Aging Society! นักวิจัยไทยคิดค้น ‘MONICA’ เกมกระตุ้นสมองสำหรับผู้สูงอายุ ที่ผู้ประกอบการต่อยอดไอเดียได้

‘ไทย’ ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว คิดเป็นประมาณ 18.3% ของประชากรทั้งหมด และไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอดเช่นเดียวกับญี่ปุ่นที่มีประชากรอายุ…
pin
2277 | 22/12/2022
เทรนด์ ‘ภาชนะกินได้’ ความยั่งยืนในญี่ปุ่นและโอกาสสินค้าไทย